เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์โดยรายการ
“The Exit ชีวิตมีทางออก”
วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
พิธีกร : พูดถึงเรื่องของความรัก เป็นนิยามที่คนยังสงสัยมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ตลอดเวลา คำถามฮิต ความรักคืออะไร ทำไมเราต้องตื่นเต้นเวลาที่เราตกหลุมรัก บางคนก็บอกว่าเป็นปฏิกิริยาเคมีทางสมอง หรือว่าอาจจะเคยเป็นสามีภรรยากันเมื่อชาติอื่นๆ หรืออย่างไรก็แล้วแต่ ความจริงแล้วเราจะให้นิยามความรักคืออะไร ?
ประเภทหนึ่ง
เป็นความรักที่มีความยึดติดถือมั่น เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เพื่อตอบสนองตัวตน หรือหวังความสุขเพื่อปรนเปรอตัวตน
เราเรียกว่า สิเนหะ หรือเสน่หา เป็นความรักที่ภาษาสมัยใหม่เรียกว่ารักแบบมีเงื่อนไข เช่น ต้องถูกใจฉัน ต้องพะเน้าพะนอฉัน
ความรักอีกประเภทหนึ่ง เป็นความรักที่เป็นความปรารถนาดี
ไม่มุ่งหรือคาดหวังให้เขามาปรนเปรอตัวตน เป็นความปรารถนาดีโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว อันนี้เรียกว่า เมตตา
-------------------------------------------------------------------
พุทธศาสนามองว่า สิเนหะเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์
เพราะว่าถ้าคาดหวังให้เป็นไปตามใจตัวแล้ว เมื่อไม่เป็นอย่างที่หวังก็ทุกข์ เกิดความพลัดพรากสูญเสียไปก็ทุกข์
ไม่มีเงื่อนไขว่าเขาต้องทำดีกับฉัน เขาต้องเทิดทูนบูชาฉัน หรือว่าเขาต้องเป็นลูกของฉัน เป็นสามีของฉัน เป็นคนรักของฉัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์มีความเมตตาต่อพระเทวทัตเท่ากับพระราหุล
เมตตาคือความรักโดยไม่แบ่งแยก คนส่วนใหญ่มองว่าถ้าเป็นลูกฉันก็รัก ถ้าเป็นศัตรูฉันไม่รัก อันนี้เป็นสิเนหะ แต่เมตตาไม่มีเลือก ไม่มีแบ่งแยก เป็นความรักที่ไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข ขณะเดียวกันเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับเขา เราก็ไม่ทุกข์เพราะไม่ได้ยึดติดถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา หรือต้องอยู่กับเราชั่วนิจนิรันดร์
-------------------------------------------------------------------
พิธีกร :
แล้วอย่างที่ว่า เวลาเรารักใครเราก็อยากอยู่ใกล้คนนั้น มีความคิดถึง มีอะไรพวกนี้ อันนี้มันเป็นส่วนหนึ่งของความรักใช่ไหมคะ ?
พระไพศาล :
อันนั้นเป็นสิเนหะ
ในทางพุทธมีอีกคำหนึ่งคือคำว่า ราคะ ราคะคือความปรารถนาที่จะครอบครอง เพราะว่ามันให้ความสุขแก่เรา เป็นความสุขทางผัสสะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อาจจะรวมถึงความอิ่มเอมใจด้วย
ราคะใช้ได้กับทุกอย่างนะ แม้กระทั่งกับสิ่งของ เราอยากครอบครอง อยากอยู่ใกล้ทรัพย์สมบัติ เราก็เอาทรัพย์สมบัติ เอาเพชรนิลจินดามาดูทุกวัน แล้วก็มีความสุข อยากเอามาประดับติดตัว อยากอยู่ใกล้ ไม่อยากให้อยู่ไกล อันนี้เป็นราคะ
พิธีกร :
ไม่ใช่ความรัก ?
