การนำเสนอเทรนด์ที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น เน้นในส่วนของเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นเป็นหลัก และมีผลกระทบต่อการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อนำเสนอว่าเทคโนโลยี ดังกล่าวมีผลกระทบต่อโลกการศึกษาไทยอย่างไร แต่เทรนด์ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนโลกการศึกษาคงไม่ได้มีเฉพาะเทคโนโลยี แต่ประเด็นทางสังคมหรือเทรนด์ทางธุรกิจที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในอนาคตของเราเช่นกัน ตัวอย่าง เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากนอกโลก รถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
ธุรกิจนอกโลก เมื่อกลางปี 2562 องค์การอวกาศสหรัฐอเมริกาหรือนาซ่าได้ออกประกาศอนุญาตให้นักท่องเที่ยวนั่งยานอวกาศสหรัฐไปชม ISS ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมคืนละ 35,000 ดอลลาร์ อยู่ได้นานถึง 30 วัน บริษัทเอกชนผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบผู้โดยสารและลูกเรือทั้งด้านการตรวจร่างกายและฝึก อบรมตามข้อกำหนดการบินอวกาศ นาซ่าได้ว่าจ้างสองบริษัทให้ดูแลบริการทัวร์ไอเอสเอส ได้แก่ บริษัทสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ ที่จะเดินทางโดยกระสวยอวกาศ “ดรากอน” และโบอิงกำลังสร้างยาน “สตาร์ไลเนอร์” เพียงประกาศแค่นี้ทำให้มีผู้ประเมินตลาดท่องเที่ยวอวกาศว่าจะต้องมีมูลค่าถึง 1.18 พันล้านดอลล่าร์ ในปี 2567 แสดงว่า ธุรกิจการเที่ยวนอกโลกจะเติบโตขึ้นแน่นอนและถ้าเปิดโอกาสให้มีหลายบริษัทได้รับจัดการ การท่องเที่ยวอวกาศ แนวโน้มราคาในการท่องเที่ยวก็จะลดลงและสัมผัสได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคนที่เป็นมหาเศรษฐีอีกต่อไป จากรายละเอียดข้างต้นจะพบว่า ถ้าธุรกิจการท่องเที่ยวอวกาศเติบโตขึ้น ตลาดแรงงานก็จะโตตามขึ้นไปด้วยมองในมุมของภาคการศึกษาที่เป็นเหมือนผู้ผลิตกำลังให้กับภาค เอกชน หรือภาคธุรกิจ เทรนด์นี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเรื่องของการกำหนองค์ความรู้ที่จำเป็นโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับอวกาศและการจัดการการท่องเที่ยวในอวกาศ เป็นต้น
อีกทั้งถ้าย้อนลงไปใน ระดับประถม หรือมัธยมศึกษา เราก็จะมองเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ในเรื่องโลกและอวกาศในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเนื้อหาในส่วนนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีความ น่าสนใจกับเด็ก ๆ มากขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาจะมองเห็นว่า เขาเรียนเรื่องราวเหล่านี้ไปทำไม เพื่ออะไร ซึ่งหมายความว่าถ้าเรามีการเรียนรู้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในส่วนของสังคมและภาคธุรกิจเราก็จะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนถึงความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วนอันจะเป็นการสนับสนุนให้เด็ก ๆ เกิดความสนใจ ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวนอกโลกแล้วในส่วนของการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เรื่องอวกาศนั้นยังคงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะนอกจากที่เรามีการพูดถึงธุรกิจการท่องเที่ยวนอกโลกแล้วนั้น ในอนาคตเราจะมีการพูดถึงธุรกิจนอกโลกมากยิ่งขึ้นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการท่องเที่ยว แต่ยังมีเรื่องของธุรกิจพลังงานจากอวกาศด้วยนั่นคือ การสร้างสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศเพื่อแปลงกลับมาเป็นพลังงานใช้ในครัวเรือน เช่น ในประเทศญี่ปุ่น มีการเตรียมใช้พลังแสงอาทิตย์ในห้วงอวกาศขนาด 1 กิกะวัตต์ มูลค่ำ 7.35 แสนล้านบาท จากนั้นใช้เลเซอร์และคลื่นไมโครเวฟส่งพลังงานกลับมาใช้หล่อเลี้ยงอาคารบ้านเรือน 3.5 แสนหลังในกรุงโตเกียว โดยตั้งเป้าใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2573 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เริ่มเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าสิ่งที่เขาเรียนอยู่นั้นเขาเรียนเพื่ออะไร ทำให้เกิดความตั้งใจมุ่งมั่นในการเรียนรู้ รถยนต์ไร้คนขับ หรือเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
