Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคการสอนภาษาไทย ชั้น ป.1 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ภาคปลาย)

Posted By Plook Teacher | 08 พ.ย. 59
27,060 Views

  Favorite

 

 

หลักสูตรโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุดหมายของหลักสูตร
เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ โดยมุ่งพัฒนาใน 2 กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ คือ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์

 

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย ชื่นชมและภูมิใจในภาษาประจำชาติ
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีเจตคติที่ดี พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

 

ส่วนประกอบหลักสูตร
1. โครงสร้างหลักสูตร
2. โครงการสอนระยะยาว
3. แผนการจัดการเรียนรู้
4. แบบเรียนของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. เอกสารเสริมหลักสูตร
6. แบบวัดและประเมินผล

 

การประเมินผลการเรียนรู้
1. ประเมินระหว่างเรียน 50%
2. ประเมินหลังเรียน 50%


ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ
1. นักเรียนต้องได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการสอนของครูเต็มเวลาเต็มหลักสูตร
2. นักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านการทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์
3. ครูต้องได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ประกอบสื่อการสอนที่มีคุณภาพเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้
เข้าใจได้ง่ายและมีความคงทนในการเรียนรู้
4. ครูต้องด าเนินการจัดการเรียนการสอนตามโครงการระยะยาวอย่างเคร่งครัดและมี การวัดและประเมินเป็นระยะตามที่กำหนดไว้
5. ครูจะต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่เชี่ยวชาญและจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรและแบบวัดประเมินผลที่มีคุณภาพ
6. มีการนิเทศติดตามโดยอาจารย์นิเทศก์จากคณาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม 

 

การประเมินความสำเร็จ
แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

 

คุณลักษณะของหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. หลักสูตรของโรงเรียนตรงตามหลักสูตรแกนกลางของชาติ แต่มีการจัดลำดับให้มีการเรียนเรื่องจากง่ายไปยาก มีการจัดลำดับเนื้อหา อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากความรู้พื้นฐานที่นักเรียนจะต้องมีก่อนที่จะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ มีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาเป็นโครงสร้างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน รวมไปถึงหนังสือแบบเรียนมีการจัดทำ แบบฝึกหัดที่เรียงลำดับความจากง่ายไปยาก ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่าง
เข้าใจได้อย่างรวดเร็วเนื้อหาถูกต้อง ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้และตัวบ่งชี้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. หนังสือแบบเรียนจัดทำโดยอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระมีการปรับปรุงพัฒนาทุกปีการศึกษา เพราะอาจารย์ที่จัดทำเป็นผู้ใช้หนังสือแบบเรียนนั้นเอง
3. เนื้อหาบางวิชาบทเรียนจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้ก่อนระดับชั้นที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุมีผล เพราะยึดถือในหลักการที่ว่า ถ้าสอนอย่างเป็นขั้นตอนมีระบบด้วยเทคนิค การสอนและสื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหานั้นๆ จะทำให้นักเรียนเรียนรู้เข้าใจอย่างลึกซึ้งจดจำได้ โดยไม่ต้องท่องจำ
4. ในแบบเรียนมีแบบฝึกหัดประกอบทุกบทเรียน นักเรียนได้ฝึกทักษะหลังจากได้เรียนรู้และอาจารย์สามารถตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนได้จากการตรวจแบบฝึกหัดการ
5. การสอนประสมคำโดยใช้สระเป็นหลักในวิชาภาษาไทย ทำให้ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเรียนจบหลักสูตร ถึงแม้จะไม่ได้ผ่านการเรียนในระดับชั้นอนุบาล
6. ผู้ปกครองสามารถศึกษาบทเรียนเพื่อให้คำแนะนำกับนักเรียนได้โดยง่าย
7. การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นการประเมินผลย่อยเป็นระยะก่อนการสอบประจำภาค ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นพร้อมสำหรับการวัดและประเมินผลอยู่เสมอ
8. ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยสูงสุดทุกกลุ่มสาระ ทุกปีต่อเนื่อง ทั้งที่ไม่มีการสอนเพื่อเตรียมสอบเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนของหลักสูตรนี้

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow