- แบบทดสอบด้านการเขียน คลิกที่นี่
- แบบทดสอบด้านการเขียน (ฉบับกรรมการ) คลิกที่นี่
- แบบทดสอบการอ่านรู้เรื่อง คลิกที่นี่
- แบบทดสอบการอ่านออกเสียง คลิกที่นี่
- แบบทดสอบการอ่านออกเสียง (ฉบับกรรมการ) คลิกที่นี่
- เฉลยและเกณฑ์การให้คะแนนการอ่านรู้เรื่องและการเขียน คลิกที่นี่
การออกแบบกระบวนการ บันได 6 ขั้น เพื่อพัฒนาให้เด็กนักเรียนอ่านออกเขียนได้นั้น มีจุดเด่นที่แต่ละขั้นจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้น เริ่มจากง่ายไปจนถึงยาก และมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้ครูกำหนดเป้าหมายการพัฒนานักเรียนตามขั้นตอนทีละขั้นโดยไม่ข้ามขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็นทั้ง 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 : ฝึกอ่านทุกวันในช่วงพักกลางวัน โดยใช้หนังสือเรียน นิทาน คำ อักษรไทย
ขั้นที่ 2 : ฝึกอ่านควบคู่ไปกับการเขียน โดยใช้อักษรไทย คำ ประโยค นิทาน
ขั้นที่ 3 : การฝึกคัดลายมือ นอกจากจะทำให้ลายมือสวยงามแล้ว ยังช่วยในการจดจำรูปคำต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ขั้นที่ 4 : การวาดรูปประกอบคำด้วยความคิดสร้างสรรค์และสนุกไปกับการวาดรูป โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการผสมคำมากขึ้น
ขั้นที่ 5 : การนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสาร โดยใช้รูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร ทำอะไร , ใคร ทำอะไร กับใคร
ขั้นที่ 6 : การเขียนเล่าเรื่องตามภาพวาดโดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของนักเรียนเอง
โดยกระบวนการ บันได 6 ขั้นแก้ปัญหา เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จะต้องผ่านไปที่ละขั้นตอนนักเรียนถึงจะสามารถอ่านออก และเขียนได้ตั้งแต่อยู่ประถมศึกษาปีที่ 1 เพียงทำตามขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นก็ทำให้เด็กนักเรียนสามารอ่านออกเขียนได้ และยังสามารถอ่านหนังสือได้ตามบทเรียนที่ครูสอนและเขียนหนังสือได้อย่างสวยงาม สะอาดตา