Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การจัดรายวิชาเพิ่มเติม เตรียมสู่อาชีพ สำหรับนักเรียน

Posted By Plook Teacher | 30 ม.ค. 61
10,608 Views

  Favorite

การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมจากสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน หรือความต้องการของท้องถิ่น โดยกำหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาเพิ่มเติมต่างๆ ดังนี้

 

          ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

          การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด ความสนใจ ความสามารถของตนเอง เรียกว่า ขั้นสำรวจความถนัด (Career Exploration) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของอาชีพ และค้นพบความต้องการของตัวเองเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมคุณลักษณะที่จำเป็นของอาชีพต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและสามารถตัดสินใจ วางแผนเพื่อศึกษาต่อหรือออกไปประกอบอาชีพใดต่อไปในอนาคต

 

          ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

          การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ (Career  Preparation)  หรือศึกษาต่อ ในสาขาวิชาชีพที่ตนถนัด สถานศึกษาควรจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อวางพื้นฐาน ความรู้และทักษะทางอาชีพเฉพาะทางมากขึ้น โดยอาจจัดเป็นแผนการเรียนที่มีจุดเน้นและเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการของตน

 

          จากแนวทางดังกล่าว มีตัวอย่างที่สถานศึกษาได้นำเป้าหมายการเรียนรู้ไปสู่การออกแบบรายวิชาเพิ่มเติมโดยจัดอยู่ภายใต้โครงสร้างเวลาเรียนที่สถานศึกษากำหนด เพื่อสำรวจความถนัด และ/หรือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมความพร้อมและคุณลักษณะที่จำเป็นของแต่ละอาชีพให้กับผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมที่เรียนจบในรายวิชานั้น หรือ เรียนต่อเนื่องเป็นชุดวิชาที่เน้นทักษะฝีมือหรือวิชาการ ดังนี้

 

          2.1 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อสำรวจความถนัด ความสนใจทางอาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การทำงาน และ/หรือ ฝึกปฏิบัติการทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน มักจัดเป็นรายวิชาอาชีพหลากหลายให้เลือกเรียน (Shopping Courses)  หรือกำหนดเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่สามารถเรียนจบภายในรายวิชานั้น  เช่น รายวิชา ถุงผ้าลดโลกร้อน  ช่างขนมไทย  การประดิษฐ์ของชำร่วย เป็นต้น ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเหลือง

 

          2.2 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อฝึกทักษะฝีมือ และ/หรือ มุ่งสู่อาชีพเฉพาะ และเตรียมคุณลักษณะด้านอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น ชุดรายวิชา ทองเหลือง 1 ทองเหลือง 2 ... ทองเหลือง 6  ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีชมพู

 

          2.3 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการสู่อาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมการประกอบอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น คณิตศาสตร์เพิ่มเติม1 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2  ... ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 1 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 2 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 3 ...       ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเขียว

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow