มีบทบาทหน้าที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าการเกษตร พาหนะเดินทาง หรือการขนส่งในอดีต แม้แต่ในภาวะสงคราม อย่าง ‘พ่อใหญ่’ ควายในบางระจันก็เป็นพาหนะให้กับนายทองเหม็นได้วาดลวดลายในการต่อสู้กับข้าศึกมาแล้ว จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของควายไทยนั้นมีหลากหลายมิติ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ
1. ควายไทย (ควายปลัก) มีลักษณะรูปร่างล่ำสัน ขนสีเทาดำ หรือสีเทาเข้ม เขาโค้งเป็นวงกว้าง มีขนสีขาวรูปตัววีที่คอ ชอบนอนแช่ปลักโคน มีความแข็งแรงอดทนเหมาะสำหรับใช้เป็นแรงงาน
2. ควายมูร่าห์(ควายแม่น้ำ) ใช้ประโยชน์ในการรีดนม หรือเรียกว่า “ควายนม” มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย มีลักษณะ ตัวใหญ่ สีดำ หน้าผากนูน เขาม้วนงอ สั้น เต้านมเจริญดี ให้นมเฉลี่ย 2,000 ก.ก. ต่อ 9-10 เดือนของช่วงการให้นม ตัวผู้หนักประมาณ 550 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 450 ก.ก. ลูกควายแรกเกิดหนักประมาณ 30-35 ก.ก. ควายมูร่าห์ชอบน้ำสะอาดไม่ชอบโคลน
3. ควายลูกผสม เป็นการผสมกันระหว่างควายไทยกับควายมูร่าห์ มีลักษณะเขาไม่ม้วนขดมากเหมือนพันธุ์แท้ แต่โค้งออกข้างและชี้ขึ้นบน หรือบิดเล็กน้อย ผิวหนังมีจุดสีดำ หัวมีลักษณะไปทางควายมูร่าห์ แต่หน้าผากไม่นูนเด่นมาก เต้านมเจริญดีกว่าควายปลัก ใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับควายไทย
แม้ภายนอกมีลักษณะคล้ายควายบ้าน แต่ลำตัวใหญ่ ล่ำสัน มีวงเขาตีโค้งกว้างกว่า และมีนิสัยดุร้ายกว่าควายบ้าน ปัจจุบันควายป่าของประเทศไทยคงเหลือเพียงแห่งเดียวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
เนื่องจากวิถีชีวิตของเกษตรกรมีการใช้รถไถนาแทนการใช้แรงงานควาย เกษตรกรที่เลี้ยงควายส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการผลิตควายที่มีคุณภาพ และมีการจัดการดูแลควายที่ไม่ดีนัก ส่งผลให้ควายไทยในปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 800,000 ตัวทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการบริโภคเนื้อควายปีละกว่า 200,000 ตัว ขณะที่มีลูกควายเกิดใหม่เพียงประมาณปีละ150,000 ตัว หากพวกเราทุกคนไม่ช่วยกันดูแลรักษาควายไทยคงสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