(สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ถ้าใจของเราเกิดอย่างนี้บ่อย ๆ จิตก็จะคุ้นเป็นนิสัย
คือคนเรานี้อยู่ ด้วยความเคยชินเป็นส่วนใหญ่
เราไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่า ที่เราอยู่กันนี้เราทำอะไร ๆ ไปตามความเคยชิน
ไม่ว่าจะพูดกับใคร จะเดินอย่างไรเวลามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
เราจะตอบสนองอย่างไร ฯลฯ เรามักจะทำตามความเคยชิน
ทีนี้ก่อนจะมีความเคยชินก็ต้องมีการสั่งสมขึ้นมา
คือทำบ่อยๆ บ่อยจนทำได้โดยไม่รู้ตัว
แต่ทีนี้ท่านเตือนว่า ถ้าเราปล่อยไปอย่างนี้มันจะเคยชินแบบไม่แน่นอน
ว่าจะร้ายหรือจะดี และเราก็จะไม่เป็นตัวของตัวเอง
ท่านก็เลยบอกว่า ให้มีเจตนาตั้งใจสร้างความเคยชินที่ดี
ความเคยชินที่เกิดขึ้นนี้ท่านเรียกว่า "วาสนา"
ซึ่งเป็นความหมายที่แท้และดั้งเดิม
ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่เพี้ยนไป
วาสนา ก็คือ ความเคยชิน
ตั้งแต่ของจิตใจ ตลอดจนการแสดงออกที่กลายเป็นลักษณะประจำตัว
ใครมีความเคยชินอย่างไร ก็เป็นวาสนาของคนนั้นอย่างนั้น
และเขาก็จะทำอะไร ๆ ไปตามวาสนาของเขา
หรือวาสนาก็จะพาให้เขาไปทำอย่างนั้น ๆ
เวลาพบเห็นอะไร ใครสั่งสมจิตใจชอบมาทางไหน ก็ไปทางนั้น
เช่น มีของเลือก 2-3 อย่าง คนไหนชอบสิ่งไหน ก็จะหันหาแต่สิ่งนั้น
แม้แต่ไป ตลาดไปร้านค้า ไปที่นั่นมีร้านค้าหลายอย่าง
อาจจะเป็นห้างสรรพสินค้า เดินไปด้วยกัน
คนหนึ่งชอบหนังสือก็ไปร้านหนังสือ
อีกคนหนึ่งเข้าไป ร้านขายของเครื่องใช้ เครื่องครัว เป็นต้น
แต่อีกคนหนึ่งเข้าไปร้านขาย ของฟุ่มเฟือย
อย่างนี้แหละเรียกว่า วาสนาพาให้ไป คือ ใครสั่งสมมาอย่างไร ก็ไปตามนั้น
และวาสนานี้แหละ เป็นตัวการที่ทำให้ ชีวิตของเราผันแปรไปตามมัน
พระท่านมองวาสนาอย่างนี้
เพราะฉะนั้น วาสนาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่รู้ตัว
ท่านก็เลยบอกว่าให้เรามาตั้งใจสร้างวาสนาให้ดี
เพราะ วาสนานั้นสร้างได้
คนไทยเราชอบพูดว่า วาสนานี้แข่งกันไม่ได้
แต่พระบอกว่าให้แก้วาสนา ให้เราปรับปรุงวาสนา
เพราะมันอยู่ที่ตัวเรา ที่สร้างมันขึ้นมา
แต่ การแก้ไขอาจจะยากสักหน่อย
เพราะความเคยชินนี้แก้ยากมาก แต่แก้ได้ปรับปรุงได้
ถ้าเราทำก็จะมีผลดีต่อชีวิตอย่างมากมาย
ขอให้ จำไว้เป็นคติประจำใจเลยว่า