คู่สามีภรรยาผู้ได้รับความเสียหายจากนิวเคลียร์ฟุกุชิมะกลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
สมาชิกเลขที่506933 | 14 มี.ค. 59
733 views

เขียน โดย Ai Kashiwagi

30 ปีที่ผ่านมา Shin และ Tatsuko Okawara ใช้เวลาทั้งชีวิตของพวกเขาทำงานเป็นเกษตรกรอินทรีย์ ในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของพวกเขาเอง การทำงานในชนบทอยู่ในสายเลือดของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวพืชผลบนผืนแผ่นดินเดียวกันกับครอบครัวของพวกเขาที่ทำมาเป็นเวลาหกชั่วอายุคน พวกเขาขายผักปลอดสารพิษให้กับลูกค้าโดยตรงและการบริการของพวกเขาก็ยังเป็นที่ชื่นชอบในชุมชนอีกด้วย


คู่สามีภรรยา Okawara ใส่ใจในผลิตภัณฑ์ของพวกเขามาก  ถึงขนาดติดตัวการ์ตูนของตัวเองลงบนฉลาก!

สามีภรรยาOkawara อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ประมาณ 45 กิโลเมตร และพวกเขาก็รักที่ที่พวกเขาอยู่ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องอยู่แบบระมัดระวัง พวกเขาได้ซื้อเครื่องตรวจจับรังสีหลังจากที่รู้สึกกังวลจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลปี พ.ศ.2529 จากนั้นในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2554 สี่วันหลังจากเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ สัญญาณจากเครื่องตรวจจับของพวกเขาส่งเสียงดังและระดับรังสีก็เพิ่มขึ้น พวกเขาไม่มีทางเลือกและต้องย้ายออกจากที่นั่น



คู่สามีภรรยาผู้น่ารักในร้านค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์ของพวกเขาในเมือง Miharu

ในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจที่จะกลับมา “พวกเรามีวัวและไก่ที่ต้องดูแล เราต้องกลับมาให้อาหารพวกมัน เราไม่สามารถปล่อยพวกมันไว้และไปอยู่ที่อื่นได้” พวกเขาบอกเราเมื่อปี พ.ศ.2555

แต่นอกเหนือจากการจัดการกับผลที่ตามมาจากอุบัติเหตุอันน่าเศร้า พวกเขายังต้องรับมือกับอนาคตทางธุรกิจของฟาร์ม ฐานลูกค้าของพวกเขาลดลงเนื่องจากกลัวการปนเปื้อนในการผลิต และพวกเขายังคิดเกี่ยวกับการเลิกทำการเกษตรด้วย



Tatsuko Okawara ร้องไห้ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในร้านของเธอในปี พ.ศ.2557 ขณะที่เธอพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ

แทนที่จะปล่อยให้อุบัติเหตุนิวเคลียร์มีอิทธิพลต่อพวกเขา พวกเขารู้ว่าพวกเขาจะต้องก้าวไปข้างหน้า เพื่อตัวพวกเขาเอง เพื่อชุมชนและเพื่ออนาคตของลูกหลาน

ในปี พ.ศ.2556 พวกเขาเปิดร้านค้าแบบเกษตรอินทรีย์ ชื่อร้านว่า Esperi ขึ้น ในเมือง Miharu จังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งเป็นเมืองทางการเกษตร พวกเขามีความตั้งใจที่จะช่วยฟื้นฟูพื้นที่และสร้างพื้นที่ชุมชนที่ผู้คนสามารถมารวมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เมื่อพิจารณาดูแล้วชื่อร้าน Esperi หมายถึง ความหวัง ในภาษา Esperanto แต่นี่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2558 คู่สามีภรรยาได้ปล่อยโครงการ  Solarise Fukushima crowdfunding เพื่อติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนชั้นดาดฟ้าที่ร้านค้าของพวกเขา จุดมุ่งหมายของพวกเขาคือ “ความหวังที่จะแพร่กระจายชีวิตด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากเมือง Miharu จังหวัดฟุกุชิมะ”

ก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัว คนทั่วประเทศญี่ปุ่นและคนอื่นๆทั่วโลกก็เริ่มบริจาคให้โครงการระดมทุนสาธารณะ (crowdfunding) ของพวกเขาแล้ว ประมาณหนึ่งเดือนต่อมาพวกเขาบรรลุเป้าหมาย คือมีเงินประมาณ 1.5 ล้านเยน (ประมาณ 13,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้อความจากผู้คนที่สนับสนุนเงินทุน ให้กำลังใจที่พวกเขาต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขารู้สึกว่า "ถูกลืมไปแล้ว" แต่ไม่ใช่เลย


นอกจากนี้ คู่สามีภรรยา Okawara ยังเป็นนักแสดงที่มีความกระตือรือร้นอีกด้วย นี่คือภาพที่ Shin เล่นกีตาร์และร้องเพลง ...

…ในขณะที่ Tatsuko เป็นนักเชิดหุ่นที่มีความสามารถ เธอกำลังทำการแสดงเรื่อง "Taro and Hanako" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงของคู่สามีภรรยาที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

กรีนพีซญี่ปุ่น ได้ช่วยเผยแพร่โครงการนี้ และในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2559 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ถูกติดตั้งบนชั้นดาดฟ้าของร้าน Esperi



คู่สามีภรรยา Okawara และฉันช่วยกันติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แผ่นแรก…
 
 


คนงานก็กำลังติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหลือ
 
 


ในระหว่างนั้นเด็ก ๆ ในชุมชนก็เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์

 


และเมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกเราทุกคนก็มีความสุข

 


ใช่แล้ว พวกเราทุกคนมีความสุข

 


โดยเฉพาะ สองคนนี้ ☺

 


ตอนนี้ร้าน Esperi มีระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 10 กิโลวัตต์และจะสร้างกระแสไฟฟ้า 10 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ในทุกๆปี

เมื่อทีมสืบสวนการแผ่รังสีของกรีนพีซสากล ได้พบกับคู่สามีภรรยาเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2554 นาง Okawara กล่าวว่า:

“ผู้คนที่ฟุกุชิมะค่อนข้างเป็นคนซื่อ เป็นเวลานานแล้วที่พวกเราไม่มีเงินและเพิ่งยอมรับแผนการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่สำหรับอนาคตลูกหลานของเรามันจะเป็นความอัปยศ ถ้าเราไม่ดำเนินการทำเกษตรอินทรีย์ต่อและดำเนินการอย่างเข้มงวด”

ในปี พ.ศ.2555 จังหวัดฟุกุชิมะ ให้คำมั่นที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ.2583 แต่นโยบายที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งเสริมในปัจจุบันคือ การมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม

เพื่อให้ก้าวถึงเป้าหมายระบบพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืน เชื่อถือได้ และราคาไม่แพง รัฐบาลญี่ปุ่นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงมาตรการของตนอย่างเร่งด่วน จะต้องใส่ใจประชาชนก่อนสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ และหยุดความพยายามที่เปล่าประโยชน์ในการเริ่มเดินเครื่อง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีกครั้ง หยุดการลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งมีส่วนในการทำลายสภาพภูมิอากาศ และตั้งเป้าหมายพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ท้าท้าย

สำหรับชาวฟุกุชิมะความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา คือการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์และอนาคตที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและปลอดภัย ร้าน Esperi เป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนในอนาคตของชุมชน สิ่งนี้เองคือความหวังของพวกเรา

Ai Kashiwagi ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงาน กรีนพีซญี่ปุ่น

แปลโดย นางสาวจันทร์นารี ถัดทะพงษ์ /อาสาสมัครกรีนพีซ


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/55777

Share this