ตัวเรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่ทำด้วยไม้สัก เช่น โครงหลังคา ฝา พื้นห้องนอน พื้น ระเบียง ส่วนเสาและพื้นชานใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง เป็นต้น
เรือนประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ใช้ไม้ทองหลางวางขวางกับปลายเสาทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับน้ำหนักจากกงพัดถ่ายลงดิน ลักษณะการทำงานเหมือนกับฐานรากของอาคารปัจจุบันเพื่อป้องกันเรือนทรุด
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร สอดในรูซึ่งเจาะไว้ที่โคนเสาเรือนหรือจะใช้คู่ตีขนาบขวางกับเสาโดยบากเสาให้เป็นบ่ารองรับยึดด้วยสลักไม้แสมเส้นผ่านศูนย์กลางสลักประมาณ ๒.๐๘๓ เซนติเมตร (๑ นิ้วไทย) ปลายทั้งสองของกงพัดวางอยู่บนงัวทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากเสาลงสู่งัว
คือ แผ่นไม้กลมแบนขนานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๐-๕๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร ทำด้วยไม้ทองหลางวางที่ก้นหลุม ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากเสาลงสู่พื้นดินเพื่อป้องกันเรือนทรุด
คือ ไม้ท่อนกลมยาวตลอดลำต้นโคนเสามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ปลายเสาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เต็งรัง มะค่า แดง เสาต่าง ๆ ที่จะนำมาเป็นเสาเรือนต้องเป็นเสาที่ดีมีตาเสาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องถูกโฉลกการเจาะรูเสาเพื่อใส่รอดหรือใส่เต้าก็ต้องมีวิธีที่ถูกต้องในการวัดเพื่อที่จะได้ทำให้เจ้าของเรือนอยู่เย็นเป็นสุข
๔.๑ เสาหมอ คือ เสาที่ใช้รองรับรอด รา และพื้นที่บางแห่งที่บริเวณนั้นทรุดหรือผุ มีขนาดเล็กกว่าเสาจริงเล็กน้อยและมีช่วงสั้น เสาหมอมีระยะความสูงจากพื้นดินถึงระดับใต้พื้น
๔.๒ เสานางเรียง คือ เสารองรับหลังคากันสาดที่ยื่นออกมามากในกรณีที่ไม่ใช้ไม้ค้ำยันก็ใช้เสานางเรียงแทนอยู่ทางด้านข้างของเสาเรือน
๔.๓ เสาเอก คือ เสาต้นแรกของเรือนที่จะยกขึ้นซึ่งเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์ มีการกำหนดฤกษ์ยามทิศทางตามแต่หมอจะเป็นผู้ดูให้
๔.๔ เสาโท คือ เสาที่ยกขึ้นเป็นอันดับที่สองรองจากเสาเอกแต่การยกต้องเวียนไปทางขวามือเสมอ
๔.๕ เสาตรี (เสาพล) คือ เสาทั่วไปที่นับเวียนขวาเลยเสาเอกและเสาโทไปแล้ว
๔.๖ เสาตอม่อ คือ เสาจากใต้ระดับพื้นดินถึงระดับพื้นชานเป็นเสาที่ไม่เลยจากพื้นขึ้นไป
คือ ไม้เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตรใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง รอดนี้ทำหน้าที่รองรับพื้นนั่งอยู่บนเสาที่เจาะทะลุกึ่งกลางทั้ง ๒ ด้าน และยื่นเลยเสาออกไปข้างละประมาณ ๒๐-๒๕ เซนติเมตร โครงสร้างสมัยปัจจุบันเรียกว่า คาน
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับรอดแต่แขวนอยู่กับพรึงช่วยให้พื้นแข็งไม่ตกท้องช้าง (ตกท้องช้าง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่มีน้ำหนักมากถ่วงลงเกินควร)
