ข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ มีนาคม 2553
ข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ มีนาคม 2553
30% Complete
26 of 103
ข้อที่ 26.

จากข้อมูลต่อไปนี้

ก. จำนวนออร์บิทัลของธาตุ 19K มีอิเล็กตรอนบรรจุเท่ากับ 10 ออร์บิทัล

ข. การจัดเรียงอิเล็กตรอนชั้นนอกของไอออน Fe3+ คือ 3d3 4s2

ค. ธาตุ A มีเลขอะตอม 38 และธาตุ B มีเลขอะตอม 17 เมื่อทำปฏิกิริยากันจะได้สารประกอบไอออนิกที่มีสูตรเป็น AB2

ง. เลขออกซิเดชันของไนโตรเจนในสารประกอบ NCl3 และ N2O3 มีค่าไม่เท่ากัน

ข้อใดถูก

เฉลย

ตอบ 1. ก และ ค

ความรู้พื้นฐาน เรื่องการจัดเรียง e แบบย่อย

        ออร์บิทัล s มี 1 ออร์บิทัล จุได้ 2 e

        ออร์บิทัล p มี 3 ออร์บิทัล จุได้ 6 e

        ออร์บิทัล d มี 5 ออร์บิทัล จุได้ 10 e

        ออร์บิทัล f มี 7 ออร์บิทัล จุได้ 14 e

ความรู้พื้นฐาน เรื่องการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก

หลักการ : ไขว้เลขออกซิเดชั่น เช่น X3+  กับ Y2- ได้เป็นสารประกอบ X2Y3

พิจารณาข้อความที่โจทย์ให้

ก. จำนวน 19K มีอิเล็กตรอนบรรจุเท่ากับ 10 ออร์บิทัล 

19K จัดเรียง e- แบบย่อยเป็น   1s2  ,   2s2    ,     2p6    ,     3s2  ,     3p6   ,    4s1

                                       ­↑↓  ,  ↑↓  ,   ­↑↓ ­↑↓ ­↑↓ , ↑↓  , ­↑↓ ↑↓ ­↑↓ , ­↑    นับได้ทั้งหมด 10  ออบิทัล (ถูกต้องครับ)

ข. การจัดเรียงอิเล็กตอนชั้นนอกของไอออน Fe3+ คือ 3d3 4s2

26Fe จัดเรียง e เป็น   1s2 , 2s2 , 2p6 ,  3s2  ,  3p6 , 4s, 3d6  ซึ่งเมื่อเป็น Fe3+ คือต้องเสีย e 3 ตัว โดยจะต้องเสียจากชั้นนอกสุดไล่เข้าเข้าข้างในซึ่งในที่นี้ คือ ชั้น 4s และ

3d ตามลำดับ (ดูเลขระดับพลังงานข้างหน้าเยอะคือชั้นนอก)  ดังนั้น Fe3+ จะมีการจัดเรียง e เป็น  1s2 , 2s2 , 2p6 ,  3s2  ,  3p6 , 4s, 3d5   (ผิดครับข้อนี้)

ค. ธาตุ A มีเลขอะตอม 38 และ B มีเลขอะตอม 17 เมื่อทำปฏิกิริยากันจะได้สารประกอบไอออนิกที่มีสูตรเป็น AB2

38A  จัดเรียง e ได้เป็น   2 , 8 , 18 , 8 , 2  อยู่หมู่ 2 ประจุเป็น  A2+

17B  จัดเรียง e ได้เป็น   2 , 8 , 7   อยู่หมู่ 7 ประจุเป็น  B-

เพราะฉะนั้น A และ B เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก จะไขว้เลขออกซิเดชั่น ได้สูตรเป็น AB2  (ถูกต้องครับ)

ง. เลขออกซิเดชั่นของไนโตรเจนในสารประกอบ  NCl3 และ N2O3 มีค่าไม่เท่ากัน   

NCl3 เริ่มคิดจาก Cl ซึ่งเป็น -1 มี 3 อะตอมคิดเป็น 3(-1) จะได้ N + 3(-1) = 0

                                                                             N - 3 = 0

                                                                             N = 3  \N มีเลขออกซิเดชั่น +3

N2O3 เริ่มคิดจาก O ซึ่งเป็น -2 มี 3 อะตอมคิดเป็น 3(-2) จะได้ 2N + 3(-2) = 0

                                                                              2N - 6 = 0

                                                                              2N  = 6   

                                                                              N  = 3  \N มีเลขออกซิเดชั่น +3 (ผิดครับข้อนี้)

ทบทวนบทเรียน