กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 นั้นมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญและเป็นเครื่องมือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร อีกทั้งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องรู้และเข้าใจแนวคิด แนวทางการจัดการเรียนรู้ และผลที่เกิดกับผู้เรียนของกระบวนการเรียนรู้แต่ละวิธี แล้วนำมาจัดการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. กระบวนการสร้างความรู้
3. กระบวนการคิด
4. กระบวนการทางสังคม
5. กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา
6. กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
7. กระบวนการปฏิบัติลงมือทำจริง
8. กระบวนการจัดการ
9. กระบวนการวิจัย
10.กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง
11.กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย
ฯลฯ
กระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับการฝึกฝนพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร ครูผู้สอนจึงควรคัดสรรและเลือกนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การเลือกว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุด ต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร สามารถนำพาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและลักษณะอันพึงประสงค์ใด กระบวนการเหล่านี้หากนำมาใช้แล้วจะได้ผลเพียงใดจึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ซึ่งได้กำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับคุณภาพของเด็กและเยาวชนในอนาคต