Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

แนวทางหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ปี 2560

Posted By Plook Teacher | 21 พ.ย. 59
4,236 Views

  Favorite

   ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงแนวทางหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้มีการจัดสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกส่วนราชการ รวมทั้งเพื่อให้สถานศึกษามีอัตรากำลังข้าราชการครูเพียงพอต่อความต้องการ และทันกำหนดการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยแนวทางที่จะปรับปรุง สรุปดังนี้

 

1. การสอบแข่งขัน แบ่งเป็นภาค ก   ภาค ข  และภาค ค
 

2. ผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
   - ภาค ก  ให้ ก.ค.ศ. หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย เป็นผู้ดำเนินการสอบ
   - ภาค ข และ ภาค ค  ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งแล้วแต่กรณี เป็นผู้ดำเนินการสอบ
 

3. กำหนดวันเวลาในการสอบ
   - ภาค ก  ให้ ก.ค.ศ. หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย เป็นผู้กำหนดวันเวลาในการสอบ
   - ภาค ข และ ภาค ค  ให้ส่วนราชการ เป็นผู้กำหนดวันเวลาในการสอบ
 

4. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
   - ภาค ก
     1) ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30
     2) ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
     3) ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่น ที่ได้รับการรับรองจาก ก.ค.ศ. ไม่หลังวันรับสมัครวันสุดท้าย
  - ภาค ข และ ภาค ค  กำหนดเหมือนภาค ก แต่เพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "ต้องมีหนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก ที่ยังไม่ครบอายุการขึ้นบัญชี"
 

5. หลักสูตรการสอบแข่งขัน แบ่งออก เป็น 3 ภาค
   - ภาค ก  ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และความรู้อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่
   - ภาค ข  ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
   - ภาค ค  ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ
 

6. ค่าธรรมเนียมในการสมัคร
   - ภาค ก  ค่าธรรมเนียม 200 บาท
   - ภาค ข และ ภาค ค  ค่าธรรมเนียม 300 บาท


7. การดำเนินการสอบ ภาค ก  ภาค ข  และ ภาค ค
   1) ประกาศรับสมัครไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
   2) รับสมัครสอบแข่งขันไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ไม่เว้นวันหยุดฯ ด้วยการยื่นสมัครด้วยตนเองหรือยื่นสมัครทางอิเล็กทรอนิกส์
   3) กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร คุณสมบัติฯ
   4) ให้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน
   5) ผู้ดำเนินการสอบฯ อาจตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม


8. เกณฑ์การตัดสิน
   - ภาค ก  ใช้เกณฑ์ “ผ่าน” โดยต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ จึงจะออกหนังสือรับรองผลการสอบผ่านให้
   - ภาค ข และ ภาค ค  ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้


9. การประกาศรายชื่อ
   - ภาค ก  ให้ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน โดยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และให้ออกหนังสือรับรองผลให้แก่ผู้สอบผ่าน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการสมัครสอบ ภาค ข และ ภาค ค
   - ภาค ข และ ภาค ค  ให้ประกาศรายชื่อเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ โดยให้เรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนรวมทั้ง 2 ภาค จากมากไปหาน้อย


10. อายุหนังสือรับรองผลการสอบ ภาค ก   หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก ให้ใช้ได้ไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน หากได้รับการบรรจุและแต่งตั้งฯแล้ว หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก ทุกฉบับ ที่ออกก่อนวันบรรจุและแต่งตั้งเป็นอันยกเลิก
 

11. อายุการขึ้นบัญชี   บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามประกาศการขึ้นบัญชีฯ
 

12. การเรียกตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง
   1) ครั้งแรก ให้ใช้ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เป็นการเรียกตัวผู้มีสิทธิ์ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ที่ประกาศผลการสอบแข่งขัน ก่อนการเปิดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 15 วัน
   2) ครั้งต่อๆ ไป ให้ผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน ทำหนังสือเรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้โดยตรงเป็นรายบุคคล ก่อนวันรายงานตัวไม่น้อยกว่าสิบวัน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow