1. ห้ามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บเพิ่มเติม
2. ยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจเสมอ เพื่อช่วยลดอาการบวม แต่ห้ามยกขึ้นหรือเคลื่อนไหวหากสงสัยว่ากระดูกหักหรือผู้บาดเจ็บรู้สึกเจ็บมากขึ้น
3. ประคองส่วนที่หักหรือพยุงผู้ป่วยไว้เพื่อลดอาการปวด
4. ห้ามเลือด ใช้ผ้าสะอาดกดที่บาดแผลให้แน่นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
5. ถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่หักออกโดยห้ามขยับหรือเคลื่อนไหวบริเวณที่หัก
6. หากอาการหักไม่รุนแรง ให้ดามส่วนที่หักโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ เช่น ม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือไม้บรรทัด และเทปที่ใช้สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือดามด้วยการใช้ผ้าพันแผลพันไว้กับไม้กระดาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่พันแผลหลวมหรือแน่นจนเกินไป และควรตรวจดูทุกๆ 15 นาที เพื่อไม่กระทบต่อการไหลเวียนเลือด
7. ประคบด้วยน้ำแข็ง นำน้ำแข็งหรือน้ำเย็นใส่ถุงพลาสติกและนำมาประคบบริเวณที่บาดเจ็บประมาณ 20 นาที โดยต้องมีผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดรองระหว่างถุงน้ำแข็งกับผิวหนัง และห้ามประคบเย็นโดยตรงกับกระดูกที่โผล่ออกมา
8. หากอวัยวะหักเป็นบาดแผลเปิดมีกระดูกโผล่ออกมา พยายามอย่าสัมผัส ให้ใช้ผ้าสะอาดพันไว้ และรอการช่วยเหลือทางการแพทย์
9. ห้ามให้ผู้บาดเจ็บดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหาร เนื่องจากอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
10. หากผู้บาดเจ็บมีอาการเหมือนเป็นลม หายใจถี่ หรือช็อก ให้จัดท่าผู้บาดเจ็บให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย และหากเป็นไปได้ให้ยกขาสูงขึ้น
11. หากผู้บาดเจ็บไม่ตอบสนอง ไม่หายใจ ให้ทำ CPR