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๔x๕ เซนติเมตร ระยะห่างประมาณ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง มะค่า แดง วางพาดระหว่างช่วงรอดถ้าเรือนปูพื้นขวางและมีตงมักไม่ใช้รา เรือนบางหลังหาไม้พื้นยาวไม่ได้ต้องใช้ไม้พื้นสั้นปูขวางกับตัวเรือนจึงจำเป็นต้องมีตงมารองรับ
คือ ไม้สักสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่รัดเสาส่วนที่ติดกับพื้นทั้งสี่ด้านด้วยตะปูจีนให้อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดและทำหน้าที่รับฝาตลอดทุกด้าน นอกจากนี้พรึงยังนั่งอยู่บนปลายรอดทางด้านยาวของเรือนและทำหน้าที่รับน้ำหนักจากราอีกด้วย
ไม้สักเหลี่ยมแบนขนาดประมาณ ๕x๔๐, ๕x๔๕, ๕x๕๐ เซนติเมตร เรือนไทยนิยมใช้ไม้พื้นกว้างมากปูบนตงหรือบนรอดเพื่อเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ระหว่างแผ่นต่อแผ่นของพื้นมีเดือยไม้แสมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เซนติเมตร ตอกยึดพื้นระยะห่างระหว่างเดือยประมาณ ๑-๒ เมตร บางช่างใช้เดือยแบนขนาด ๑ x ๒.๕ เซนติเมตร เรียกว่า ลิ้นกระบือ สำหรับพื้นที่ใช้ปูนอกชานนั้นควรปูเว้นร่องให้น้ำไหลผ่าน ห่างประมาณ ๑ เซนติเมตร เพื่อป้องกันพื้นผุ
คือ ไม้ทุกชนิดขนาด ๓.๕x๓.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร รูปร่างโค้งงอคล้ายฝักมะขามตอกติดกับเสาใต้พื้นเรือนทำหน้าที่รองรับแผ่นไม้พื้นที่ชนกับเสาและขาดจากกันไม่มีส่วนของรอดรองรับจึงใช้ฝักมะขามรับพื้นแผ่นนี้แทนรอด
คือ ผืนผนังที่ประกอบกันเข้าเป็นแผ่นจากชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของไม้หรือจากใบไม้บางชนิดโดยมีโครงขอบฝาเป็นไม้จริงหรือไม้ไผ่มีหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกหุ้มที่ว่างภายในห้องทำให้เกิดขอบเขตขึ้น ฝาส่วนด้านสกัด (ด้านขื่อ) หัวท้ายเรียกฝาทั้งแผงว่า ฝาอุดหน้ากลองหรือฝาหุ้มกลอง ส่วนฝากั้นห้องภายในระหว่างห้องนอกกับห้องโถงเรียกว่า ฝาประจันห้องจะเป็นฝาของห้อง ฝาของระเบียง หรือฝาของชานก็ดี เท่าที่สำรวจได้มีดังนี้ ฝา ปะกน ฝาปะกนกระดานดุน ฝาลูกฟัก ฝาลูกฟัก กระดานดุน ฝาสายบัว ฝาสายบัวกระดานดุน ฝาสำหรวด (ใบเตย) ฝากระแชงอ่อน ฝาขัดแตะ ฝากระดานเรียบ ฝาถังหรือฝาเฟี้ยม และฝาลำแพน
คือ ส่วนหนึ่งของหลังคาที่ยื่นออกไปโดยรอบลดระดับจากหลังคาลงมาและทำมุมน้อยกว่าหลังคาประกอบด้วย จันทันกันสาด แป กลอน วัสดุมุงปลายจันทันข้างหนึ่งตอกยึดอยู่กับเต้าด้วยสลักไม้ (ค้างคาว) อีกข้างหนึ่งรองรับด้วยไม้ค้ำยันหรือเสานางเรียง ทำหน้าที่กันแดดส่องและฝนสาด