พระไพศาล :
เป็นความรัก แต่เป็นความรักที่เจือด้วยกิเลส ที่ยังผูกติดกับเรื่องตัวตนอยู่
ที่จริงแล้วเราไม่ได้รักสิ่งนั้นอย่างจริงจังหรอก เรารักตัวเรา แต่เนื่องจากสิ่งนั้นให้ความสุขเรา ปรนเปรอเรา พะเน้าพะนออัตตาตัวตนของเรา เราก็เลยผูกใจปรารถนาสิ่งนั้น แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่สิ่งนั้นไม่เป็นไปดั่งใจหวัง ไม่พะเน้าพะนอเรา ไม่ปรนเปรออัตตาเรา เราก็เกลียด
อย่างคู่รักที่เคยรักกันอย่างดูดดื่มแต่พอพบว่าเขาคิดไม่เหมือนเรา เขาไม่ให้เกียรติเรา ไม่จริงใจกับเรา ความรักที่มีก็เปลี่ยนเป็นความเกลียด ยิ่งพบว่าเขาปันใจให้คนอื่น เราก็ยิ่งเกลียดเขามากขึ้น รักก็กลายเป็นเกลียดไป ความรักแบบนี้คือรักตัวเอง ไม่ได้รักเขาอย่างแท้จริง
แต่จะว่าไปแล้ว เอาเข้าจริงๆ เรารักตัวเองหรือเปล่าก็ยังไม่รู้เลย เพราะว่าถ้าเรารักตัวเอง เราก็อยากอยู่กับตัวเอง แต่คนส่วนใหญ่เวลาอยู่กับตัวเองคนเดียวไม่มีความสุข กระวนกระวาย อยู่คนเดียวในห้อง
แม้ว่าจะอยู่ในโรงแรมห้าดาว แต่ถ้าไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีเฟสบุ๊ค ก็กระสับกระส่าย ทำไมล่ะ ในเมื่อรักตัวเองก็น่าจะมีความสุขเมื่ออยู่กับตัวเอง แต่ว่าคนส่วนใหญ่ ไม่มีความสุขที่จะอยู่กับตัวเอง ที่ทำมาทั้งหมดก็คือพยายามหนีตัวเอง เพราะทนอยู่กับตัวเองไม่ได้
เมื่อเรารักตัวเองไม่เป็น หรือรักตัวเองไม่ได้ เราจะไปรักใครได้อย่างแท้จริง แต่ทุกวันนี้ทุกคนที่อ้างว่ารักคนโน้นรักคนนี้ ที่จริงไม่ได้รักเขาหรอก แม้แต่ตัวเองก็ไม่ได้รัก
-------------------------------------------------------------------
พิธีกร :
ถามสำหรับน้องๆ หรือคนรุ่นใหม่ที่จะเลือกคู่ เขาจะมีวิธีที่จะเลือกคู่อย่างไรได้บ้าง ?
พระไพศาล :
การที่คนเราจะอยู่ด้วยกันได้นาน จะต้องมีความเหมือน มีความสอดคล้องกัน เช่น สอดคล้องกันในเรื่องของศีล
ศีลในที่นี้หมายถึงความประพฤติปฏิบัติ หากว่าเป็นคนที่มีความประพฤติปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เช่น เป็นคนที่ชอบทำบุญ ไม่ต้องการเบียดเบียน ใฝ่ในธรรมะ อันนี้ก็จะอยู่กันได้นาน
พูดง่าย ๆ คือมีการดำเนินชีวิตไปในแนวทางเดียวกัน แต่ถ้าสวนทางกันหรือไม่เหมือนกัน ก็อยู่ด้วยกันได้ยาก เช่น คนหนึ่งอยากรวย แต่อีกคนใฝ่ธรรม คนหนึ่งโลภเพราะคิดว่ามีเงินจึงจะมีความสุข แต่อีกคนเห็นว่าการสละการปล่อยวางมีความสุขกว่า อย่างนี้ก็อยู่กันลำบาก อยู่ด้วยกันไม่ยืด
นอกจากศีลแล้ว ประการต่อมาก็คือ การแบ่งปัน หรือ จาคะ คือ ต้องมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนกัน ถ้าหากบางคนตระหนี่ก็จะอยู่กับคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความเหมือนกันในแง่นี้ด้วย
ศรัทธาและปัญญาก็เช่นกัน มีศรัทธาคล้าย ๆ กัน มีปัญญาเสมอกัน ก็อยู่กันได้นาน
ธรรมทั้ง ๔ ประการเรียกว่า สมชีวิธรรม คือ ธรรมที่ทำให้คู่สมรสมีชีวิตที่กลมกลืนกัน ครองคู่กันได้นาน เรื่องนี้สำคัญมากคือการมีสาระของชีวิตสอดคล้องไปในทางเดียวกัน แต่ว่าถ้าต่างกันหรือสวนทางกัน จะอยู่ด้วยกันลำบาก
สรุปก็คือ
-------------------------------------------------------------------
พิธีกร :