วิทยาศาสตร์ ม.2
สมาชิกเลขที่79400 | 06 มี.ค. 55
8.8K views

โลกของเรามีอายุประมาณ 4-6 พันล้านปี โดยช่วงเวลานี้ยังไม่เกิดสิ่งมีชีวิตบนโลก มนุษย์

เราเพิ่งเริ่มถือกำเนิดบนโลกเมื่อประมาณ 0.003 ล้านปีมานี้เอง

โลกของเราก่อกำเนิดจากการรวมตัวของอนุภาคจำนวนมากภายใต้แรงโน้มถ่วงมหาศาล

จากอนุภาคเล็กๆ เป็นมวลขนาดใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด

โครงสร้างภายในโลก

รูปร่างของโลกมีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลส้มเขียวหวาน ส่วนบนและส่วนล่างที่เป็นขั้ว

โลกเหนืดและขั้วโลกใต้จะแบนเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12700 กิโลเมตร นักวิทยา

ศาสตร์แบ่งโครงสร้างของโลกจากชั้นบรรยากาศไปสู่แก่นโลกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. บรรยากาศ หนาประมาณ 50 กิโลเมตร มีส่วนผสมของแก๊สต่างๆ

2. เปลือกโลก หนาประมาณ 5-70 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินบะซอลต์ใต้ทะเล และ

แกรนิตใต้พื้นดิน ซึ่งเกิดจากพลังงานภายใน เช่น ภูเขาไฟและพลังงานภายนอก เช่น

การพังทลาย

3. เนื้อโลก ประกอบด้วยหินหลอมเหลว หรือเรียกว่า หินหนืด อุณหภูมิสูงกว่า 1000

องศาเซลเซียส

4. แก่นโลก เป็นโลหะหลอมเหลวอุณหภูมิสูงกว่า 4300 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่เป็น

เหล็กและนิเกิล ชั้นนอกเป็นของเหลว ชั้นในเป็นของแข็งเนื่องจากมีความกดดันสูง

มาก

เปลือกโลกคือส่วนที่เป็นของเข็งห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ มีความหนาประมาณ 5 – 70

กิโลเมตร ส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่เป็นภูเขาสูง เปลือกโลกแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ เปลือกโลกชั้นนอก

และเปลือกโลกชั้นใน

เปลือกโลกชั้นนอก มีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดิน และส่วนที่เป็นพื้นน้ำ

เปลือกโลกชั้นในมีความหนาแน่นมากกว่าเปลือกโลกชั้นนอก ประกอบด้วยหินบะซอลต์

เป็นส่วนใหญ่

เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นหินแข็งต่อกันเหมือนกับภาพต่อ (Jigsaw) ขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่

ประมาณ 13 แผ่น แต่ละแผ่นเรียกว่า แผ่นเปลือกโลก (Plate)

แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเล หรือ มหาสมุทรเรียกว่า แผ่นมหาสมุทร (Oceanic plate) จะมี

ความหนาน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทวีปที่เรียกว่า แผ่นทวีป (Continental plate)

การแบ่งแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่

- แผ่นอเมริกาเหนือ - แผ่นโคคอส

- แผ่นนาซคา - แผ่นแปซิฟิก

- แผ่นแอนตาร์กติก - แผ่นสคอเทีย

- แผ่นอเมริกาใต้ - แผ่นแคริเบียน

- แผ่นยูเรเซียน - แผ่นอะราเบียน

- แผ่นแอฟริกัน - แผ่นฟิลิปปินส์

- แผ่นอินโดออสเตเลียน

อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน กล่าวว่าเมื่อประมาณ

เกือบ 300 ล้านปีมาแล้ว ทวีปต่างๆเคยอยู่รวมกันเป็นทวีปใหญ่เพียงทวีปเดียวเรียกว่า แพงเจีย

(Pangea) ต่อมาเมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินแยกจากกันมากขึ้นจนเห็นเป็นทวีปต่างๆ

เกือบใกล้เคียงกับปัจจุบัน

โลกปัจจุบันประกอบด้วย 7 ทวีป ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย แอนตาร์กติก อเมริกาเหนือ

อเมริกาใต้ ยุโรป และออสเตรเลีย โดยมีทะเลและมหาสมุทรคั่นระหว่างทวีป ยกเว้น ทวีปอเมริกา

เหนือต่อกับอเมริกาใต้ และทวีปยุโรปต่อกับทวีปเอเชีย

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และแต่ละแผ่นมีทิศทางการเคลื่อนที่ต่างๆ เรา

สามารถแบ่งการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกออกเป็น 3 แบบ คือ เคลื่อนที่มาชนกัน เคลื่อนที่แยกจาก