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร โดยสอดทะลุเสาห่างจากปลายเสาประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ ยื่นจากเสาออกไปรับน้ำหนักเชิงชายและปลายของหลังคาและเป็นที่ยึดเกาะของจันทันกันสาด เต้าที่อยู่ตามมุมเรือนมี ๒ ตัว เรียกว่า เต้ารุม เต้าที่ไม่อยู่ตรงมุมและมีตัวเดียวเรียกว่า เต้าราย เต้าจะมีปลายข้างหนึ่งเล็ก โคนใหญ่เมื่อสอดเต้าผ่านเสาที่เจาะรูพอดีกับเต้าเสาและเต้าจะได้ระดับและแน่นพอดีกับระยะที่ต้องการ
คือ ไม้สี่เหลี่ยมสอดทะลุระหว่างโคนเต้ากับจันทันกันสาดทำหน้าที่ยึดเกาะเต้ากับจันทันกันสาดให้ติดกันมีขนาดประมาณ ๑.๕-๒x๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สลักที่ยื่นเลยเต้าขึ้นไปเสียบด้วยเดือยไม้ขนาดประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร
คือ ไม้เหลี่ยมกว้างประมาณ ๘x๑๐ เซนติเมตร เจาะช่องกลางกว้างกว่าขนาดของจันทันกันสาดและเต้าเล็กน้อยให้สามารถสอดผ่านได้แล้วใช้ยึดด้วยเดือยไม้ขนาดประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ทำหน้าที่เหมือนสลักเดือย
คือ ส่วนหนึ่งที่อยู่ตรงปลายของเสาควั่นเป็นแท่งกลมยาวประมาณ ๑๐-๑๑ เซนติเมตร (๕ นิ้วไทย) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดปลายขื่อให้ติดกับเสาโดยเจาะแผ่นขื่อเป็นรูกว้างกว่าหัวเทียนพอสวมเข้าได้ช่วยยึดหัวเสาทั้งสองข้าง
คือ ไม้สักแผ่นเหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหัวเสาทั้งสองเข้าหากันและกันแรงถ่ายทอดจากจันทันที่ พยายามจะถีบหัวเสาออกเจาะรูที่ปลายทั้งสองของขื่อให้กว้างกว่าหัวเทียนเล็กน้อยและสวมขื่อเข้ากับหัวเทียน
ชนิดที่ ๑ ขื่ออยู่กลางห้องมีขนาดเท่ากับหัวเสา
ชนิดที่ ๒ ขื่ออยู่หัวท้ายของเรือนติดกับฝาหุ้มกลองขนาดใหญ่กว่าหัวเสาเท่ากับ ๕ x ๒๕ เซนติเมตร ปลายบนด้านนอกของขื่อนี้ปาดเฉียงลงเพื่อรับกลอนปีกนกเรียกขื่อนี้ว่า ขื่อเพล่ ขื่อเพล่ยังมีหน้าที่ช่วยหยุดหรือจับฝาอุดหน้ากลองด้านบนซึ่งฝาด้านยาวนั้นแปหัวเสาทำหน้าที่ช่วยยึดอยู่
มี ๒ ชนิด
๑. ชนิดไม้เหลี่ยมแบนขนาดโคน ๕x๒๐ เซนติเมตร ปลาย ๕x๑๒ เซนติเมตร ยึดอกไก่กับขื่อปลายล่างของดั้งติดกับขื่อโดยเข้าเดือยเข็นเรียกว่า ดั้งแขวน
๒. ชนิดไม้กลมยาวคล้ายเสา มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางรอดโดยบากอมรอดยาวถึงขื่อ เลยขื่อเป็นชนิดแบนเรียกส่วนกลมของดั้งนี้ว่าเสาดั้ง
คือ ไม้สักเหลี่ยมรูปข้าวหลามตัด ยาวตลอดเรือนและยื่นหัวท้ายอีกข้างละประมาณ ๖๐-๗๕ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหน้าจั่วดั้งและจันทันตั้งอยู่บนยอดสุดของหลังคาและยังให้หลบหลังคานั่งทับ
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๕x๒๕ เซนติเมตร แต่งรูปอ่อนช้อยตามแบบอยู่ระหว่างสองข้างของสามเหลี่ยมโครงหลังคาทำหน้าที่รับน้ำหนักของหลังคาที่ถ่ายทอดมายังกลอนและแป จันทันนี้มีอยู่เฉพาะส่วนของห้องที่ไม่มีหน้าจั่วและใช้กับดั้งแขวนเท่านั้นส่วนห้องที่มีหน้าจั่วให้แผงหน้าจั่วรับน้ำหนักจากหลังคาแทนจันทัน
เฉพาะเรือนไทยมี ๒ ชนิด ได้แก่
