โดยมีลำดับขั้นตอนตั้งแต่เริ่มเป็นครูผู้ช่วยให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนี้
ขั้นที่ 1 : เรียนหลักสูตรทางการศึกษา 5 ปี + สอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ขั้นที่ 2 : ครูผู้ช่วย ต้องผ่านช่วงทดลองงาน 2 ปี
ขั้นที่ 3 : ครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 6) เมื่อผ่านช่วงทดลองงาน 2 ปีจะได้เลื่อนขึ้นมาที่ ครู ค.ศ.1
ขั้นที่ 4 : ครู ค.ศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ ครูที่ต้องการเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาจะสามารถเริ่มย้ายได้ที่ตำแหน่งนี้ เพราะสามารถย้ายได้ไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ
โดยจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30
3. มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที ก.ค.ศ. กำหนด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
4. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ศึกษานิเทศก์ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วยหรือผู้อำนวยการกลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ
- ตำแหน่งอื่น ที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ดังนี้
ก. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีหรือเคยมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ
ข. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก โดยไม่มีเงื่อนไขระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ขั้นที่ 5 : ครูที่ต้องการสมัครเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาโดยครูที่ต้องการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติตามที่คุรุสภากำหนด
ขั้นที่ 6 : สมัครสอบตามกำหนดการที่ประกาศเปิดรับสมัครโดยมีสัดส่วนการให้คณะในการสอบ ดังนี้
หลักสูตร
กลุ่มทั่วไป (คะแนน 350 คะแนน)
ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป (250 คะแนน)
1. ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (100 คะแนน)
2. สมรรถนะทางการบริหาร (50 คะแนน)
3. ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (100 คะแนน)
ภาค ข ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (100 คะแนน)
1. ประเมินผลการปฏิบัติงาน (50 คะแนน)
2. สัมภาษณ์ (50 คะแนน)
กลุ่มประสบการณ์ (คะแนน 300 คะแนน)
ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป (150 คะแนน)
1. ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (50 คะแนน)
2. สมรรถนะทางการบริหาร (50 คะแนน)
3. ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (50 คะแนน)
ภาค ข ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (150 คะแนน)
1. ประเมินผลการปฏิบัติงาน (100 คะแนน)
2. สัมภาษณ์ (50 คะแนน)
เรียบเรียงโดย : พิมพ์ชนก แพงสร้อย