ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน [1]
คำที่มักเขียนผิด ( 1 ) ตอน ภาษาไทยเป็นหัวใจของทุกวิชา บุญช่วย มีจิต
ภาษาไทยนั้น นับว่าเป็นวิชาที่สำคัญที่สุดในการเรียนหนังสือ เพราะถ้าหากอ่อนภาษาไทยแล้ว ก็พลอยทำให้วิชาอื่น ๆ อ่อนไปด้วย โดยเฉพาะนักเรียนระดับต้น ๆ แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะตรวจสอบการเรียนภาษาไทยของบุตรหลานของตัวเองเท่านั้น ถ้าหากเรียนภาษาไทยได้สวยอ่านได้คล่องไม่ติดขัดแล้ว ก็มักจะพอใจว่าบุตรหลานของตนเรียนเก่ง ดังนั้นเวลาสอนนักเรียน ผู้เขียนจึงให้เด็กเขียนสโลแกนตัวใหญ่ ๆ ที่หน้าปกในของสมุดแบบฝึกหัดภาษาไทยว่า
“ ภาษาไทย เป็นหัวใจของทุกวิชา ”
ความจริงแล้ว ในการเรียนภาษาไทยนั้น เราไม่ได้เรียนเฉพาะวิชาภาษาไทยอย่างเดียว
ลำพังภาษาไทยแท้ ๆ นั้น ไม่ได้เรียนยากเย็นอย่างที่นักเรียนทั้งหลายร้องโอดโอยกันอยู่นี้เลย ที่ว่าภาษาไทยเรียนยาก เข้าใจยากนั้น เพราะมีภาษาอื่น ๆ ปะปนเข้ามาอยู่จำนวนมาก ว่าเฉพาะอักษรย่อในวงเล็บที่บอกที่มาของคำในพจนานุกรมฉบับราช-บัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ( หน้า 9 ) ก็มีถึง 14 ภาษา คือ
อักษรย่อ |
ภาษา |
ข. |
เขมร |
จ. |
จีน |
ช. |
ชวา |
ญ. |
ญวน |
ญิ. |
ญี่ปุ่น |
ต. |
ตะเลง |
บ. |
เบงกอหลี |
ป. |
ปาลี (บาลี) |
ฝ. |
ฝรั่งเศส |
ม. |
มลายู |
ล. |
ละติน |
ส. |
สันสกฤต |
อ. |
อังกฤษ |
ฮ. |
ฮินดี |
ทั้งนี้ ยังไม่นับภาษาอื่น ๆ ที่พึ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา เช่น เกาหลี รัสเซีย อาหรับ เยอรมัน ฯลฯ
ดังนั้น ผู้ที่จะเก่งภาษาไทย จะต้องรู้จักภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย ๔ ภาษาเป็นอย่างดี
คือ บาลี สันสกฤต อังกฤษ และเขมร
เพราะ ๔ ภาษานี้เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมาก มากจนบางครั้งบางคนแยกไม่ออกว่า นี่เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอะไรกันแน่ ที่เราเขียนกันผิด ๆ ก็เพราะแยกแยะกันไม่ออก ไม่รู้รากศัพท์เดิมของคำ เพราะบางคำเป็นศัพท์เฉพาะ บางคำเขียนทับศัพท์ บางคำเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
คำว่า “แบงก์” ที่แปลว่าธนาคารนั้น มีเขียนกันไปต่าง ๆ นานา เช่น แบ๊งค์ บ้าง แบ็งก์ บ้าง แบ้งค์ บ้าง ที่ถูกต้องนั้น คือ แบงก์ ไม่มีวรรณยุกต์อะไรทั้งสิ้นและใช้ “ ก ” การันต์
“ แท็งก์น้ำ ” ก็มักจะเขียนกันผิด ๆ อยู่ประจำ เป็น “ แท๊งค์ ” บ้าง “ แท้งค์ ” บ้าง ซึ่งก็เหมือนกับคำว่า “ แก๊ง ” ที่มักเขียนผิดเป็น “ แก๊งค์,แก้งค์,แก็งค์ ”
คำสองคำนี้เป็นภาษาอังกฤษ สะกดคนละอย่างคือ “ แท็งก์ ” (Tank) “ แก๊ง ” ( Gang )
“ วอลเลย์บอล ” ซึ่งเป็นกีฬายอดฮิตติดอันดับอีกประเภทของไทย ก็ใช้กันไปคนละทางสองทาง ยิ่งการรายงานข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนและเยาวชนมากที่สุด ก็ไม่เหมือนกันสักฉบับ