กัน และเคลื่อนที่แบบสวนกัน ซึ่งมีผลทำให้เกิดกระบวนการทางธรณีวิทยาดังต่อไปนี้

1. การคดโค้งโก่งงอ

ในธรรมชาติรอยคดโค้งโก่งงอ เกิดจากแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น เคลื่อนที่ชนกัน ซึ่งมีแรงดัน

มหาศาล ทำให้ชั้นหินตรงบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกันเกิดการคดโค้งโก่งงอขึ้น รอยคดโค้งโก่ง

งอนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะต้องใช้เวลาเป็นพันปีและต้องได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่อง

ถ้ารอยคดโค้งโก่งอชั้นหินเกิดขึ้นติดต่อกัน เป็นบริเวณกว้างกินพื้นที่มาก ก็อาจกลายเป็น

เทือกเขา เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เทือกเขาภูพานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป หรือเทือกเขาร็อคกี้ในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น

2. การยกตัวและยุบตัว

พลังงานท่สะสมอยู่ภายในเปลือกโลกเมื่อมีมากขึ้นจะไปดันเปลือกโลกให้เกิดรอยแยกหรือรอย

แตกในชั้นหิน เรียกว่า รอยเลื่อน(Fault) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงกว่าการเกิดคดโค้งโก่งงอ และเป็น

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว

รอยเลื่อนที่เกิดขึ้นและทำให้แผ่นเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ การยกตัว

ของแผ่นเปลือกโลกที่เกิดจากรอยเลื่อนแบบปกติกลายเป็นภูเขา เรียกว่า Block mountain โดยยอด

เขาจะมีลักษณะราบและไหล่เขาจะชัน เช่น ภูกระดึง จังหวัดเลย และอีกแบบ คือ การยุบตัวของ

แผ่นเปลือกโลกกลายเป็นแอ่งหรือหุบเขาเรียกว่า rift valleys ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนแบบย้อน

3. การผุพังอยู่กับที่

การผุพังอยู่กับที่ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้วัสดุผุสลายออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยมีการเปลี่ยน

แปลงขนาดและองค์ประกอบเคมีของอนุภาคที่สลายตัว เช่น การผุพังหรือการหักพังของหินทั้งบน

พื้นดินและใต้ผิวโลกลงไปซึ่งเป็นผลเนื่องมาจาก ปัจจัยทางกายภาพทางเคมี และชีวภาพ ดังนี้

3.1 ปัจจัยทางกายภาพ

ชั้นหินที่มีรอยแยกหรือรอยแตกจะมีน้ำแทรกอยู่ เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เช่น ในเวลา

กลางคืนอากาศเย็นจัด น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ดันให้รอยแยกขยายตัวมากขึ้น และ

ทำให้ชั้นหินที่อยู่ด้านล่างแตก เมื่อถึงตอนกลางวันน้ำแข็งละลาย น้ำจะแทรกไปตามรอยแตกใหม่

พอตกกลางคืนน้ำแข็งตัว รอยแตกก็ขยายและชั้นหินก็จะเกิดรอยแตกเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดชั้นหินจะ

แตกออกเป็นชิ้นๆ เกิดการผุพัง

3.2 ปัจจัยทางเคมี

น้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังทางเคมีได้ง่ายและดีที่สุด โดยเฉพาะในเขตร้อน

ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้รวดเร็ว และการผุพังของหินก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ได้แก่ ปฏิกิริยาไฮโดร

ไลซิส ปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาคาร์บอเนชัน

3.3 ปัจจัยทางชีวภาพ

พืชเป็นตัวการทำให้ชั้นหินเกิดการผุพังได้มาก เช่น รากพืชที่ชอนไชไปในรอยแตกของ

หิน เมื่อพืชโตขึ้นรากพืชก็โตขึ้นด้วย ทำให้หินแตกเป็นชั้นๆ นอกจากนี้มนุษย์ก็นับเป็นตัว

การที่ทำให้หินผุพังหรือแตกสลายไปได้อย่างรวดเร็วมากกว่าตัวการอื่นๆ

4. การกร่อน

การกร่อน เป็นการพังทลายของชั้นหินเนื่องจากลม ฝน แม่น้ำ ลำธาร ธารน้ำแข็ง คลื่น เป็นต้น

5. การพัดพาและทับถม

ดิน หิน เมื่อถูกกัดกร่อน จะถูกน้ำหรือลมพัดพาไปสู่ที่ต่ำกว่าเกิดการทับถมเป็นลักษณะต่างๆ

หลายแบบ เกิดเป็นดินดอนปากแม่น้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา

 

Share this