Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทำความเข้าใจโรค Nostalgia (โรคโหยหาอดีต)

Posted By Plook Blog | 25 พ.ค. 65
21,702 Views

  Favorite

หากการย้อนกลับไปคิดถึงอดีตทำให้มีความสุขจนอยากย้อนกลับไปอยู่ตลอดเวลา คิดวนซ้ำ ๆ จนนอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย และส่งผลเสียต่อร่างกาย คุณอาจกำลังเป็นโรค Nostalgia หรือ โรคโหยหาอดีต อยู่ก็เป็นได้

 

ทุกคนคงเคยระลึกย้อนถึงความหลังเมื่อครั้งเป็นเด็ก เคยวิ่งเล่นกับเพื่อน เคยมีช่วงเวลาดี ๆ กับคนรัก กินข้าวกับครอบครัวอย่างอบอุ่น ไปทัศนศึกษากับแก๊งเพื่อนมัธยมต้น ไปเที่ยวเล่นสวนสัตว์สวนสนุกกับเพื่อนสนิท หรืออาจจะคิดถึงบ้านเกิดขณะทำงานอยู่ต่างแดน ความทรงจำดี ๆ หลาย ๆ เหตุการณ์ที่เมื่อคิดย้อนกลับไปก็รู้สึกดี อิ่มเอมใจ และเผลอยิ้ม หัวเราะออกมา ความรู้สึกอาลัย อาวรณ์ โหยถวิลหา หากมันส่งผลเพียงชั่วคราว โดยทำให้คุณเผลอยิ้ม มีความสุข ก็ถือว่าเป็นเรื่องราวดี ๆ

 

ภาพ : Pixabay

 

แต่หากว่ามันทำให้คุณต้องเป็นทุกข์ อยากย้อนกลับไปอยู่ตลอดเวลา คุณอาจมีอาการ Nostalgia หรือ โหยหาอดีตเสียแล้ว ดั้งเดิมนั้นเราใช้คำว่า Nostalgia สำหรับอาการคิดถึงบ้าน Nostos แปลว่า กลับบ้าน Algos คือ ความเจ็บปวด แต่สมัยนี้มันไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่อาการคิดถึงบ้านอีกต่อไป

 

มันเริ่มขึ้นในช่วงคริศตวรรษที่ 17 เมื่อนักศึกษาแพทย์สังเกตเห็นอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทหารชาวสวิสซึ่งจากแดนไกลมาทำสงคราบเป็นเวลานาน พวกเขาป่วยด้วยอาการที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ไข้ เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนแรง นอนไม่หลับ และอื่น ๆ อาการเหล่านี้ไม่ปรากฏสาเหตุ และไม่มีอาการภายนอกร่างกาย อาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อพวกเขาคร่ำครวญถึงบ้านที่จากมาไกลนานมากขึ้น

 

ภาพ : Pixabay

 

ท้ายที่สุดทหารรับจ้างเหล่านี้ต้องถูกปลดประจำการและกลับบ้านไป ที่น่าขันคืออาการป่วยหายไปเมื่อได้กลับบ้าน พวกเขาไม่ได้แกล้งป่วย เพราะทหารเหล่านี้ได้เบี้ยเลี้ยงดีจากการรับจ้าง พวกเขาตั้งใจจากบ้านมาเพื่อมาทำงาน นั่นคือจุดเริ่มต้นของโรค และนักศึกษาแพทย์คนนี้ก็เริ่มสนใจในอาการที่แท้จริงของโรคนี้ ในยุคนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเสียงกระดิ่งวัว หรือแม้แต่เพลงพื้นเมือง อาจจะทำให้เหล่าทหารรับจ้างชาวสวิสหวนคิดถึงบ้านและป่วย จนต้องห้ามไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้ร้องเพลง เพราะคิดว่าอาจจะทำให้ป่วยและฆ่าตัวตายกันเลยทีเดียว

 

ภาพ : Pixabay

 

ในเบื้องต้นของการศึกษา Nostalgia ถูกจัดให้เป็นอาการจำเพาะที่มักเกิดขึ้นกับชาวสวิส แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นกับเหล่าทหารรับจ้างเท่านั้น แรงงานจำนวนมากที่เดินทางไปทำงานต่างแดนต่าง เด็กที่ถูกส่งไปต่างจังหวัดห่างไกลจากครอบครัว ชายหนุ่มอายุ 20 ปีกว่า และหญิงที่ถูกส่งไปเป็นแม่บ้านตามคฤหาสน์ ก็ได้รับผลกระทบและป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน และยิ่งในปัจจุบันที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาการคิดถึงบ้านก็สามารถเห็นได้ทั่วไปในหลายกลุ่มคน จึงทำให้พบว่าไม่ว่าใครก็ตามหากต้องเดินทางไกลห่างจากถิ่นฐานเดิมเป็นเวลานาน ก็อาจจะเกิดอาการเช่นนี้ได้

 

จนในยุคคริศตวรรษที่ 20 นี้เองที่ทางการแพทย์ไม่ได้มองว่า Nostalgia เป็นโรคทางระบบประสาทอีกต่อไปแต่เป็นอาการทางอารมณ์ ทางจิต คล้ายกับโรคซึมเศร้า และท้ายที่สุดได้ขยายความหมายของเหตุแห่งการเกิดโรคเกินไปกว่าการคิดถึงบ้าน ไปคลอบคลุมถึงการโหยหาอดีต และไม่ได้เป็นโรคที่มีอาการน่ากลัวหรือน่าเป็นห่วง แต่อาจทำให้เป็นประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ที่เป็นก็ได้

 

ภาพ : Pixabay

 

ท้ายที่สุดแล้วนักวิทยศาสตร์คิดว่าอาการผิดปกติทางร่างกายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไข้ อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร หรือนอนไม่หลับ อาจจะไม่ได้เกิดจากอาการโรค Nostalgia แต่อาจจะเป็นอาการที่มาพร้อมกับอาการคิดถึงบ้าน อารมณ์ที่แปรปรวนที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นอารมณ์เดียวกันกับที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อย้อนคิดถึงความทรงจำเหล่านั้น ไม่ว่าจะทุกข์ สุข เศร้า เคล้ากันไป

 

Nostalgia จึงไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป มันอาจจะทำให้คุณหงุดหงิดเมื่อคิดถึงก๋วยเตี๋ยวซึ่งเคยกินในราคาถูกกว่านี้ในตอนเด็ก ในขณะเดียวกัน Nostalgia ก็ทำให้คุณสุขเมื่อได้เชียร์ฟุตบอลทีมโปรดทางทีวีกับเพื่อนสนิทเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นเด็กอีกครั้ง นักวิทยาศาสตร์จึงไม่ได้มองว่ามันเป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลร้ายอีกต่อไป แต่กลับเป็นวิธีการแก้ปัญหาทางจิต หรือแก้เครียดได้อีกด้วย หากคุณสามารถกระตุ้นให้หวนคิดถึงความทรงจำอันมีค่าในอดีต คุณก็จะรู้สึกดีและก้าวข้ามปัญหาที่ประสบอยู่ตรงหน้าไปได้

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Blog
  • 5 Followers
  • Follow