๑. แปหัวเสา คือ ไม้เหลี่ยมขนาดประมาณ ๑๐x๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอดหลังคาทำหน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องกับห้องโดยการวางทับบากอมกับขื่อรับน้ำหนักจากกลอนแป หัวเสายังทำหน้าที่ยึดและรับน้ำหนักของแผงหน้าจั่วช่วยเป็นส่วนหยุดของฝาตอนบนด้านยาวของเรือน
๒. แปลาน คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๑๐ เซนติเมตร พาดอยู่ระหว่างจันทันกับแผงหน้าจั่วยาวตลอดเรือนเท่ากับอกไก่ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากกลอนถ่ายสู่จันทัน
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร วางขวางพาดอยู่กับแประยะห่างระหว่างกลอนกับกลอนประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กลอนมีหลายชนิด ได้แก่
๑. กลอนสำหรับหลังคาจาก เป็นกลอนเรียบเจาะรูข้างหนึ่งระยะห่างของรูประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับใช้ตอกร้อยมัดกับจากติดกับแปด้วยการตอกสลับกับไม้แสมปลายด้านบนขวาเข้าเดือยหางเหยี่ยวติดกับอกไก่ปลายด้านล่างตอกติดกับตะพานหนู
๒. กลอนสำหรับหลังคามุงกระเบื้องเรียกว่า กลอนขอ เป็นรูปหยักบากเพื่อให้ระแนงวางทับระยะห่างของช่วงบากประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร มีทั้งแบบบากทุกช่วงกับแบบบาก ๑ ช่วง เว้น ๑ ช่วงสลับกันไป กลอนขอนี้ตอกติดกับแปโดยตะปูเหลี่ยมแบนแต่ไม่ตอกทุกช่วงตอกเป็นจังหวะห่าง ๆ
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๒.๕x ๒.๕ เซนติเมตร วางตามยาวของหลังคาขนานกับอกไก่ใช้สำหรับหลังคาเรือนที่มุงด้วยกระเบื้องระยะห่างของระแนงประมาณ ๑๐- ๑๒ เซนติเมตร วางบนกลอนขอทำหน้าที่รองรับกระเบื้องและถ่ายน้ำหนักลงยังกลอนติดกับกลอนโดยใช้หลักไม้แสม
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๒๐ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ปลายเต้ายาวรอบชายคาทำหน้าที่รับตะพานหนูและรับน้ำหนักทั้งหมดจากปลายกลอน
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ติดอยู่ด้านบนของเชิงชายและยึดปลายกลอนใช้ช่วยรับส่วนยื่นของกระเบื้องหรือจากให้พ้นแนวของเชิงชายทำให้น้ำฝนไหลพุ่งออกไปด้านนอก ช่วยทำให้เชิงชายไม่ผุกร่อนได้ง่าย
คือ แผ่นไม้แบนขนาดหนา ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ติดอยู่บนปลายแปหัวเสา แปลานอกไก่มีหน้าที่ปิดชายคาด้านสกัดหัวท้ายเพื่อป้องกันลมตีจากหรือกระเบื้องส่วนล่างของปั้นลมแต่งรูปเป็นแบบตัวเหงาเรียกว่า เหงาปั้นลมหรือแต่งเป็นรูปหางปลา การติดใช้ตะปูตอกจากใต้แปให้ทะลุไปติดปั้นลม
คือ แผงไม้รูปสามเหลี่ยมสร้างขึ้นจากองค์ประกอบของชิ้นไม้ในลักษณะต่าง ๆ ใช้ประกบปิดตรงส่วนที่เป็นโพรงของหลังคาทางด้านสกัดหรือด้านขื่อของเรือนเพื่อป้องกันลม แดด และฝน หน้าจั่วที่นิยมทำมีดังนี้
ก. จั่วลูกฟักหรือจั่วพรหมพักตร์ แบ่งหน้าจั่วโดยมีแนวนอนและแนวตั้งสลับกันคล้ายฝาปะกนแต่ขนาดใหญ่กว่าและขยายส่วนไปตามแนวนอน
