Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน

Posted By Plook Teacher | 09 ก.พ. 64
15,137 Views

  Favorite

สำหรับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ศักยภาพในการคิดขั้นสูง  ศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี  เป็นต้น

โดยที่ศักยภาพของผู้เรียนในแต่ละด้านนั้น คือ การที่ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด ๆ อย่างชัดเจน มีความสามารถในการนำความรู้ใช้ประโยชน์จนเกิดสมรรถนะและพัฒนาต่อยอดไปเป็นศักยภาพ ซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแต่ระดับความรู้ความเข้าใจไปจนถึงระดับศักยภาพ 

 

     การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มีวิธีการที่สำคัญ ได้แก่ 

       1. การพัฒนา  Growth mindset ให้เกิดกับตัวผู้เรียน 

       2. การกระตุ้นผู้เรียนให้มี  Passion  หรือความใฝ่ฝันในการเรียนรู้ 

       3. โค้ชของผู้สอนที่ค่อยชี้แนะให้ผู้เรียนใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้ 

 

     สำหรับ Growth mindset คือ ความเชื่อของผู้เรียนที่มีต่อตนเองว่าตนเองสามารถเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง  ด้วยการใช้ความมุ่งมั้นและพยายาม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน ทำให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 

 

     การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มี Growth mindset ไปพร้อมกับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความสามารถสูงสุดของตนเองในการเรียนรู้และเอื้อมต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม   เมื่อผู้เรียนมี Growth mindset แล้วจะมีพฤติกรรมชอบเรียนรู้สิ่งใหม่และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นคุณลักษณะหนึ่งของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ 

 

     ปัจจัยการสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานอีกประเภทหนึ่ง คือ การมี Passion หรือความใฝ่ฝันที่จะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนมี  Passion ในการเรียนรู้ เพราะ Passion เป็นพลังขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน 

 

     เมื่อผู้เรียนมี Passion ในการเรียนรู้   ผู้เรียนจะใช้ความมุ่งมั่นและพยายามในการปฏิบัติกิจกรรม เกิดการเรียนรู้เชิงลึก หรือ Deep learning จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป ซึ่งจะแต่งต่างจากการที่เรียนรู้โดยไม่มี Passion ที่ไม่สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมได้  

 

     ดังนั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน จึงเน้นการใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เชิงลึก คือ รู้จริง รู้ชัด 

 

     การที่จะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เชิงลึกได้หรือรู้จริง รู้ชัดนั้น ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีชีวิตชีวาและตื่นตัว ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับ Passive learning จะต้องเปลี่ยนจาก Passive learning ไปเป็น Active learnig ซึ่งการเรียนรู้ในบักษณะ Active learning มีลักษณะสำคัญ ได้แก่ 

       1. ผู้เรียนมีเป้าหมายทางการเรียนรู้ของตนเอง 

       2. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น 

       3. ผู้เรียนริเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการปฏิบัติ 

       4. ผู้เรียนใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย 

       5. ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

       6. ผู้เรียนประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 

 

     การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในลักษณะ Active Learning ยังคงต้องให้ความสำคัญกับสาระสำคัญของการเรียนรู้ หรือ Main concept ด้วย  ซึ่งหมายถึงลักษณะร่วมที่สำคัญของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขาดองค์ประกอบใดไปไม่ได้และสามารถสรุปอ้างอิงได้ (Generalization) เช่น Concept เรื่องดอกไม้ ประกอบด้วยกลีบดอก เกสร และก้านดอก หรือฟังก์ชัน คือ เซตของคู่อันดับที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน 

 

     นอกจากนี้ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนควรมีวิธีการกระตุ้นการคิดขั้นสูงของนักเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้คำถามในลักษณะที่เป็นพลังคำถามหรือเรียกว่า  Power Questions  เป็นคำถามที่กระตุ้นการคิดขั้นสูงของผู้เรียน สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการใช้คำถามที่ดีจะช่วยกระตุ้นการคิดของผู้เรียนได้มาก  นอกจากใช้คำถามแล้วผู้สอนสามารถกระตุ้นการคิดขั้นสูงของผู้เรียนด้วยการโค้ช   ลักษณะการโค้ชจากด้านใน หรือเรียกว่า  Internal Coaching  เป็นการโค้ชที่มุ่งให้เกิด Passion เน้นการกระตุ้นจินตนาการและความใฝ่ฝันในการเรียนรู้ของผู้เรียน   การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ผู้สอนมีบทบาทดังนี้ 

       1. เป็นนั่งร้านทางการเรียนรู้ของผู้เรียน 

       2. การใช้พลังคำถาม 

       3. การชี้แนะเพื่อการรู้คิด 

       4. การสะท้อนคิดตนเอง

       5. การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์

     ซึ่งบทบาทเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียน 

 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานจะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน มากกว่าความรู้ที่อาจล้าสมัยได้อย่างรวดเร็ว 

 
โดย มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี
ภายใต้การเดินงานของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow