หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ตอนที่ 4)
สมาชิกเลขที่24780 | 04 ก.ย. 54
7K views

          ประเภทและคุณสมบัติพื้นฐานของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเก็บข้อมูลอยู่หลายประเภท ได้แก่ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เบเกอร์  และคิลเลอร์ (Baker and Giller. 1991 : 281 - 290) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตามประเภทของสื่อที่ใช้ในการนำเสนอและองค์ประกอบของเครื่องอำนวยความสะดวก ภายในเล่ม  แบ่งออกเป็น  4 ประเภท  ดังต่อไปนี้

     1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุ  หรือบันทึกข้อมูล  เนื้อหาสาระเป็นหมวดวิชา หรือรายวิชาโดยเฉพาะเป็นหลัก

     2.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล  เนื้อหาสาระเป็นหัวเรื่อง  หรือเรื่องเฉพาะเรื่องเป็นหลัก  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้  จะมีเนื้อหาใกล้เคียงกับประเภทแรกแต่ขอบข่ายแคบกว่าหรือ จำเพาะเจาะจงมากกว่า

     3.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล  เนื้อหาสาระและเทคนิคการนำเสนอขั้นสูงที่มุ่งเน้นเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  หรือการฝึกอบรม

     4.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล  เนื้อหาสาระเพื่อการทดสอบ  หรือสอบวัดผลเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและตรวจสอบวัดระดับความรู้ หรือความสามารถของตนในเรื่องนั้นๆ

เบเกอร์ (Baker. 1992 : 139 - 149) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 10 ประเภท  ดังต่อไปนี้

     1.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือ  หรือแบบตำรา (Textbooks) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทนี้  เน้นการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือและภาพประกอบ ในรูปแบบหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป  หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้สามารถกล่าวได้ว่า เป็นการแปลงหนังสือจากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพิ่มศักยภาพเติม  การนำเสนอ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น  การเปิดหน้าหนังสือ  การสืบค้น  การคัดลอก  เป็นต้น

     2.   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเสียงอ่าน  เป็นหนังสือมีเสียงคำอ่านเมื่อเปิดหนังสือจะมีเสียงอ่าน  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ เหมาะสำหรับเด็กเริ่มเรียน  หรือสำหรับฝึกออกเสียงหรือฝึกพูด  เป็นต้น  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้  เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นทั้งตัวอักษรและเสียง เป็นลักษณะหลักนิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่าน ที่มีระดับทักษะทางภาษาโดยเฉพาะ ด้านการฟัง  หรือการอ่าน  ค่อนข้างต่ำ  เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็กๆ  หรือที่กำลังฝึกภาษาที่สอง  หรือฝึกภาษาใหม่  เป็นต้น

     3.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง  หรืออัลบั้มภาพ  เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูลและนำเสนอข้อมูล  ในรูปแบบภาพนิ่ง  หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ  เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ  การขยายหรือย่อขนาดของภาพ  หรือตัวอักษร

     4.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว  เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูล  ในรูปภาพ วีดิทัศน์  หรือภาพยนตร์สั้นๆ ผนวกกับข้อมูลสนเทศในรูปตัวหนังสือ ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้  ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น  ภาพเหตุการณ์สงครามโลก  เป็นต้น

     5.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม  เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระ  ในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ  ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภทเสียง  ในลักษณะต่างๆ ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่น  เช่นเดียวกันกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่กล่าวมา

     6.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสมหลากหลาย เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะ  เช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม  แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่างๆ เช่น ตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว  เสียงดนตรี  เป็นต้น

     7.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อเชื่อมโยง  เป็นหนังสือทีมีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม  ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิก เพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อมโยงกันภายในเล่ม  การเชื่อมโยงเช่นนี้  มีคุณลักษณะเช่นเดียวกันกับบทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง  นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอก  เมื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต  หรืออินทราเน็ต

     8.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ  เป็นหนังสือสื่อประสม  แต่มีการใช้โปรแกรมขั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา  หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านเสมือนกับหนังสือมีสติปัญญาในการไตร่ตรอง  หรือคาดคะเนในการโต้ตอบที่มีปฏิกิริยากับผู้อ่าน

     9.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อหนังสือทางไกล  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ มีคุณลักษณะหลักๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Book แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย  ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิดและเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย

     10.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์สเปช  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ มีลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายๆ แบบที่กล่าวมาแล้วมาผสมกัน  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอก  สามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย  สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลายมิติ

           จากประเภท E-Book ดังกล่าว  พอจะสรุปได้ว่า E- Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดทำหนังสือให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งสามารถจะเปิดอ่านได้แบบหนังสือปกติทั่วไปโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการอ่าน

 

แหล่งที่มา / รายงานผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ง 31102 คอมพิวเตอร์  เรื่อง  การใช้โปรแกรม Microsoft Word เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

 

 

 

 

 

Share this