Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Home > Dhamma >

เมื่อมรณานุสติ มิใช่การแค่คิดถึงความตาย - เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้า จึงพิจารณาทุกลมหายใจเข้าออก

Posted By มหัทธโน | 05 พ.ย. 63
22,502 Views

  Favorite

การเจริญมรณสติ ไม่ใช่คิดถึงความตาย แต่เป็นการเห็นการดับด้วยปัญญา

 

“ยิ่งเราอายุมากขึ้นเท่าใด เราก็จะพบเห็นความทุกข์มากขึ้น เห็นความตายมากขึ้น...”

 

อายุแก่มากเท่าไหร่...คนต้องเจ็บป่วยมากครั้ง...เห็นคนใกล้ชิดทั้งเจ็บและตายอยู่เสมอ

 

 

ความตายยังความเศร้าโศกให้มวลมนุษย์มาตั้งแต่ปฐมกาลถึงปัจจุบัน...

ความตายเป็นสัจจะ

เป็นหน้าที่...ของมนุษย์ทุกคนที่จะหลบเลี่ยงมิได้!

แม้เป็นเช่นนั้น  หากจะมีมนุษย์สักกี่คนที่หวนรำลึกถึง ‘ความตาย’ เป็นคติเตือนใจ

 

วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง
พระอานนท์กราบทูลตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า
พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก...
แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึงความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตาย รู้ตัวว่าจะตายแล้ว
ย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากความชั่ว และมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่ รู้อยู่เสมอแล้วว่าเราต้องตายแน่นอน...
ขอให้ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โปรดค่อยอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด

 

 

“ดูกรอานนท์...เธอรำลึกและพิจารณาถึงความตายมากเท่าใด?” เป็นประโยคที่พระพุทธองค์ทรงดำรัสต่อพระอานนท์เถรเจ้า

“ข้าพเจ้ารำลึกถึงความตายวันละเจ็ดหนพระเจ้าค่ะ...” พระอรหันต์เจ้าผู้ได้ชื่อว่าทรงมีความทรงจำเป็นเลิศที่สุดในหมู่พระสาวกกราบทูล

“ไม่พอหรอกอานนท์”

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบ

“ควรพิจารณาเท่าใดถึงจะพอพระเจ้าค่ะ? ”

“เธอควรพิจารณาถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก...” คือถ้อยรับสั่งแห่งพระผู้บริสุทธิ์จากอาสวกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

ที่กล่าวเกริ่นมานั้น เพื่อเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของธรรมะอีกข้อหนึ่งในพุทธศาสนา ชื่อว่า ... ‘มรณานุสติ’ เรียกว่าพิจารณาถึงความตาย

การพิจารณาถึงความตายอยู่เสมอ มีคุณประโยชน์คือ ทำให้เราเป็นผู้ถึงพร้อมในความไม่ประมาท  เพราะความตายไม่เลือกเวลา-สถานที่ หรืออายุขัยของมนุษย์ ว่าจะมากหรือน้อย คนรวยหรือคนจน...

ในโลกนี้ผู้ก้าวสู่ปรภพมีตั้งแต่อายุไม่กี่วันถึงเป็นร้อยปี...

ที่สำคัญคือ...เราไม่รู้ถึงวันตายของตัวเองว่าจะมาถึงในวินาทีใด?

 

ที่เข้าใจกันส่วนมากคือ การคิดถึง นึกถึง ความตายล่วงหน้า โดยไม่ใช่สภาวะปัจจุบัน การนึกถึงดังกล่าวเป็นการทำสมถะสมาธิอย่างหนึ่ง เป็นแต่เพียงคิดเอา จินตนาการถึงความตายของร่างกายเท่านั้น

 