ข. จั่วรูปพระอาทิตย์มีรูปลักษณะคล้ายพระอาทิตย์ครึ่งดวง เส้นรัศมีพระอาทิตย์ทำด้วยไม้แบนและเว้นช่องให้อากาศถ่ายเทนิยมใช้กับจั่วเรือนครัวไฟ
ค. จั่วใบปรือ จั่วชนิดนี้มีตัวแผงประกอบด้วยแผ่นไม้ขนาดเล็กเรียงซ้อนทางแนวนอน นิยมใช้กับเรือนนอนและเรือนครัวไฟถ้าเป็นเรือนครัวไฟส่วนบนต้องเว้นช่องให้อากาศถ่ายเทได้
คือ ชิ้นส่วนที่เป็นผืนทำหน้าที่กันแดดและฝนให้กับตัวเรือนใช้วัสดุได้หลายอย่างประกอบกันเข้า (มุง) ซึ่งแล้วแต่ความพอใจและความสะดวกของเจ้าของวัสดุที่ใช้มุง ได้แก่
ก. กระเบื้อง มีหลายแบบและหลายขนาดทำจากดินเผาสุกเรียกชื่อตามลักษณะของรูปร่าง เช่น กระเบื้อหางมน กระเบื้องหางตัด กระเบื้องขอ ความหนาประมาณ ๐.๐๕-๐.๐๘ เซนติเมตร เป็นชนิดตัวผู้และตัวเมีย
ข. จาก ทำจากใบต้นจาก แผ่และจัดเข้าเป็นตับโดยมีไม้ไผ่เหลาเป็นแกน
ค. แฝก
ง. หญ้าคา
วัสดุดังกล่าวนี้หาได้ง่ายโดยมีอยู่ในท้องถิ่น ถ้ามุงด้วยกระเบื้องจะดูดซึมความร้อนมากกว่ามุงด้วยจากและแฝก เรือนที่มุงด้วยกระเบื้องจากหรือแฝกส่วนบนสุดของหลังคาคือส่วนสันอกไก่นั้นจะมีรอยร่องจำเป็นต้องมีชิ้นส่วนปิดรอยนี้เพื่อกันน้ำฝนรั่ว ถ้ามุงด้วยกระเบื้องใช้กระเบื้องครอบเป็นส่วนปิด ถ้ามุงด้วยจากหรือแฝกใช้หลบจากหรือหลบแฝกเป็นส่วนครอบส่วนนี้จะทำเป็นพิเศษเพื่อกันน้ำฝนรั่วไหลเข้า
คือ ส่วนของหลังคาที่ยื่นมาจากฝาหรือจากหน้าจั่วออกไปอยู่ตรงกันสาดที่ยื่นจากฝาเรียกว่า ไขรากันสาด อยู่ตรงหน้าจั่วเรียกว่า ไขราหน้าจั่ว อยู่ตรงปีกนกเรียกว่า ไขราปีกนก
คือ ส่วนบนของฝาระยะต่ำจากแปหัวเสาหรือขื่อลงมาประมาณ ๕๐ เซนติเมตร (๑ ศอก) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมโดยรอบของเรือน
คือ ส่วนล่างของฝา ระหว่างบนพรึงถึงกรอบเช็ดหน้า (ใต้หน้าต่าง) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมคล้ายคอสอง ระยะของ ร่องตีนช้างประมาณ ๔๓.๗๔๓ เซนติเมตร (๑ คืบ ๙ นิ้ว) มีรอบตัวเรือน
คือ ช่องว่างระหว่างพื้นห้องนอนกับพื้นระเบียงหรือช่องว่างระหว่างพื้นระเบียงกับพื้นชานระยะประมาณ ๔๐ เซนติเมตร มีความยาวตลอดตัวเรือนมีประโยชน์เพื่อเป็นที่ให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุน ขึ้นบนเรือนและเป็นที่ทำให้อากาศภายในไหลผ่านช่องนี้ได้เกิดความรู้สึกโล่งโปร่งใช้ไม้ขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ตีอันเว้นอันปิดช่องเพื่อกันสิ่งของตก
คือ ทางเข้าออกระหว่างห้องนอน ห้องครัวกับระเบียงความกว้างเท่ากับ ๓ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ประตูนี้ส่วนล่างกว้างส่วนบนสอบเล็กกว่าความเอียงสัมพันธ์กับส่วนล้มสอบของฝาเรือน ประกอบด้วย กรอบเช็ดหน้า บานประตูและเดือย ธรณีประตูและคานคู่
คือ ทางเข้าออกระหว่างชานกับบริเวณบ้านโดยมีบันไดเป็นตัวกลางมีความกว้างเท่ากับ ๔ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนประตูห้องแต่มีซุ้มหลังคาข้างบนเพื่อกันฝนสาดทำให้บานประตูผุและเน้นทางขึ้นให้มีความสำคัญและน่าดูยิ่งขึ้น
