Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

6 วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารให้ดีและมีประสิทธิภาพ

Posted By PlookExplorer1 | 01 ส.ค. 64
37,108 Views

  Favorite

       การสื่อสาร หรือ Communication Skill คือทักษะสุดแสนจะสำคัญ ที่ใครยิ่งมีจะถือว่าเป็นจุดแข็งดี ๆ ในการเรียนและการทำงานเลยทีเดียว เพราะการสื่อสารที่ดีทั้งการส่งสารและรับสาร จะช่วยให้เราสามารถแสดงออกถึงความคิด ตัวตนของเราได้ชัดเจน จะช่วยให้ผู้รับ เข้าใจความตั้งใจของเรา ช่วยเพิ่มความแน่นแฟ้นในการทำงานในทีม และยังช่วยสร้างความประทับใจได้ในแทบทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ การสัมภาษณ์งาน หรือการประชุมธุรกิจครั้งสำคัญ 

       ทักษะการสื่อสารนี้ไม่มีเครื่องมือหรือเทคนิคพิเศษใด ๆ ที่จะช่วยพัฒนาได้ เท่ากับการพยายามสังเกตและฝึกฝนไปทีละขั้นด้วยตนเอง โดยก่อนจะเริ่มสร้างทักษะการสื่อสารที่ดีได้ เราต้องรู้จักเป็นนักฟังที่ดี มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย 

shutterstock

 

คราวนี้ มาลองดู 6 วิธีที่จะช่วยบูธทักษะการสื่อสารของเราให้ดีขึ้นกัน

1.เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี 

       การเป็นนักสื่อสารที่ดี ต้องเริ่มต้นการเป็นคนฟังที่ดีก่อน เพราะการสื่อสาร ไม่ใช่เพียงแค่เราเป็นคนส่งสารเพียงอย่างเดียว การเปิดใจให้กว้าง รับฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจ และกระตือรือร้นเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่าเรากำลังฟังอย่างตั้งใจจริง สิ่งเหล่านี้จะทำให้การสื่อสารทั้งสองทางมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นด้วย 

2. ให้ความสำคัญเรื่องภาษากาย

       ในการสื่อสารนั้น ภาษากายเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากในการบ่งบอกถึงอารมณ์ของผู้พูดได้เป็นอย่างดี แม้ไม่มีคำพูดใด ๆ ท่าทีที่อ่อนโยน ใบหน้าที่ขึงขังจริงจัง หรือน้ำเสียงที่ดูแข็งกระด้างล้วนแล้วเป็นการแสดงออกความรู้สึกของเรา การเลือกแสดงออกภาษากายให้เหมาะสม ขณะที่กำลังสื่อสารจึงเป็นเรื่องจำเป็น เช่น การสบตา การใช้มอประกอบการพูด ท่าทีจริงจังต่อหน้าผู้สัมภาษณ์งาน ความขี้เล่นเป็นกันเองในการผูกมิตรใหม่ ในทางกลับกัน เมื่อเราเป็นผู้ฟัง ก็ต้องรู้จักสังเกตสีหน้าและท่าทีของผู้อื่นด้วยเช่นกัน 

3. ทำให้การสื่อสารกระชับและเข้าใจง่าย

       การสื่อสารไม่ว่าจะในช่องทางใดทั้งการพูดต่อหน้า ทางโทรศัพท์ หรือช่องทางที่ต้องอาศัยการพิมพ์ เราควรสื่อถึงประเด็นที่ต้องการพูดอย่างชัดเจน เข้าเรื่องอย่างตรงประเด็นที่สุด และเข้าใจง่ายที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงประมาณคำพูดว่าจะต้องสั้นเสียใจอาจยากเกินเข้าใจ หรือยืดยาวเกินไปจนอาจจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจประเด็นผิดไปได้ การเรียบเรียงสิ่งที่ต้องการจะพูดในหัวของเราก่อน อาจจะช่วยให้การสื่อสารผิดพลาดน้อยลง 

4. จัดการอารมณ์ของตัวเองให้อยู่หมัด 

       หากสื่อสารด้วยอารมณ์ที่เหมาะสมกับบริบทและสิ่งที่ต้องการพูด หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ แม้ว่าตอนนั้นอาจจะรู้สึกโกรธ หงุดหงิดแค่ไหน แต่หากเราแสดงออกในแง่ลบมากจนเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งที่ตามมา ซึ่งอาจยิ่งทำให้การสือสารผิดพลาด หรือเกิดความขัดแย้งขึ้นได้

5. ลองถามความเห็นเรื่องการสื่อสารของเราจากคนอื่น 

        ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะขอความเห็นเรื่อการสื่อสารของคุณอย่างจริงใจจากเพื่อน ครู เจ้านาย คำตอบที่ได้อาจจะช่วยคุณพัฒนาและสร้างความเข้าใจภายในทีมได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นการทะลายกำแพงในการทำงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย  

6. ฝึกฝนการพูดในที่สาธารณะ 

       มันช่างเป็นเรื่องสุดท้าทายมาก ในการที่ต้องพูดหน้าชั้นเรียน ต่อหน้าการประชุมคนนับพัน แต่เชื่อเถอะว่าเราจะไม่สามารถพัฒนาการสื่อสารได้เลย หากเราไม่ฝึกฝนเรื่องนี้ การพูดในที่สาธารณะจะช่วยให้เราเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองได้ชัดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีที่จะทำให้เราพัฒนาได้อย่างตรงจุด 

 

มาตรวจสอบว่าน้องๆ มี การติดต่อสื่อสารการทำงานร่วมกับผู้อื่น แล้วหรือยัง

น้อง ๆ มีลักษณะตามข้อด้านล่างนี้หรือไม่  ใช่ / มีลักษณะแบบนี้ ไม่ใช่/ไม่มีลักษณะแบบนี้
1. มีความสุขที่ได้สนทนากับผู้อื่น    
2. อยู่กับคนหมู่มากได้    
3. มีความสุขในการทำงานเป็นทีม    
4. เข้าใจและรับรู้ในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร    
5. แปลความข้อมูลได้ถูกต้องตามที่ผู้ส่งสารส่งมา    
6. ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่น    

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PlookExplorer1
  • 1 Followers
  • Follow