หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปสื่อมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงแต่ลักษณะการนำเสนอเป็นรูปแบบคล้ายหนังสือ จึงเป็นของแปลกใหม่และมีข้อแตกต่างกับหนังสือธรรมดา สำหรับในประเทศไทย ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการแต่ก็มีผู้ให้คำนิยาม เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และความเป็นมาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้
ความเป็นมาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในยุคสาระสนเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด จนเกินยุคแห่งข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) หรือความรู้ (knowledge) ที่เรียกว่า ไร้พรมแดน ซึ่งบุคคลสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา การนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อสนององค์ความรู้เพิ่มเติมแต่สิ่งที่ดึงดูดใจ ทั้งภาพเคลื่อนไหว แสงเสียง จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ไอที มีบทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสื่อสารความรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย และส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปได้ไกลทั้งในรูปแบบเสียง ภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว โดยที่ระยะทางไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเห็นจากระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web) สถาบันการศึกษาต่างๆ จะส่งเสริมพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น หรืออีกชื่อหนึ่งที่ได้ยินมากขึ้น คือ E-Leaning ดังนั้น หนังสือพิมพ์ ตำราวิชา หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ อุปกรณ์สำคัญทางการเรียนรู้จึงมีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาให้ถูกจัดในรูปแบบนี้ เช่นกัน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปรากฏเป็นครั้งแรก ในยุคทศวรรษที่ 40 เมื่อครั้งเป็นยุคทองของนิยายวิทยาศาสตร์ และในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ เริ่มมีการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเอกสารPDF (PDF file) สามารถดาวน์โหลดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ต่อมาบริษัทต่างๆ ได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นมาจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยตรง ซึ่งสามารถเพิ่มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เพลงต่างๆ ได้ และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ และที่สำคัญสามารถเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้ ได้แก่ Desktop Author. Flip Album. Flash เป็นต้นจึงทำให้หนังสือที่เคยเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ กลับมามีคุณค่ามีชีวิตชีวา เป็นที่ดึงดูดใจของผู้อ่าน และ ส่งผลให้มีการส่งเสริมการอ่านหนังสือมากขึ้น
แหล่งที่มา / รายงานผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ง 31102 คอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Word เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1