1. สังเกตที่ลักษณะของหัว
งูมีพิษส่วนใหญ่หัวมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม แม้จะเป็นเกณฑ์เบื้องต้นแต่ก็ไม่เสมอไป งูไม่มีพิษบางชนิดก็มีหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้สับสนและไม่สามารถระบุว่าเป็นงูมีพิษได้จากรูปร่างของหัวเท่านั้น แต่มีจุดอื่นที่ช่วยระบุได้นั่นคือ หลุม (รู) บนหัวของพวกมัน เช่น งูหางกระดิ่ง งูปะการัง งูคอตตอนเมาธ์ เป็นงูพิษ จะมีหลุมสองหลุมปรากฎบนจมูกของพวกมัน
2. สังเกตที่รูม่านตา
งูมีพิษมีรูม่านตาแนวขวางคล้ายกับตาของแมว ส่วนงูไม่มีพิษมีรูม่านตากลม แต่วิธีสังเกตรูม่านตาค่อนข้างเป็นอันตรายและควรรักษาระยะห่างให้ปลอดภัยจากงูด้วย อีกทั้งจะสังเกตเห็นได้แค่ในเวลาที่งูตื่นตัวเท่านั้น
3. สังเกตที่สี
งูมีพิษมักมีสีสันฉูดฉาด เช่น งูปะการัง งูไม่มีพิษจะมีสีค่อนข้างทึบ อย่างไรก็ตามอาจมีข้อยกเว้นสำหรับงูบางชนิด ต้องระวัง
4. สังเกตที่หาง
หางของงูมีพิษเวลาสั่นมักมีเสียง เช่น งูหางกระดิ่ง ดังนั้นเมื่อเจองูที่สั่นหางแล้วมีเสียงให้หนีไปพื้นที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม งูพิษบางชนิดเช่น งูหางกระดิ่งแคระที่มีกระดิ่งตรงหางท่อนเดียว มักไม่ค่อยทำเสียงดังให้รู้ตัว จึงควรระวัง
5. สังเกตพฤติกรรม
งูแต่ละชนิดมีพฤติกรรมและลักษณะที่แตกต่างกัน พฤติกรรมที่เห็นอย่างชัดเจนเลยเช่นในงูหางกระดิ่งที่มักส่ายหางแล้วมีเสียง แต่ก็ไม่ใช่งูหางกระดิ่งทุกตัวที่สั่นหางแล้วจะมีเสียง หรืองูน้ำวอเตอร์มอกคาซิน และงูคอตตอนเมาธ์จะว่ายน้ำโดยทั้งตัวอยู่บนผิวน้ำ ในขณะที่งูไม่มีพิษจะมีแค่หัวที่อยู่เหนือน้ำเท่านั้น
6. สังเกตเกล็ดใต้ท้องตรงปลายหาง
งูมีพิษส่วนใหญ่มีเกล็ดแถวเดียว ส่วนงูไม่มีพิษจะมีสองแถว
7. สังเกตจากรอยกัด
กรณีถูกงูกัดให้สังเกตที่รอยงูกัด หากรอยกัดมีสองรูแสดงว่างูนั้นมีเขี้ยวและมีพิษ แต่หากรอยกัดไม่มีเขี้ยวจะเป็นลักษณะของงูไม่มีพิษ