พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ คือ “พระราชพิธีนครฐาน” เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎร และเพื่อเป็นนิมิตรหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร
เสาหลักเมืองสร้างขึ้นจากไม้ชัยพฤกษ์ ด้านนอกประดับด้วยไม้แก่นจันทร์ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 27 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูมบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมืองที่โหรหลวงได้ผูกชะตาเมืองถวายไว้ ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการตั้งเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ไว้ตอนหนึ่งว่า
ขอขอบคุณวีดีทัศน์จาก : พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย
เดิมทีเสาหลักเมือง มีเพียงศาลาปลูกไว้กลางแดดกันฝนเท่านั้น เมื่อศาลาและเสาหลักเมืองชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จึงทรงตรวจดวงชะตาบ้านเมือง และพบว่าดวงชะตาของพระองค์เป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดย้ายเสาหลักเมืองเดิม และจัดทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยแกนไม้สักประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่มาประดิษฐานในศาลาใหม่ที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อ พ.ศ. 2395 หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า "ศาลหลักเมือง"