... ในทางปฏิบัติคือการเห็นธาตุขันธ์หรือสภาวะธรรมมันทำงาน เกิด-ดับ (ไตรลักษณ์)ทุกขณะจิตในปัจจุบันขณะ ไม่ใช่แค่นึกถึงร่างกายหรือคิดถึงความตาย แต่เป็นการเห็นด้วยปัญญาต่อหน้าต่อตาในขณะนั้นๆ 

 

ถ้าเจริญสติปัญญาจนเกิดปัญญาแท้ จะเห็นธาตุขันธ์หรือสภาวะธรรมมันเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-และดับไปตลอดสาย ทางปริยัติเรียกว่า อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ ๔ ของปัญญา ๑๖ ขั้น (โสฬสญาณ)

 

และเมื่อเจริญสติปัญญาจนพัฒนาขึ้นแล้วจะเห็นแต่การดับ(ตาย)ฝ่ายเดียว จิตที่มีปัญญาจะเห็นสภาวะธรรม ดับ ดับ ดับ อย่างเดียว ปัญญาว่องไวจนสัญญายังไม่ทันแปลหรือตีค่า ว่าสิ่งสิ่งนั้นคืออะไร ปัญญาระลึกรู้โดยอัตโนมัติ พอระลึกรู้ก็ มีแต่ดับ ดับ ดับ หายไป ทางปริยัติเรียกว่า ภังคญาณ เป็นญาณที่ ๕ ของปัญญา ๑๖ ขั้น (โสฬสญาณ)

 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าพระอานาท์ ระลึกได้น้อยมาก แค่ ๗ ครั้งใน ๑ วัน โดยปกติธาตุขันธ์หรือสภาวะธรรมมันทำงานตลอดเวลา ตลอด ๒๔ ชม.  ทั้งหลับและตื่น  ตอนหลับ ร่างกายหลับ แต่จิตทำงานด้วยการฝัน เรียกว่าฝันกลางคืน พอตอนตื่นจิตก็ได้แต่คิดตลอดเวลา เรียกว่า ฝันกลางวัน 

 

...ดังนั้นเมื่อเจริญสติปัญญาจนพัฒนาเห็นธาตุขันธ์หรือสภาวะธรรมมันทำงาน ดับ ดับ ดับ...นั้นคือความตายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ตถาคตระลึกถึงความตาย(ความดับ)ทุกลมหายใจเข้าออก หายใจออกก็ดับ(ตาย) หายใจเข้าก็ดับ(ตาย) ธาตุขันธ์หรือสภาวะธรรมมันดับ(ตาย) ไม่ใช่ร่างกายตาย

 

ในที่นี้หมายถึงญาณปัญญา ไม่ใช่ฌานสมาธิ

ญาณ เป็นเรื่องของปัญญา ฌาน เป็นเรื่องของสมาธิ

 

 

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ตติยปฏิปทาสูตรที่ 3 [170] มาให้ได้พิจารณาเพิ่มเติมซึ่งมีใจความว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐ ชื่อนาทิกะ ตรัสกับหมู่ภิกษุที่เข้าเฝ้าฟังธรรมอยู่ในขณะนั้นว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณสติหรือหนอฯ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมเจริญมรณสติฯ”

พระผู้มีพระภาค : ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร ฯ

 

ภิกษุรูปที่ 1 : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล ฯ

หลังจากที่ภิกษุรูปที่ 1 กราบทูลพระผู้มีพระภาคแล้ว ภิกษุรูปอื่น ๆ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงความคิดของตนในการเจริญมรณสติ ดังนี้

ภิกษุรูปที่ 2...พึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง…
ภิกษุรูปที่ 3…พึงเป็นอยู่เพียงครึ่งวัน…
ภิกษุรูปที่ 4…พึงเป็นอยู่เพียงชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง…
ภิกษุรูปที่ 5…พึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง…
ภิกษุรูปที่ 6…พึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าว 4-5 คำแล้วกลืนกิน…
ภิกษุรูปที่ 7…พึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้คำหนึ่งแล้วกลืนกิน

ภิกษุรูปที่ 8…พึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้า หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow