บทเพลงจากโลกวิญญาณ
กวีเอกระดับโลกหลายคนที่ล่วงลับไปแล้ว อย่าง ลิซท์ บีโธเฟ่น โชแปง บราห์มส์ และลิซท์ สตราวินสกี้ ตายไปนานแล้วใช่ไหมครับ แต่ถึงแม้พวกเขาเหล่านี้จะตายไป แต่ผลงานของพวกเขามิสูญสลายไปด้วย แต่วันนี้มีเรื่องแปลกมาบอกเล่า เออ.......เชื่อหรือไม่ แม้กวีเอกระดับโลกเหล่านี้จะตายไปนานแล้ว แต่ผลงานเพลงของพวกเขาก็ยังมีอีก เชื่อไหมละ
โดยผ่านคนทรง.......
เธอชื่อ โรสแมรี่ บราวน์
นางบราวน์เป็นคนอ้างว่า เธอเป็นเพียงอาลักษณ์หรือเลขา ที่คอยจดบันทึกสิ่งที่ถ่ายทอดจากกวีเอกระดับโลกนี้ บอกแก่เธอเท่านั้น เธอบอกว่าสามารถติดต่อกับวิญญาณเหล่านี้ได้ ในวัยเด็กเธอก็เคยเห็นวิญญาณบ่อยๆ พอขึ้นเธอก็รู้จักบรรดาคีตกวีและศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งกลายเป็นมิตรสหายและสอนให้เธอรู้จักดนตรีในเวลาต่อมาในปี 1964 นางบราวน์ตกพุ่มม่ายต้องเลี้ยงดูลูกสองคน ซ้ำรายเธอก็ได้รับอุบัติเหตุซี่โครงหักจนต้องพักฟื้นอยู่กับบ้าน นับเป็นครั้งแรกที่เธอมีโอกาสนั่งลงเปียโน และแล้วนางบราวน์ก็รู้สึกว่ามีคนยืนอยู่ข้างเปียโน และคอบจับมือเธอให้เล่นเพลงแปลกๆ ที่เธอไม่รู้จัก
ภายหลังเธออ้างว่าคนนั้นชื่อฟรานซ์ ลิซท์ นักเปียโนและคีตกวีรูปงามที่ตายไปนานแล้ว(1811-1886)
ไม่นานนักนางบราวน์ก็ได้รับการติดต่อจากนักประพันธ์เพลงรายอื่นๆ (สงสัยฟรานซ์เรียกมามั้ง) มีทั้งโชแปง บีโธเฟ่น เธอคิดว่าเล่นเฉยๆ คงเสียดายแย่ เธอเลยจด จด จดตัวโน๊ตลงใน “บทซิมโพนีย์ที่ประพันธ์ไม่จบ”(Unfinishehed symphony) จนจบ และเธอก็ประกาศแก่โลกว่า แม้ตายไปแล้ว คีตกวีผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ก็คงยังผลิตผลงานตัวเองอย่างต่อเนื่องอยู่ บทเพลงที่ได้รับการถ่ายทอดมาถึงเธอนั้น ไม่ใช้มีเพียงโน้ตยึกยือเป็นกลุ่มอย่างเดียว แต่เป็นบทประพันธ์เต็มรูปแบบ ส่วนใหญ่เป็นเปียโน นอกนั้นเป็นวงออสเคตรา อย่างของ นางบราวน์บอกว่า เพลงเหล่านี้ได้รับการประพันธ์เสร็จล่วงหน้าก่อนที่นักประพันธ์ที่ตายมาแล้วบอกโน้ตแก่เธอ และให้จดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรื่องของนางบราวน์เป็นที่เล่าขานไปทั่ว ตลอดช่วง 1980 เธอออกแสดงต่อหน้าสาธาณณชนกว่า 400 ครั้ง ประจักษ์พยานเห็นเหตุการณ์ขณะที่นางบราวน์รับบทเพลงจากโลกวิญญาณ เธอประพันธ์เพลงอย่างด่วนจี๋ ในระหว่างคัดลอกบทเพลงนางบราณ์ทำการพูดคุยกับสิ่งที่ไม่เห็นอย่างออกรสชาติ “ฉันรู้แล้วค่ะ” “ไม่ใช้สิ อ้อ ฉันเข้าใจแล้วค่ะ โทษค่ะ คุณพูดเร็วเกนไป ช่วยทวนอีกทีได้ไหมค่ะ....” หลังจากนั้นเธอก็ประพันธ์เพลงออกมาชนิดเร็วเกินกว่านักดนตรีคนไหนจะทำได้
หนึ่งในนั้นมี เพลงของโชแปง ผลงานชื่อ Mazurka in D Flat ที่เธอจดไว้ในสถานีโทรทัศน์ในอเมริกาที่ทำการบันทึกในปี 1980 รวมอยู่ด้วย
สำหรับวิญญาณนักคีตกวีที่เป็นคนต่างประเทศ เธอจะจดมันไว้เป็นภาษาอังกฤษแล้วไปให้เพื่อนไปแปลอีกที
ผลงานเพลงเหล่านี้ เป็นเพลงหลังความตายของลิซท์ โชโปง บีโธเฟน และ บราห์มส์จริงๆ หรือ?
นักเปียโนชื่อดังหลายคนออกความเห็นว่า “ผมมองดูโน้ตเพลงเหล่านั้นด้วยความนับถือยิ่ง แต่ละหน้านั้นสอดคล้องกับสไตล์การประพันธ์เพลงของคีตกวีแต่ละคนอย่างมีเอกลักษณ์ชัดเจน” อีกคนก็กล่าวว่า “คนส่วนมากสามารถแต่งท่วงทำนองดนตรีได้สดๆ แต่คุณไม่อาจลอกเลียนดนตรีเหล่านี้ได้โดยไม่อาจลอกเลียนดนตรีเหล่านี้ได้โดยไม่ผ่านการฝึกฝนมาหลายๆ ปี ผมเองยังไม่อาจปลอมแปลงงานของบีโธเฟนได้เลย” แน่นอนมีคนชอบก็มีคนเกลียด บางคนก็วิจารณ์ผลงานของเธอว่า ไม่ถึงครึ่งของคีตกวีด้วยซ้ำ หรือไม่ก็เป็นประสบการณ์ทางจิตแบบหนึ่งในสมองของเธอมากกว่า แต่ถึงอย่างไรนางบราวน์ก็ยังมีเพื่อนและคนชื่นชมชอบเธอมากมาย รวมทั้งนักดนตรีที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งหลาย ไม่ว่าความสามารถของดนตรีอันลึกลับของเธอจะมาจากแหล่งไหนก็ตาม นางบราวน์ก็ยังมีวิถีชีวิตเรียบง่ายและสร้างความประทับใจแก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งบรรดาคีตกวีอย่างมิต้องสงสัย