บ้างเขียน วอลเล่บอล,วอลเล่ย์บอล,วอลเลบอล พจนานุกรมให้ใช้คำว่า
“ วอลเลย์บอล ”
“ แท็กซี่ ” ก็เป็นอีกคำหนึ่ง ที่ใช้กันไม่ค่อยถูกต้องนัก มักเขียนเป็น
“ แท็กซี่ ” บ้าง “ แท้กซี่ ” บ้าง
“ วัคซีน ” ก็มักสะกดเป็น “ วัคซิน ”
“ กงสุล” (ส) ก็เขียนผิดเป็น “ กงสุล ” ( ศ)
คงจะเทียบกับ “ ศุลกากร ” กระมัง
แม้แต่คำว่า “ ฝรั่งเศส ” ก็เผลอเขียน “ ฝรั่งเศส ” เพราะติดเชื้อมาจาก “ เศษ ” เช่นกัน
“ ปาร์เกต์ ” ก็มีคนเขียนผิดเป็น “ ปาร์เก้ ” และ “ ปาเก้ต์ ” อยู่บ่อย ๆ
คำว่า “ ปลาสเตอร์ ” ก็เขียนเป็น “ ปล้าสเตอร์ ” บ้าง “ ปลาสเต้อร์ ” บ้าง “ พลาสเต้อร์ ” บ้าง
“ พลาสติก ” ก็ยังเขียนเป็น “ ปล้าสติก ” “ พลาสติค ” “ ปลาสติค ”
คำที่มาจากภาษาอังกฤษนี้ ยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ ศัพท์ทางกีฬา ที่เรารับมาสแล้วเขียนทับศัพท์
ดังนั้น ผู้ที่จะเก่งภาษาไทย ใช้ได้ถูกต้อง นอกจากจะรู้รากศัพท์เดิมของคำนั้น ๆ แล้ว ยังจะต้องรู้จักหลักการถอดอักษรโรมันเป็นอักษรไทย รู้จักหลักการถอดีคำอังกฤษเป็นไทย หรือ รู้หลักการเขียนทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน เป็นอย่างดีอีกด้วย
คำว่า “ สังเกต ” ก็เขียนผิดเป็น สังเกต อยู่เนือง ๆ คงเทียบกับคำว่า เหตุ หรือ เกตุ ( ธง ) ดอกกระมัง
“ ประมง ” ก็กลายเป็นประมงค์(มี ค การันต์) คงเพราะนำคำว่า อุโมงค์ มาเทียบ
คำว่า “ อนุญาต ” เป็นคำพื้น ๆ แต่ก็ยังเขียนเป็น “ อนุญาติ ” อยู่บ่อย ๆ
เห็นจะคุ้นเคยกับคำว่า “ ญาติ ” นั่นเอง จริงอยู่ สองคำนี้เป็นภาษาบาลีทั้งคู่ แต่ก็มาคนละตระกูลกัน
“ ญาติ” ( อ่านว่า ยาด) เป็นคำนาม มาจากคำว่า “ ญา - ติ”
ส่วนคำว่า “ อนุญาต ” เป็นคำกริยา(กิตถ์) มาจากคำว่า “ อนุ + ญาต ” ( คำว่า ญาต แปลงมาจาก ชา ธาตุ ด้วยอำนาจของ ต ปัจจัย ในกริยากฤต อีกครั้งหนึ่ง จึงกลาย ญาต ไป )
คำว่า “ ประณีต ” ก็มักเขียนผิดเป็น ประณีต อยู่ประจำ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤต ประณีต และ บาลี ปณีต
จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไป ทีฆะ อะ เป็น อา ดังที่อาจารย์บางท่านอธิบาย
คำ “ โล่ ” ก็เขียนเป็น “ โล่ห์ ” “ สิงโต” ก็เขียนเป็น “ สิงโตห์ ” คงเพราะไม่รู้รากคำเดิม เห็นแต่ สิงห์ เลยนึกว่า เป็นพวกเดียวกัน
อีกคำหนึ่งที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ตามร้านค้าทั่วไป คือ “ ที่นี่จำหน่ายสินค้าราคาย่อมเยาว์ ”
รับบริการทำ .... “ ด้วยฝีมือปราณีต ราคาย่อมเยว์ ”
คำว่า “ ย่อมเยา ” ( ไม่มี ว การันต์) ก็กลายเป็น “ ย่อมเยาว์ ” ( มี ว์ ) ไปเสียฉิบ เพราะนำไปเทียบกับคำว่า
ผู้เยาว์ ยังเยาว์ อายุเยาว์
[1] เป็นบทความเชิงวิชาการ เขียนลงวารสารข่าวการศึกษาของ สำนักการศึกษา เป็นตอน ๆ ประมาณ 14 ตอน และได้รวบรวมเป็นเล่ม ทำผลงานอาจารย์ 3 ระดับ 8 รอบแรก แต่ไม่ผ่าน ตอนที่นำมาลง ณ ที่นี้ เป็นตอนที่ 8 ลงพิมพ์ในวารสารข่าวการศึกษา ปักษ์หลัง ปีที่ 11 ฉบับที่ 278 ตุลาคม 2532 ็น็