การอ่านเชิงตอบโต้ (Dialogic Reading) เป็นกระบวนการของการสนทนากับนักเรียนในหัวข้อ เรื่องราว หรือข้อความที่พวกเขากำลังอ่าน ซึ่งเป็นการถามคำถาม โดยเน้นการสนทนาและการอธิบายแบบสองทางกับนักเรียนในขณะที่กำลังอ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนสำรวจข้อความในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น รวมไปถึงส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ วิเคราะห์องค์ประกอบของเรื่องราวต่าง ๆ และสามารถพูดคุยเกี่ยวกับข้อความเหล่านั้นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การอ่านเชิงโต้ตอบเป็นรูปแบบของการอ่านที่มีมุ่งเน้นไปที่ความเข้าใจและการตีความมากกว่าความแม่นยำและความคล่องแคล่วในการอ่าน
การถามคำถามในลักษณะของการอ่านเชิงตอบโต้นั้น จะไม่ใช่การถามคำถามปิดที่มีคำตอบเพียงแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ หรือ ถูก กับ ผิด แต่เน้นถามคำถามที่เป็นปลายเปิด ซึ่งเป็นการถามคำถามเพื่อนักเรียนได้ใช้ความคิดโดยมีคำตอบที่หลากหลายไม่ตายตัว เพื่อสร้างให้เกิดบรรยากาศแห่งการสนทนาระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน หรือระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง
การอ่านเชิงตอบโต้ ใช้ประโยชน์จากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อชี้ให้เห็นว่าการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ในระหว่างการอ่านนั้น จะส่งผลให้เด็กเกิดการใช้ภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจดจำคำศัพท์ ความซับซ้อนในการพูดและทักษะการเล่าเรื่อง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประสบการณ์การอ่านเชิงโต้ตอบนั้นมีความสัมพันธ์กับทักษะการรู้หนังสือในอนาคตอีกด้วย
1. การอ่านเชิงตอบโต้ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางปัญญาของเด็กเล็ก การสนทนาโต้ตอบกับเด็กขณะที่กำลังอ่าน ช่วยให้สมองของเด็กมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2. การอ่านเชิงตอบโต้ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านจิตสังคมของทั้งเด็กและผู้ปกครอง ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
3. การอ่านเชิงตอบโต้ช่วยให้นักเรียนที่มีกลุ่มเสี่ยงต่อการไม่รู้หนังสือ ทำให้มีการฟื้นฟูที่ดีขึ้น
4. การอ่านเชิงตอบโต้ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
สำหรับเคล็ดลับการอ่านเชิงตอบโต้นั้น ครูผู้สอนสามารถใช้กระบวนการ P.E.E.R. เพื่อช่วยให้นักเรียนมีประสิทธิภาพในการอ่านมากขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการ P.E.E.R นั้น ประกอบด้วย
P - คือการกระตุ้นให้นักเรียนพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่าน
E - ประเมินการตอบกลับของนักเรียน
E - ขยายคำตอบของเด็กโดยการนำเสนอสิ่งใหม่หรือเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ ๆ
R - ทำซ้ำเพื่อดูว่านักเรียนได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้จากเรื่องราวหรือไม่
ส่วนการกระตุ้น 5 ประเภทที่ช่วยส่งเสริมการอ่านแบบตอบโต้ เราสามารถจดจำเป็นอักษรย่อได้ด้วยคำว่า C.R.O.W.D ซึ่งแต่ละตัวอักษรมีความหมายดังนี้
ให้นักเรียนจะต้องเติมคำในช่องว่างของประโยค ซึ่งมักจะใช้กับเรื่องราวที่มีวลีซ้ำ ๆ
ให้นักเรียนพูดถึงเรื่องราวที่ตัวเองเคยได้อ่าน โดยกระตุ้นด้วยคำถามที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่องราวนั้น
ให้นักเรียนเล่าเรื่องจากภาพ โดยจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตรายละเอียดและตรวจสอบความเข้าใจ
ใช้คำถามที่เริ่มต้นด้วย ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพื่อให้นักเรียนมองหาคำตอบที่ถูกต้อง
ถามคำถามนักเรียนเพื่อช่วยให้พวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ของตัวเองพื้นฐานของข้อมูลจากเรื่องราวที่อ่าน เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่างเรื่องราวที่อ่านกับโลกแห่งความจริง
เรียบเรียงโดย : นรรัชต์ ฝันเชียร