คือ ส่วนประกอบของฝา เรือนที่ทำติดเป็นส่วนเดียวกันแต่เป็นช่องเจาะให้แสงสว่างอากาศและลมผ่านเข้าได้รวมทั้งเป็นช่องให้สายตาของผู้อยู่ภายในห้องมองผ่านออกไปภายนอกช่องนี้สามารถควบคุมการปิดเปิดได้โดยตัวบานซึ่งทั้งหมดประกอบด้วย
ก. กรอบเช็ดหน้า หมายถึง วงขอบรอบนอกของบาน (วงกบ) เป็นไม้เหลี่ยมแบนขนาดประมาณ ๓.๕-๕ x ๑๒.๕ เซนติเมตร วางประกอบตามส่วนแบนทำมุม ๔๕ องศา เซาะร่องบัวประดับ ส่วนล่างกว้างกว่าส่วนบนล้มสอบตามแนวของฝาเป็นหลัก
ข. ตัวบานใช้แผ่นไม้หนาประมาณ ๓ เซนติเมตร แบ่งเป็น ๒ แผ่นต่อ ๑ บาน มุมสุดบนและล่างมีเดือยเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ยาว ๒.๕ เซนติเมตร (แบบเดือยไม่ทะลุ) และยาว ๖ เซนติเมตร (แบบเดือยทะลุ) สอดใส่ในรูของธรณีหน้าต่างแทนบานพับ
ค. ธรณีหน้าต่างใช้ไม้เหลี่ยมขนาด หนา ๓.๕ - ๕ x ๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอดความกว้างของหน้าต่างและเลยออกไปข้างละ ๑๐ เซนติเมตร ติดกับฝาด้วยตะปูจีนหรือลิ่มไม้แสม (ขนาดลิ่มไม้เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร)
ง. หย่อง เป็นแผงไม้ที่ติดอยู่ตรงส่วนล่างของช่องหน้าต่างแกะเป็นลวดลายหรือฉลุโปร่งหนาประมาณ ๒ เซนติเมตร สูง ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร
จ. อกเลา คือ ไม้เหลี่ยมสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างเฉพาะของหน้าต่างใช้ขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ยาวตลอดบานทาบติดอยู่กับบานหน้าต่างบานหนึ่งเพื่อบังช่องที่บานหน้าต่างทั้งสองบานมาประกับกัน
ฉ. คานเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นกลอนติดอยู่ส่วนกลางของบานหน้าต่างเป็นไม้เหลี่ยมขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร มีไม้รัดทาบกับตัวบานข้างละอัน
ช. กบ เป็นกลอนของหน้าต่างเช่นกันแต่ติดอยู่ส่วนล่างเป็นไม้แบนขนาดหนา ๑x๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เจาะตัวธรณีประตูให้เป็นร่องเมื่อปิดบานสนิทแล้วจึงใส่กบลงไป
ส่วนประกอบของบันได คือ ลูกขั้นตามแนวนอนกับแม่บันไดตามแนวตั้งใช้สำหรับขึ้นจากพื้นดินไปสู่ชานบันไดแบบเดิมวางพาดกับพื้นและขอบพรึงทำชักขึ้นเก็บบนนอกชานได้เมื่อเวลาค่ำคืน เพราะช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้บ้างจากสัตว์ร้ายหรือขโมย ลูกขั้นกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร แม่บันไดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือไม้เหลี่ยมลูกขั้นขนาด ๓.๕ x ๗.๕ เซนติเมตร แม่บันไดขนาด ๕ x ๑๐ เซนติเมตร เจาะทะลุสอดเข้าเป็นขั้น ๆ ระยะห่างพอก้าวขึ้นสะดวก ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้นหรือบ้านตั้งอยู่ในที่ชุมชนห่างไกลจากสัตว์ป่าจึงทำบันไดแบบติดกับที่เป็นชนิดแข็งแรงและขึ้นลงได้สะดวกกว่าแบบเก่ามีลักษณะเป็นแผ่นไม้แบนขนาดประมาณ ๓.๕ - ๕ x ๒๐ เซนติเมตร แม่บันไดขนาด ๕ x ๒๐ เซนติเมตร