เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจ ว่าในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดบุคลากรในอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่จำนวนมาก จึงทำให้มีการจ้างงานชาวต่างชาติเพื่อมาทำงานในตรงนี้จำนวนมาก จึงทำให้เด็กไทยไม่ได้พัฒนาศักยภาพและเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ โดยเหตุผลที่ขาดอาชีพด้านวิทยาศาสตร์อาจเกิดจากการที่เด็กนักเรียนไทย ไม่ได้ให้ความสนใจกับอาชีพดังกล่าวนั้นเอง แต่หากมองว่าเป็นโอกาสของเด็กรุ่นใหม่ในการเริ่มที่จะเรียนรู้และประกอบอาชีพนี้ ก็คงไม่แปลกที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นในบทความนี้พี่จะขอแนะนำให้น้อง ๆ รู้จัก “อาชีพทางวิทยาศาสตร์ที่ประเทศไทยขาดแคลน” ไปอ่านกันเลยว่ามีอะไรบ้าง ?
หน้าที่ : ในปัจจุบันยังมีโรคอีกหลายโรคที่ยังไม่มีตัวยาที่สามารถมารักษามันได้ นักคิดค้นยาหรือนักเคมีปรุงจึงมีบทบาทสำคัญมากในตรงนี้ เพราะพวกเขามีหน้าที่ในการหาเป้ามายในการรักษาโรค หรือพัฒนาวิธีการรักษาที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : ต้องมีความชำนาญในพื้นฐานด้านเคมี ชีวะเคมี ชีวโมเลกุล อีกทั้งต้องมีความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายเรียนสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี ชีวโมเลกุล วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ สรีรวิทยา เภสัชวิทยา
หน้าที่ : สำรวจและค้นหาแหล่งปิโตเลียม โดยการศึกษาโครงสร้างชั้นหินและแหล่งกักเก็บปิโตเลียม ซึ่งปิโตเลียมในที่นี้หมายถึง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวที่นำมาผลิตพลังงานและเชื่อเพลิงต่าง ๆ
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ด้านธรณีวิทยา ใช้ความรู้ด้านธรณีพื้นฐานและวิชาปิโตเลียม โดยต้องเข้าใจการเกิดและการกักเก็บพลังงานปิโตรเลียมนั้นเอง
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา ศึกน้อง ๆ จะได้ศึกษาเรื่องธรณีพื้นฐานและวิชาปิโตเลียมควบคู่กันไป
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการออกแบบกระบวนการในการผลิตสินค้า โดยใช้แนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิต พัฒนาสินค้าให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น และถูกปากกับผู้บริโภค
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิต ต้องมีความชำนาญในการออกแบบกระบวนการผลิต อาทิ การอบแห้ง การทอดกรอบ และต้องเป็นคนช่างสังเกตและหาความรู้ใหม่ ๆ
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีอาหาร
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการคิดค้น วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังทำหน้าที่ดูแลผลิตภัณฑ์ผิวหน้า ผิวกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้า
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ทางด้านเคมี สรีรวิทยา มีความรู้ด้านปฏิกิริยาเคมี ปริมาณการใช้สารเคมีเป็นต้น
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยสามารถเรียนสาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางค์โดยตรง หรือจะเรียนในสาขาที่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้ อาทิเช่น ชีววิทยา เคมี หรือเภสัชศาสตร์
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการพิสูจน์หลักฐานต่าง ๆ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาวิเคราะห์เหตุการณ์หรือวัตถุพยาน เพื่อตรวจหาผู้กระทำความผิดกฎหมาย โดยมีการตรวจที่เกิดเหตุ ตรวจเอกสาร ตรวจด้านชีววิทยาเป็นต้น
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : มีความรู้ความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เพื่อใช้ในการคำนวณวิถีอาวุธปืน , ด้านชีวะ ในการตรวจสอบสรีรวิทยา DNA ฯลฯ ,ด้านเคมี ตรวจสอบลายนิ้วมือโดยใช้สารเคมีต่างๆ เป็นต้น
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ เพื่อมีสิทธิ์ในการรับการคัดเลือกเป็นตำรวจ ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจได้
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการสำรวจ หาข้อมูล วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธ์พืชต่าง ๆ ในปัจจุบัน ให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และเพื่อความอยู่รอดของพันธุ์พืช
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : ต้องมีความรู้และความชำนาญทางด้านชีววิทยา ชีวโมเลกุล ด้านพันธุศาสตร์ การคัดเลือก ความรู้พื้นฐานทางด้าย พฤกษศาสตร์
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะเกษตรศาสตร์
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการสร้างสรรค์และออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงที่สุด โดยใช้ลักการทางศิลปะและวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เข้าด้วยกัน
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : มีความรู้ความสามารถด้านศิลปะการออกแบบ และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ทางฟิสิกส์ในการคำนวณ การรับน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การออกแบบลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ ศิลป์ในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการบูรณการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้เกิดประโยชน์แก่วงการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : แน่นอนว่าต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ซีวะ มีทักษะด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์ อีกทั้งต้องมีความรู้ทางการแพทย์ และเภสัชพื้นฐาน
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
หน้าที่ : มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในปัจจุบัน
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : ต้องมีความรู้และความชำนาญทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าและคิดค้นระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ ต้องชำนาญทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ อย่างลึกซึ่ง
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายวิทย์ และในมหาวิทยาลัยต้องเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์โดยตรง
หน้าที่ : สร้างสรรค์ออกแบบผลงานภาพเคลื่อนไหวให้มีชีวิตจากจินตนาการ นำภาพนิ่งให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวอย่างสวยงาม เป็นไปตามธรรมชาติเสมือนจริง
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และความชำนาญ : การทำภาพเคลื่อนไหวคือการนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาต่อกันในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การคำนวณฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ อีกทั้งผู้ประกอบอาชีพนี้ควรชำนาญทางด้านโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างอนิเมชั่น
หนทางสู่อาชีพ : มัธยมปลายสายอะไรก็ได้แต่ควรมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เบื้องต้น และในมหาวิทยาลัยสามารถเรียนคณะ อาทิ ศิลปกรรม นิเทศศิลป์ และที่สำคัญต้องมีความรู้ด้านศิลปะ
อาชีพต่าง ๆ ล้วนเป็นแนวทางให้น้อง ๆ ที่ชอบสายวิทยาศาสตร์ แต่ยังไม่รู้จะเรียนอะไร หรืออยากเรียนสาขาในกลุ่มนี้อยู่แล้วแต่ไม่มั่นใจในการทำงาน บอกเลยว่าไม่ตกงานแน่นอน บุคลากรสายวิทย์ยังคงเป็นที่ตลาดต้องการ และยังเป็นอาชีพที่ดูจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตด้วย
เรื่อง : ศิรศักดิ์ ชัยสิทธิ์