Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

บุญข้าวประดับดิน งานบุญใหญ่ ที่มีตั้งแต่พุทธกาล หลังเข้าพรรษา 1 เดือน

Posted By มหัทธโน | 23 ส.ค. 65
10,311 Views

  Favorite

บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า

บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญเดือนเก้า ตามประเพณีอีสาน มีขึ้นหลังจากเข้าพรรษาไปได้ประมาณหนึ่งเดือน ตรงกับวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า (ประมาณเดือนสิงหาคม) ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนปัจจุบัน

 

เป็นอีกหนึ่งฮีตคองประเพณีอีสานจัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็ก ๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์หรือโบสถ์


ความเป็นมาของประเพณีมีตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

ที่มา : https://pantip.com/topic/39183707

 

ตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสารเคยแอบกินของสงฆ์ เมื่อตายไปจึงไปเกิดในนรก

ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้า แล้วไม่ได้อุทิศให้ญาติที่ตายไป พอตกกลางคืน เหล่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารที่ตายไปมาปรากฎตัวเปล่งเสียงร้องน่ากลัวบริเวณพระราชนิเวศ

 

ที่มา : https://84000.org/tipitaka/picture/f43.html

 

รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงได้รีบไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์จึงบอกเหตุให้ทราบว่า ญาติที่ไปตกอยู่ในภูมินรก ต้องการได้รับส่วนกุศล

จึงได้ก่อเกิดการทำบุญข้าวประดับดินขึ้นมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาตที่ตายไปแล้ว และถือเป็นประเพณีที่ต้องทำมาเป็นประจำ ไม่ใช่แค่เหล่าญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่บรรดาวิญญาณเร่รอน ก็สามารถรับส่วนกุศลนั้นไปด้วย. 

 

ประเพณีคนลาวและไทยอีสาน มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า

กลางคืนของเดือนเก้า หรือ ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว.

 

พิธีกรรมของ ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

การทำบุญข้าวประดับดินนั้นจะทำกันในช่วงเช้ามืด ประมาณตีสาม – ตีสี่ ของวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙

ซึ่งหมายความว่าจะต้องเตรียมจัดอาหารคาวหวานไว้ตั้งแต่ตอนเย็นของวันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๙ นอกจากอาหารคาวหวานแล้วยังมี หมากพลู บุหรี่

โดยจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน

ส่วนหนึ่งสำหรับครอบครัว

ส่วนที่สองแบ่งญาติพี่น้องเรือนเคียง

ส่วนที่สามอุทิศให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

ส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์. 

 

สำหรับส่วนที่สามที่จะอุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้วนั้นจะห่อน้อยกว่าส่วนอื่น มีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ยาวให้สุดซีกของใบตองที่ตัดมา อาหารคาวหวานนั้นจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ

  • ข้าวเหนียวนึ่ง ปั้นเล็กๆเท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน
  • เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือ อาหารคาวที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่น
  • อาหารหวาน เช่น กล้วย น้อยหน่า มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ
  • หมาก บุหรี่ และเมี่ยง อย่างละคำ
  •  

ห่อข้าว อาหาร คาวหวานด้วยใบตอง แล้วใช้ไม้กลัดหัวท้าย และตรงกลาาง เราก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ ตามซีกของใบตอง อีกหนึ่งห่อ เป็นหมากพลู บุหรี่ และเมี่ยงคำ นำมาห่อในลักษณธเดียวกัน จะได้เห็นห่อหมากพลู หลังจากนั้นนำทั้งสองมามัดเป็นคู่ และไปรวมกันเป็นพวงอีกที โดย ๑ พวง จะใส่ห่อหมากห่อพลูจำนวน ๙ ห่อง. 

 

ห่อข้าวน้อยที่เรานำไปวาง หมายถึง การนำไปอุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว รุ่งสางราวๆตี ๓ – ๔ ของเช้าวันแรว ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ แต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่เตรียมไว้ไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่ ตามทางเดิน ริมกำแพงในวัด

 

ภาษาอีสานเรียกว่าการยาย (ยายหมายถึง วางเป็นระยะ ๆ) จะทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีการตีกลอง ตีฆ้องแต่อย่างใด

ระหว่างที่ยายห่อข้าวน้อย ก็จะมีการจุดธูปเทียน เพื่อบอกให้ดวงวิญญาณมารับส่วนกุศลที่ได้อุทิศไปให้ บางคนก็บอกเฉย ๆ ไม่ได้จุดเทียนก็มี


หลังจากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน เพื่อเตรียมอาหารมาใส่บาตร ถวายพระในตอนเช้า พระสงฆ์มีการแสดงธรรมเทศนา เกี่ยวกับอานิสงฆ์ของการทำบุญข้าวประดับดินให้ฟัง และมีการกรวดนำทำบุญ ตามประเพณีของพุทธศาสนา ที่ทำกันทั่ว ๆ ไป

แหล่งข้อมูล
https://www.paknamubonclub.com/
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow