หลักคำสอนสำคัญที่เป็น “หัวใจของพระพุทธศาสนา”
ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่า สมควรที่จะประทานแก่ที่ประชุมพระสงฆ์อรหันต์ 1,250 องค์ที่มาประชุมพร้อมเพรียงกัน โดยมิได้นัดหมายกัน
และพระองค์พิจารณาแล้วว่า ทั้ง 1,250 รูปต่างเป็นพระอรหันตสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ และทุกรูปเป็นพระอรหันต์ผู้ที่ได้อภิญญา 6 (แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ และมีญาณหยั่งรู้ในธรรมอันเป็นที่สิ้นแห่งกิเลสทั้งหลาย) จึงเหมาะสมแล้ว ที่จะเริ่มการวางหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการเข้าถึงสัจธรรม ผ่านหัวใจของพระพุทธศาสนา หรือ พระโอวาทปาติโมกข์ ที่เป็นดัง พระธรรมนูญแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นรากฐานแนวทางการเผยแพร่พุทธศาสนา ให้กับพระอรหันตสาวกทั้งหมด
เนื้อหา โดยสรุป คือ
ให้ละบาปกรรมความชั่วทุกชนิด
ทำความดีให้ถึงพร้อม
ทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์
ถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาครั้งแรก
โอวาทปาติโมกข์ ประกอบด้วยพุทธคาถา 3 ส่วน คือ
อุดมการณ์ 4
หลักการ 3 และ
วิธีการ 6
ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของพุทธศาสนาประกอบด้วย
1 .ความอดทนอดกลั้น ต่อสิ่งยั่วยุต่างๆที่มากระทบ
2. การมุ่งให้ถึงนิพพาน อันเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช
3. การไม่ประทุษร้ายต่อผู้อื่น ไม่ว่าทางกายหรือทางใจ
4. การไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน ด้วยความโลภโกรธหลง
คำขยายความทางธรรม
นั่นคือ หากมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความอดทนอดกลั้น รู้จักให้อภัย มีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ ไม่ทำร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน สังคมก็จะมีความสุข อยู่กันด้วยความรักสามัคคี
เหตุนี้ วันมาฆบูชา จึงนับได้ว่าเป็นวันแห่งความรักของชาวพุทธที่มีต่อมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิต ด้วยความตระหนักในคุณค่าของกันและกัน รักและสามัคคีต่อกัน ดั่งเหล่าพระอรหันตสาวกทั้ง 1,250 รูปที่พร้อมใจกันมาโดยมิได้นัดหมาย ด้วยความสมัครสามัคคีต่อกัน
ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในการเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา ที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ประกอบด้วย
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง 2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม 3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
ซึ่งก็คือ หลักของศีล สมาธิ และปัญญา นั่นเอง
เพื่อให้พระอรหันต์ 1,250 รูป ที่จะเป็นพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา ให้มีวิธีการสอนในแนวทางเดียวกัน ประกอบด้วย
1. การไม่กล่าวร้าย
คือ การเผยแผ่ศาสนา ด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตี ดูถูกความเชื่อของผู้อื่น
2. การไม่ทำร้าย
คือ เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่าง ๆ
3. ความสำรวมในปาติโมกข์
คือ รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส
4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
คือ เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง
5. ที่นั่งนอนอันสงัด
คือ สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
6. ความเพียรในอธิจิต
คือ พัฒนาจิตใจเสมอ ไม่ใช่เอาแต่สอน แต่ตนเองไม่ทำตามที่สอน