วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถือเป็นวันสารทไทย และ เป็นวันแซนโฎนตา สำหรับชาวไทยเชื้อสายเขมร ในจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ เป็นพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มาทำความรู้จัก วันนี้ในแต่ละภูมิภาคกันค่ะ
ต้นกำเนิดของ "สารทไทย" ในประเทศไทยการทำบุญวันสารทมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์แพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีวันสารทมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กิจกรรมในวันสารทไทยกิจกรรมหลัก ๆ ของวันสารทไทย คือ การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการตักบาตรมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ตักบาตรน้ำผึ้งที่มีเฉพาะชาวไทยมอญ
การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่า เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีการฟังธรรมเทศนา ถือศีล ปล่อยนกปล่อยปลา ![]() ประเพณีภาคใต้มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10 เป็นสองวาระคือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง และ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะมีความสำคัญมากกว่า การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกเป็น 4 อย่างคือ 1. ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก
3. ประเพณีจัดหมรับ (อ่านว่า หมับ แปลว่า สำรับ) การยกหมรับ และการชิงเปรต คำว่า จัดหมรับ ได้แก่ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อ ๆ
การยกหมรับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัด พร้อมทั้งภัตตาหารไปถวายพระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล จะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้ บางแห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย
กล่าวคือ เมื่อจัดหมรับ ยกหมรับไปถวายพระภิกษุแล้วจะเอาอาหารที่จัดไว้ ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรต โดยมากเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่
แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง โดยหมายถึงจะให้เป็นแพฟ่อง ล่องลอยพาบรรพชนล่วงข้ามสังสารวัฏ, ขนมลา ให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม, ขนมกง หรืองบางทีก็ใช้ขนมไข่ปลา ให้เป็นเครื่องประดับ, ขนมดีซำ ให้เป็นเบี้ยไว้ใช้สอย ขนมบ้า ให้บรรพชนใช้เป็นลูกสะบ้าสำหรับเล่นรับสงกรานต์
สถานที่ตั้งอาหารเป็นร้านสูงพอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา (ศาลา) เปรตมีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล ซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พอเก็บสายสิญจน์แล้ว ก็จะมีการแย่งอาหาร และขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนาน เรียกว่า ชิงเปรต แล้วนำมากิน ถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคล
การทำบุญด้วยวิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่า การฉลอง หมรับและบังสุกุล ถือว่าสำคัญ เพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย ซึ่งต่อมาได้มีการจัดเป็นแถวรอรับเพื่อความเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเนื่องจากการแย่งชิงกัน
4. ประเพณีทำบุญตายาย หรือประเพณีรับ-ส่งตายาย โดยถือคติว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับนรกตามเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 แต่มีบางแห่งถือว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วเหล่านี้เป็นต ายาย เมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่านกลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า ทำบุญตายาย
แซนโฎนตาจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ จะมีงานสำคัญที่เรียกว่า ประเพณี “แซนโฎนตา” หรือพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ความหมายของคำว่า แซนโฎนตาแซนโฎนตา เป็นภาษาเขมร แปลตามหลักภาษาศาสตร์ คำว่า แซน ภาษาไทยน่าจะตรงกับคำว่า เซ่น หมายถึง การเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า โฎนตา แยกเป็น 2 คำ คำว่า โฎน หมายถึงยาย หรือย่า ส่วน ตา หมายถึงปู่ หรือตา
ถ้าในภาษาไทยก็น่าจะใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ หรือญาติโกโหติกา นั่นเอง
มีแค่ปีละครั้งเท่านั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมานานกว่า 1,000 ปี ของชุมชนชาวพื้นเมืองเชื้อสายเขมร ทั้งสุรินทร์และศรีสะเกษ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิด และหมายรวมทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครด้วย
เรื่องเล่า ถึงทีี่มาของแซนโฎนตาเล่ากันว่า สมัยก่อนพอถึงช่วงเทศกาลแซนโฎนตา ในช่วงกลางคืน จะได้ยินเสียงคนคุยกันที่ใต้ถุนเรือน เมื่อมองลอดช่องพื้นกระดานลงไปจะเห็นคนผมหงอก ผมดำ นั่งผิงไฟคุยกัน แต่ฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดภาษาอะไร
คนเฒ่าคนแก่บอกว่านั่นคือ “ขม๊อจโฎนตา” หรือผีปู่ย่าตายาย ที่เทวดาท่านปล่อยให้มาเยี่ยมลูกหลานและรับส่วนบุญกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตานั่นเอง
ประเพณี จูนโฎนตานอกจากการไหว้ผีในพิธีแซนโฎนตาแล้ว ยังมีประเพณีย่อยในช่วงนี้อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ประเพณี จูนโฎนตา ที่บรรดาลูกหลานญาติพี่น้องจะกลับมาบ้านมาไหว้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และจะนำเอามะพร้าว ข้าวสารเหนียว ขนมต่าง ๆ มามอบให้ รวมทั้งเงินทอง เพื่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปใช้ทำบุญในประเพณีแซนโฎนตา
หากพ่อแม่ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพและมอบข้าวของเงินทองให้ เช่นเดียวกัน
ของเซ่นไหว้กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า เสื้อผ้าใหม่ ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ
พร้อม แป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก, สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม ไก่ต้ม
และขนมไทยและขนมเขมร หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู, ข้าวต้มมัด, ขนมเทียน, ขนมใส่ไส้, ขนมกันกันเตรือม, ขนมกันตางราง, ขนมนางเล็ด, ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ และขนมข้าวพอง เป็นต้น
โดยของเซ่นไหว้ที่สำคัญของประเพณีนี้คือ ข้าวต้มมัด หรือที่ภาษาเขมรเรียกว่า “บายเบ็ณฑ์” ซึ่งหมายถึงข้าวที่ปั้นเป็นก้อนเพื่อใช้ใส่บาตรพระเป็นขนมที่ทำจากข้าวใหม่ที่เพิ่งออกรวง
|