นีโมนิค Mnemonic คือเทคนิดช่วยจำ ที่ช่วยให้เราจดจำข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมายได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบโดยใช้ประโยชน์จากการรับรู้ของสมองเพื่อให้สมองสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น การจดจำคำศัพท์ กฎเกณฑ์ สูตร และทฤษฏี ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
นีโมนิค เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในการเรียนรู้ และในชีวิตประจำวัน โดยมีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่ยุคกรีกโรมันผ่านนักปรัชญาต่าง ๆ ซึ่งมักใช้เทคนิคนี้ เช่น การร้อยเรียงเป็นนิทานหรือบทกลอนในการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบอกเล่าเรื่องให้บุคคลอื่นฟังซึ่ง คำว่า Mnemonic นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า mnēmonikos ซึ่งในภาษากรีกที่แปลว่าความจำโดยมีที่มาจากชื่อของเทพี Mnemosyne (นีมอซินี) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความทรงจำนั่นเอง
สำหรับประเภทของประเภทของนีโมนิค 9 รูปแบบต่อไปนี้คือเทคนิคนีโมนิคพื้นฐานที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
สมองของคนเราสามารถจดจำข้อมูลที่ร้อยเรียงกันได้ดีทำให้เวลาฟังเพลง เรามักจะจำเนื้อเพลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการนำข้อมูลความรู้มาเรียบเรียงเป็นบทเพลง จะช่วยให้เราสามารถจดจำข้อมูลทั้งหมดอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเทคนิคการจำรูปแบบนี้ คือ การร้องเพลง ABC ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถจำตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 28 ตัวได้อย่างรวดเร็ว
แทนที่เราจะจำข้อมูลหลาย ๆ อย่างในคราวเดียว เราอาจจะจับกลุ่มข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำเอาตัวอักษรแรกที่บอกถึงข้อมูล เช่น คำศัพท์หรือหัวข้อของเรื่องมารวมเป็นคำใหม่ เพื่อให้เราสามารถจดจำข้อมูลทั้งหมดได้ง่ายขึ้น
คือการนำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นวลีหรือประโยคที่เข้าใจง่ายเพื่อให้เราจดจำวลีหรือประโยคเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลเบื้องต้นได้เช่น การจำอักษรกลางในภาษาไทย ด้วยประโยคที่ว่า “ไก่จิกเด็กจายบนปากโอ่ง” หรือจดจำอักษรสูง ด้วยประโยคที่ว่า “ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน” เป็นต้น
เป็นการนำข้อมูลมาออกแบบใหม่ ในรูปของแผนผังหรือแผนภูมิ เพื่อช่วยให้เราความเข้าใจและระลึกถึงข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้นได้ดีขึ้น เช่น ภาพตารางธาตุที่ช่วยในการเรียนวิชาเคมี หรือภาพวัฏจักรธรรมชาติต่าง ๆ ที่สามารถอธิบายวงจรในวิชาชีววิทยา
เช่นเดียวกับการใช้บทเพลง เราสามารถนำข้อมูลมาร้อยเรียงเป็นบทกลอนหรือคำคล้องจองต่าง ๆ ได้ ซึ่งความเรียงที่สอดคล้องกันนี้จะช่วยให้สมองสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและลืมเลือนได้ยากเช่น การท่องสูตรคูณ และ การท่องคำคล้องจอง ก.ไก่ ถึง ฮ นกฮูก
เป็นการจัดระเบียบข้อมูล โดยการบันทึกย่อ ซึ่งช่วยให้เราสามารถเรียกคืนความจำได้จากการนำบันทึกนั้นกลับมาอ่านอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้แฟลชการ์ดเพื่อช่วยในการจดจำคำศัพท์ การเขียน Mind map หรือ การบันทึกย่อในหนังสือตามจุดที่สำคัญ เป็นต้น
การใช้รูปภาพเพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ได้เรียนรู้หรือรับรู้ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นภาพที่แสดงออกมา ภาพที่สร้างในจิตของตัวเองก็นับว่าเป็นเทคนิคการจำในรูปแบบนี้ด้วย วิธีการนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีทักษะทางศิลปะ เราสามารถที่จะวาดภาพแบบใดก็ได้ ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจและทำให้ระลึกถึงข้อมูลนั้น เช่น การวาดแผนที่ประเทศไทย เพื่อช่วยในการจำสภาพภูมิศาสตร์ต่าง ๆ หรือ การใช้นิ้วมือ เพื่อช่วยในการจำสูตรหาค่า sin cos tan ในวิชาคณิตศาสตร์
เทคนิคการจำรูปแบบนี้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลเดิมเข้ากับข้อมูลใหม่ โดยการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรารู้แล้ว มาช่วยให้เราจดจำข้อมูลใหม่ได้ง่ายมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การจำประเทศต่าง ๆ ด้วยรูปร่างในแผนที่ (ประเทศไทย-ขวาน) (ประเทศอิตาลี-รองเท้าบูท) หรือในการจดจำชื่อของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ เราอาจจะนึกถึงวีรกรรมที่เขาได้ทำ เพื่อให้นึกถึงบุคคลนั้น (พระเจ้าตากสิน - ตั้งกรุงธนบุรี) (พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - เลิกทาส) เป็นต้น
คือการใช้ประโยชน์จากการสะกดคำ เพื่อให้เกิดการจดจำได้ดี เช่น การใช้ประโยคที่ว่า “อย่า อยู่ อย่าง อยาก” เพื่อบอกถึงคำสี่คำที่อักษร อ นำอักษร ย แต่ไม่ต้องอ่านออกเสียงอักษร อ เหมือนเป็นอักษรนำเป็นต้น
ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า เทคนิคนีโมนิคนั้นถูกนำมาใช้อย่างมากมายในการเรียนแทบทุกวิชา ซึ่งช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนสามารถจดจำเนื้อหาความรู้และสามารถระลึกถึง เพื่อนำมาใช้สนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่หลงลืมหรือใช้เวลานานจนเกินไป จึงเป็นเทคนิคที่ดีอย่างหนึ่งที่ครูผู้สอนควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในการเรียนและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
เรียบเรียงโดย นรรัชต์ ฝันเชียร