นอกจากเทรนด์เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนอกโลกแล้ว เรื่องของการคมนาคมรูปแบบใหม่ก็จะทำให้เห็นว่าวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาการคำนวณนั้นมีความสำคัญต่อเราอย่างไร และเราเรียนไปเพื่ออะไร โดยเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้พัฒนา เริ่มจากการเสริมฟังก์ชั่น Active Safety ช่วยลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุในบางสภาวะได้ เช่น ระบบเบรก เอบีเอส ระบบเสริมศักยภาพของรถ จากนั้น มีการพัฒนาถึงขั้นที่เรียกว่า Advanced Driver Assistance systems หรือ ADAS เป็นระบบที่ช่วยให้คนขับควบคุมรถได้ปลอดภัยมากกว่าการขับขี่ทั่วไป โดยการทำงานผสานร่วมกันระหว่างผู้ขับขี่กับ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีในบางสภาวะที่การขับขี่ไม่ปลอดภัย อาทิ เซ็นเซอร์ควบคุมความเร็วให้เหมาะสม และเว้นระยะห่างที่ปลอดภัย จนมาถึงจุดที่เทคโนโลยีเข้ามาควบคุมการขับขี่แทนมนุษย์ โดยเมื่อเมษายน 2562 ที่ผ่านมาจุฬาฯ ร่วมกับเอไอเอส ทำการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย 5G Live Network รถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและ ปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้คนขับ ถัดมาเดือน ส.ค. เอไอเอสลงพื้นที่ภาคใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ กสทช. ทดสอบศักยภาพของเทคโนโลยี 5G บนคลื่น ความถี่ 28 กิกะเฮิร์ตซ ควบคุมรถไร้คนขับทางไกล ระยะทาง 950 กิโลเมตร ระหว่าง กรุงเทพฯและ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทั้งนี้ผู้ควบคุมรถไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในตัวรถ แต่สามารถบังคับรถให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ด้วยระบบการสั่งงานระยะไกลแบบเรียลไทม์บนเครือข่าย 5G ที่ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกส่งต่อผ่านระบบ Video Analytics และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ควบคุมซึ่ง สวมใส่วีอาร์ ทำให้เกิดการตอบสนองทันที สามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายและหยุดได้แบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย สำหรับในส่วนของประเทศสิงคโปร์ ได้เริ่มทดลองปล่อยรถเมล์พลังงานไฟฟ้าไร้คนขับ ออกให้บริการเพื่อนนำร่องให้กับแนวคิดที่จะปลดประจำการมนุษย์ในอนาคต โดยเริ่มต้นจากรถบัสขนาดเล็กชนิดรับผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 6 ถึงไม่เกิน 15 คน ที่วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้ทดสอบวิ่งในพื้นที่จำกัด โดยรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าไว้ ว่าภายในปี 2022 จะให้รถเมล์ไร้คนขับเกิดขึ้นจริงในพื้นที่อาศัยย่านที่มีผู้อาศัยน้อย โดยเฉพาะบริเวณนอกเมืองซึ่งถือเป็นการลดแรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ศาสตร์” หรือ “องค์ความรู้” ที่เราจะพบว่าเมื่อถึง ณ วันหนึ่งองค์ความรู้ บางเรื่องอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นในฐานะบุคลากรทางการศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและภาคธุรกิจเพื่อนำมาปรับปรุงในส่วนของเนื้อหาการเรียนรู้ ตลอดจนวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กนักเรียนเพื่อเตรียมพร้อมสู่ การทำงานในโลกอนาคตได้ ดังนั้นสำคัญของการรู้เท่าทันสถานการณ์ทางธุรกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะมีผลสำคัญต่อการศึกษาในด้าน
- เปลี่ยนการศึกษาจากไม่รู้ว่าเรียนไปทำไม...เป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายได้มากขึ้นคือรู้ว่าที่เราเรียนเรื่องนี้เพราะมีเทรนด์หนึ่งกำลังจะเกิดขึ้น ถ้าเราเรียนไปก็จะช่วยเติมเต็มศักยภาพเราให้มีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตอันใกล้ได้ดีขึ้น
- เปลี่ยนองค์ความรู้จากสิ่งที่ล้ำสมัยและไม่จำเป็น...เป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น และง่ายต่อการต่อยอดประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตนเองและงาน