Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

คาร์โบไฮเดรตส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

Posted By Amki Green | 15 พ.ค. 63
18,387 Views

  Favorite

เราทราบกันดีว่า อาหารหลักมีทั้งหมด 5 หมู่ และหมู่ที่เรารู้จักกันดีก็คือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล คาร์โบไฮเดรตช่วยให้เรามีพลังงานในการดำเนินชีวิต แต่คาร์โบไฮเดรตคืออะไร เรามารู้จักให้มากขึ้นค่ะ


คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คืออะไร

คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย เป็นสารอาหารที่พบได้ในอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล เส้นใยอาหาร เช่น ธัญพืชต่าง ๆ ถั่ว ข้าวโพด มันฝรั่ง เป็นต้น คาร์โบไฮเดรตถูกใช้เพื่อเป็นพลังงานในแต่ละวัน เมื่อคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานที่ร่างกายเราใช้ต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย โดยเฉพาะสมองและเม็ดเลือดแดง เราจะสังเกตว่าหากมื้อเช้าเราไม่รับประทานอาหารเช้าจะไม่มีแรง คิดอะไรไม่ค่อยออก เนื่องจากไม่มีพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง

 

คาร์โบไฮเดรตมีกี่ประเภท

คาร์โบไฮเดรตมี 2 ประเภท ได้แก่

1. คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbs) คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานเร็ว มักพบในอาหารที่ถูกปรุงแต่งหรือผ่านการขัดสี เช่น น้ำตาลทรายขาว หรือพบในอาหารที่มีน้ำตาล เช่น คุกกี้ ลูกอม น้ำอัดลม ซึ่งเป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง แต่คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่มีคุณค่าทางสารอาหารที่ควรรับประทาน เช่น นม ผลไม้

ภาพ : Shutterstock

 

2. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbs) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือขัดสี เช่น อาหารที่มีเส้นใยอาหารและแป้ง เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ผักต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมีวิตามินและแร่ธาตุสูง อาหารที่มีเส้นใยสูงช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร การขับถ่าย จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังลดน้ำหนักเนื่องจากเป็นอาหารที่ทำให้อิ่มได้เป็นเวลานาน

ภาพ : Shutterstock

 

หากรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อเรารับประทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไป แป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล ซึ่งใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย แต่หากได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิด โรคอ้วน รวมถึงทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดโรคเบาหวานตามมา  ดังนั้น การรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสให้เหมาะสมกับร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ และการที่น้ำตาลในเลือดสูงยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ การทำงานของระบบประสาทแย่ลง เป็นต้น

ภาพ : Shutterstock

 

สำหรับค่าดัชนีที่ใช้วัดคุณภาพของคาร์โบไฮเดรต เรียกว่า ดัชนีไกลซีมิก (Glycemic Index : GI) เป็นค่าที่บอกเราว่าหลังจากรับประทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปแล้วนั้น ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้เร็วแค่ไหน และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากเรารับประทานอาหารที่มีค่าไกลซิมิกสูงอย่างน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลกลูโคสในปริมาณมาก ก็จะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามไปด้วย  ดังนั้น เราจึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีไกลซิมิกต่ำ อาหารที่มีไกลซิมิกต่ำ เช่น อาหารประเภทที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวโพด เป็นต้น
       

คาร์โบไฮเดรตเป็นหมู่อาหารที่ให้พลังงานในการดำรงชีวิต แต่เราควรเลือกบริโภคให้อย่างพอเหมาะด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในอนาคตนะคะ

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประเภทของน้ำตาลกับความหวานที่ปลอดภัย
- ระบบย่อยอาหาร
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Amki Green
  • 14 Followers
  • Follow