Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ข้อควรรู้เกี่ยวกับหลักสูตรปรับใหม่ของนิเทศ จุฬาฯ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้า

Posted By Plook TCAS | 24 เม.ย. 61
10,993 Views

  Favorite
          ข่าวดี !  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับหลักสูตรใหม่แล้ว โดยจะเริ่มใช้หลักสูตรนี้ในปี 2561 น้องมัธยมปลายคนไหนสนใจจะเข้าศึกษาในคณะนิเทศ จุฬาฯ ควรรีบเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงนี้ไว้ก่อน โดยเฉพาะน้อง ๆ รุ่นที่จะได้ประเดิมใช้หลักสูตรนี้เป็นรุ่นแรกอย่าง รุ่น TCAS61
 
          หลังจากได้มีข่าวออกมาว่า นิเทศ จุฬาฯ มีการปรับหลักสูตรใหม่ พี่รุ่นก่อน ๆ หลายคนถึงกับเสียดายที่เกิดมาเร็วเกินไป ซึ่งถ้าอยากรู้ว่าความพิเศษของหลักสูตรใหม่นิเทศ จุฬาฯ ปี 61 นี้มีอะไรบ้าง วันนี้พี่ ๆ สรุปมาให้น้อง ๆ เข้าใจกันเบื้องต้นแล้ว 
 

1. 5 ภาค 7 สาขา เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือโครงสร้างใหม่ เนื้อหาใหม่ และชื่อใหม่

เด็กนิเทศ จุฬาฯ ภาคปกติ (ภาคไทย) ทุกคนจะต้องเลือกสาขาวิชาที่จะเป็นวิชาเอก (1 สาขา) และวิชาโท (1 หรือ หลายสาขา) โดยมี 7 สาขาวิชาให้เลือกได้ตามใจชอบ ดังนี้ 
- สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ (Journalism, Information and New Media : JN) 
- สาขาวิชาการออกแบบและผลิตสื่อ (Media Design and Production : MD)
- สาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า (Advertising and Brand Communication : ABC) 
- สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations : PR)
- สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง (Motion Pictures and Still Photography)
- สาขาการสื่อสารการแสดง (Performing Arts)
- สาขาวิชาวาทนิเทศ (Speech Communication : SP)
 
         ส่วนในแต่ละสาขาก็มีการปรับรายวิชาเรียนให้มีความทันสมัยต่อยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีก เช่น วิชา Digital Marketing for Advertising and Brand Communication ของสาขาวิชาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า ซึ่งบอกได้เลยว่า น้อง ๆ จะได้เรียนและฝึกฝนทักษะที่จะสามารถเอาไปใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานจริงได้อย่างแน่นอน
 

2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น 

- ก่อนแยกเข้าสาขา จะไม่มีการกำหนดวิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อนเข้าสาขาแล้ว สามารถเลือกเรียนรายวิชาเลือกในในกลุ่มวิชาชีพพื้นฐานของคณะ และกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยได้อย่างอิสระ
 
- สามารถเลือกวิชาของสาขาอื่นมาเรียน และคิดหน่วยกิตในสาขาวิชาเอกได้ หากวิชานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของการคิดหน่วยกิตแทน 
 
- มีการจัดกลุ่มรายวิชาในสาขาวิชาเอกให้ เพื่อแยกประเภทของเนื้อหาที่น้อง ๆ สนใจ และเป็นแนวทางในการจัดตารางเรียน เช่น 
สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารตราสินค้า (ABC) จะแบ่งวิชาเป็น 
  กลุ่มวิชาความคิดสร้างสรรค์ 
  กลุ่มวิชาการสื่อสารเพื่อการสร้างตราสินค้า 
สาขาวิชาสื่อสารการแสดง (PA) จะแบ่งเป็น
  กลุ่มวิชาการแสดงและกำกับการแสดง 
  กลุ่มวิชาการเขียนบท 
  กลุ่มวิชาการออกแบบและสร้างสรรค์การแสดง

- สาขาวิชาโท ถ้าหากไม่อยากเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่ง สามารถเลือกวิชาเรียนกลุ่มวิชาโทที่สนใจจากหลาย ๆ สาขาได้
 
- สามารถเลือกเรียนวิชาโทนอกคณะได้ด้วย เช่น อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา 
 
- น้อง ๆ ต่างคณะ สามารถมาเรียนกลุ่มวิชาโทในคณะได้ด้วย โดยมีให้เลือกแบบ กลุ่มวิชาโทนิเทศศาสตร์ (6 รายวิชา) หรือ กลุ่มวิชาโทแยกเป็นสาขา (3 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ (JN) สาขาวิชาวาทนิเทศ (SP) และ สาขาวิชาสื่อสารการแสดง (PA) 
 

3. เข้มข้น ลงลึก เน้นฝึกฝนประสบการณ์

หลายคนบอกว่า เด็กนิเทศ จุฬาฯ เรียนแต่ทฤษฎี ได้เรียนปฏิบัติน้อย หลักสูตรใหม่นี้จัดให้ใหม่

- เรียนให้รู้ลึก รู้จริงกันไปเลย 3 ปี ! เพราะน้อง ๆ จะได้เข้าภาคตั้งแต่ ปี 2 เทอม 1
 
- เพิ่มโอกาสในการฝึกฝนประสบการณ์จริง ด้วยการเพิ่มระยะเวลาฝึกงานเป็น 400 ชม. หรือประมาณ 4 เดือน 
 

4. แลกเปลี่ยนต่างประเทศก็ได้

- ใครสนใจไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ด้วย (หลังจากแยกเข้าสาขาวิชาแล้ว)
 
          นี่เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ  http://www.commarts.chula.ac.th/th-th/index.html หรือ ที่เฟซบุ๊คเพจ นิเทศจุฬาฯ พาไปไหน https://www.facebook.com/nitadecu.gogo/?ref=br_rs เพราะนอกจากหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติที่ปรับใหม่แล้ว ยังมีอีก 4 หลักสูตรที่ปรับใหม่เช่นกัน และสุดท้ายนี้ ขอให้น้อง ๆ รุ่น TCAS61 ทุกคน สมหวังในสิ่งที่ตัวเองตั้งใจและปรารถนาทุกคนนะจ๊ะ 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow