Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

มารู้จัก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และบทสวดโองการแช่งน้ำ พระราชพิธีศักดิ์สิทธิ์แสดงถึงความจงรักภักดี ซึ่งยากจะเห็นสักครั้งในชีวิต

Posted By มหัทธโน | 08 เม.ย. 62
74,744 Views

  Favorite

 

พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ 

ฤกษ์มงคล 6 เม.ย. ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ 108 แหล่งทั่วประเทศ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ปวงชนชาวไทยทั่วประเทศเริ่มรู้จักพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศพร้อมกัน จากแหล่งน้ำ 108 แหล่ง อันเป็นที่มาของการทำความรู้จักพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หนึ่งในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นับว่าเป็นโอกาสยากที่สักครั้งในชีวิตจะได้มีส่วนร่วมกับหนึ่งในพิธีศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งหนึ่งในพิธีการสำคัญที่หาดูได้ยากมากคือ "พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา"

 

ทำความรู้จักพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีพระราชพิธีใหญ่และศักดิ์สิทธ์ของแผ่นดิน

พิธีถือน้ำ หมายถึง “พระราชพิธีอันเป็นมงคลแห่งความซื่อสัตย์ที่ใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนด”เป็นพิธียิ่งใหญ่ที่สืบทอดมาแต่โบราณที่แสดงถึงความจงรักภักดีอย่างหนักแน่น ต่อองค์พระเจ้าแผ่นดินผู้เปรียบเป็นสมมติเทพ จัดขึ้นเพื่อให้บรรดาทหารและข้าราชการใต้ปกครองเข้าร่วม เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน โดยการดื่มน้ำที่ผ่านพิธีปลุกเสกแล้ว พร้อมกล่าวคำสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์ไม่คดโกง จงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และบ้านเมือง อันเป็นแผ่นดินแม่แดนกำเนิดของตน 

 

ที่มา : เพจพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
สืบค้นจาก https://bit.ly/2WQFUdt เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62


เป็นการถือน้ำหรือพิธีดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระเจ้าแผ่นดิน
 

ตัวสะกดที่ถูกต้องแต่เดิมคือ "น้ำพระพิพัทธ์สัตยา"

"พัทธ" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผูกมัด" 
สัตยา" น่าจะมาจากคำว่า "สัตฺยปาน" 
ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "น้ำสัตยสาบาน"
ในรูปภาษาบาลีคือ "สัจจปาน" ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่า "พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล" 
"ปานะ" แปลว่า "เครื่องดื่ม" หรือ "น้ำสำหรับดื่ม"

ต่อมาคำว่า "พิพัทธ์สัตยา" เปลี่ยนไปเป็น "พิพัฒน์สัตยา"

ซึ่งถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ กระทำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดี ไทยได้แบบอย่างมาจากขอม ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง


รายละเอียดพิธีกรรมอันแสนศักดิ์สิทธิ์

พิธีกรรมที่ทำคือทำพิธีให้น้ำศักดิ์สิทธิ์ (น้ำพิพัฒน์สัตยา) แล้วนำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้มาตั้งในพิธี แทงอาวุธลงในน้ำ ให้บรรดาผู้ที่ทำพิธีดื่มน้ำเพื่อสาบานตนว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ ก็ให้มีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

 

ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบาน

ได้แก่

- ข้าราชการประจำ

- ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

- ทหารที่ถืออาวุธ

 

ในอดีต การถือน้ำฯของข้าราชการประจำทำปีละ 2 ครั้ง คือในเดือน 5 ขึ้น 3 ค่ำ และในเดือน 10 แรม 13 ค่ำ โดยเป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มีเว้นว่าง  จนเลิกไปเมื่อถึงยุคสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

 

มาฟื้นฟูอีกครั้งในรัชกาลที่ 9 โดยผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2512

 

วัตถุประสงค์สำคัญ 

เพื่อหวังจะหล่อหลอมกล่อมขวัญของบรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ตั้งหน้าปฏิบัติราชการแผ่นดินแต่ในทางที่ถูกที่ควร

 

ที่มา : เพจพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สืบค้นจาก https://bit.ly/2WQFUdt เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62

 

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 

โดยในปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แต่เรียกว่า “พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี” เนื่องจากผนวกรวมพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเข้ากับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยผู้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพิธีครั้งนี้มีเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้น
 

หลังจากการพระราชพิธีเมื่อปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาผนวกกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีขึ้นอีก 8 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2516  พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2520 พ.ศ.2522 พ.ศ. 2523  พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2533 และพ.ศ. 2549


บทสวดโองการแช่งน้ำ

โองการแช่งน้ำเป็นบทสวดที่ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ให้ข้าราชบริพารมาสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกษัตริย์ มิฉะนั้นจะมีอันเป็นไปด้วยเหตุร้ายต่าง ๆ

"โองการ" แปลว่า คำศักดิ์สิทธิ์, คำประกาศของพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า..."โอมการ"

 

เนื้อหาบทสวดโองการแช่งน้ำ

แบ่งเป็น 4 ส่วน

ส่วนที่ 1

ร่ายนำ 3 บท สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม โดยอธิบายลักษณะของแต่ละองค์ให้เห็นชัด แล้วลงท้ายด้วยการแทงศรศักดิ์สิทธิ์แต่ละเล่มลงไปในน้ำที่ใช้ดื่มเพื่อทำพิธี

 

ส่วนที่ 2

กล่าวย้อนไปถึงความเป็นมาของโลก ที่เชื่อกันว่าโลกจะแตกดับเป็นคราว ๆ ก่อนพระพรหมสร้างขึ้นมาใหม่ เริ่มต้นด้วยไฟบรรลัยกัลป์มาล้างโลกใบก่อน

 

ส่วนที่ 3

เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยานและลงโทษผู้ทรยศการถือน้ำ คือ พระรัตนตรัย เทพ ภูติผีปีศาจ มองในเชิงสังคม

เป็นส่วนผสมของ 3 ศาสนา คือ พุทธศาสนา พราหมณ์ (ฮินดู) และความเชื่อพื้นเมือง (ผี) เพราะมีทั้งพระนารายณ์ พระศิวะ พระพรหม มีแม้แต่พระรามพระลักษณ์ ส่วนผีพื้นเมืองก็คือเจ้าป่า (ภูติพนัสบดี) ศรีพรหมรักษ์ ยักษ์กุมาร ซึ่งพบในลิลิตพระลอ เป็นผีดั้งเดิมในถิ่นแหลมทอง

 

ส่วนที่ 4

เป็นแจกแจงรายละเอียดการลงโทษอย่างพิลึกน่าสะพรึงกลัว ด้วยการตายในสารพัดรูปแบบ และการให้รางวัลผู้ซื่อสัตย์ด้วยดี เช่นการปูนบำเหน็จรางวัลและยศศักดิ์

 

 ผลของการผิดคำสาบาน

ข้อปฏิบัติดังกล่าว ระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่าเป็นกบฏ คือโทษใกล้ความตาย หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ ก็ให้มีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

แหล่งข้อมูล
เพจประวัติศาสตร์ สยาม สืบค้นจาก https://web.facebook.com/140951349398368/posts/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%91%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-%E0%B9%97%E0%B9%92%E0%B9%90-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82/140953402731496/?_rdc=1&_rdr เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62
ฤกษ์มงคล 6 เม.ย. ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ 108 แหล่งทั่วประเทศ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/court-news/news_1436747 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62
ความสำคัญและประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สืบค้นจาก https://web.facebook.com/notes/smile-trip/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2/316891111683345/?_rdc=1&_rdr เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62
ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีศักดิ์สิทธิ์ที่
ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 62
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow