สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ อยากเข้าคณะอะไรกันคะ ? ถ้าเพื่อน ๆ ยังไม่แน่ใจว่าอยากจะเข้าคณะอะไร หรืออาจจะมีคณะในฝันแล้ว แต่อยากรู้ว่าจริง ๆ แล้วคณะนี้เป็นอย่างไร การไป ”เข้าค่าย” ที่จัดขึ้นโดยพี่ ๆ คณะของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับคณะนั้นมากขึ้นค่ะ
แน่นอนว่าค่ายของหลายคณะที่จัดขึ้นนั้น มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ทำให้พี่ ๆ ค่ายต้องคัดเลือกเด็กที่จะมาเข้าร่วมค่ายจากใบสมัคร วันนี้เลยมีทริคดี ๆ เกี่ยวกับการ "เขียนใบสมัครค่าย เขียนยังไงให้ติด" มาบอกเพื่อน ๆ กันค่ะ โดยรวบรวมมาจากพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่มีประสบการณ์การเขียนค่ายที่ช่ำชอง เขียนสิบค่าย ติดสิบค่าย! ว่างั้นเลยก็ได้ค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าพี่ ๆ เหล่านั้นมีเทคนิคอะไรกันบ้าง
เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่าเล่นใหญ่นี่หมายความว่าอย่างไร เล่นใหญ่ในที่นี้ก็อย่างเช่น วาดรูปหน้าซองจดหมายที่ส่งสมัครค่าย หรือถ้ามีบางคำถามให้วาดรูปต่าง ๆ ก็วาดแบบเล่นใหญ่เลยลงสีให้สวยงาม เพราะมันจะโดดเด่นสะดุดตาพี่ค่าย พวกพี่ๆค่ายก็จะรู้สึกสนใจแล้วคิดว่า เฮ้ย ! อยากให้เด็กคนนี้มาค่ายจัง !
เช่นพวกคำถามที่ทดสอบความรู้ต่าง ๆ เราควรจะหาข้อมูลและนำมาตอบคำถามให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเพื่อนคนนึง หาข้อมูลคำถามนั้นไม่เจอ เลยวาดรูปกับเนื้อเพลงควายไป(…) เลยนกค่ายนั้นไป บอกได้เลยว่าเสียดายแทนมาก ๆ ไม่ควรจะทำแบบนั้น เราควรรู้ว่าอันไหนจริงจัง อันไหนเล่นได้
แน่นอนว่าหากเราเขียนใบสมัครด้วยลายมือที่อ่านง่าย สบายดีตา ก็ทำให้ใบสมัครของเรานั้นน่าสนใจมากขึ้น เพราะแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจเขียน ระหว่างใบสมัครที่ลายมืออ่านง่ายกับอ่านยาก พี่ค่ายย่อมรู้สึกอยากอ่านอันที่อ่านง่ายมากกว่าอยู่แล้ว
เราอาจตอบแบบจริงจังในข้อที่ถามแบบจริงจัง ส่วนข้อไหนตอบเฮฮาได้ก็ตอบไป อาจจะตอบแบบแหวกแนว หรือไม่ก็อาจจะตอบทั้งจริงจังและเฮฮาในคำถามเดียวเลยก็ได้ เพราะมันน่าสนใจกว่าที่จะตอบแต่จริงจังอย่างเดียวหรือตอบเฮฮาอย่างเดียว
ควรตอบแบบแสดงให้พี่เค้าเห็นถึงตัวตนของเราจริง ๆ เวลาตอบคำถามไม่ต้องคิดอะไรมาก ตอบไปตามความจริง ไม่ควรลอกคำตอบจากอินเตอร์เน็ตในคำถามที่เกี่ยวกับความคิดเห็นส่วนตัว ตอบแบบสร้างสรรค์ไม่ซ้ำใคร
การไปเข้าค่าย นอกจากจะได้รู้ว่าคณะนั้น ๆ เป็นอย่างไร เรียนเกี่ยวกับอะไรแล้ว เรายังได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้พบเจอกับเพื่อนใหม่ ๆ ได้พูดคุยกับรุ่นพี่คณะที่เราอยากเข้า โดยเราอาจถามถึงแนวทางการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะนั้นๆจากเหล่ารุ่นพี่ หรือถ้าหากเราได้ลองเข้าค่ายในคณะนั้น ๆ แล้วพบว่าไม่ใช่ทาง จะได้ลองดูคณะอื่น ๆ ต่อไป ดีกว่ามาพบทีหลังว่าคณะนี้มันไม่ใช่หลังจากที่เข้ามาเรียนแล้ว
ทั้งหมดนี้คือทริคบางส่วนจากพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่ติดค่ายหลายๆคนที่เรารวบรวมมา เพื่อน ๆ อาจจะนำทริคเหล่านี้มาปรับใช้ในการเขียนใบสมัครค่ายของตนเองก็ได้ค่ะ แต่ถ้าสมัครไปแล้วไม่ติดค่ายก็อย่าเครียดนะคะ เราเขียนไม่ติดค่ายคณะที่เราอยากเข้าไม่ได้หมายความว่าเราไม่ติดคณะที่เราอยากเข้าเนอะ ส่วนเพื่อน ๆ ที่ติดค่ายก็ยินดีด้วยค่า ได้ไปหาเพื่อนใหม่ ไปหาประสบการณ์ ไปเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ทุกคนค่า วันนี้ขอลาไปแล้ว สวัสดีค่า
เรื่อง : ชญานิศ ฉายประเสริฐกุล