โรคเมอร์ส ไวรัสเมอร์ส (Mers) คืออะไร อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส
สมาชิกเลขที่153199 | 27 ต.ค. 56
1.1K views
โรคเมอร์ส (Mers) คืออะไร
โรคเมอร์ส (Mers : Middle East Respiratory Syndrome) คือโรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โคโรนา (Corona Virus) หรือที่เรียกว่า เชื้อไวรัสเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV) หรือ EMC/2012 (HCoV-EMC/2012) เนื่องจากพบการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2012 เดิมทีเดียวไวรัสสายพันธุ์โคโรนานี้มักพบในสัตว์จำพวกค้างคาวบางชนิดและอูฐที่เลี้ยงกันมากทางตะวันออกลางที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ต่อมาพบว่าเจ้าไวรัสมรณะนี้ได้พัฒนาสายพันธุ์ตัวเองให้สามารถกระจายมาสู่คน และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ในที่สุด การระบาดของเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คนนั้น ตรวจพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555) ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยผู้ป่วยรายแรกเป็นชายวัย 60 ซึ่งต่อมาเสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย จากนั้นเชื้อไวรัสเมอร์สได้ระบาดลุกลามอย่างรวดเร็วในประเทศซาอุดิอาระเบียและประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง และการะจายสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกในปัจจุบัน เชื้อไวรัสโคโรน่าต้นเหตุของโรคเมอร์สนี้ มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส (SARS : Severe Acute Respiratory Syndrome) แต่มีอาการที่รุนแรงกว่า หมายเหตุ บางครั้งจะเรียกไวรัสตัวนี้ว่า “เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง” และโรคเมอร์ส บางครั้งเรียกว่า “โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง”
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส/ผู้ป่วยโรคเมอร์ส
อาการเบื้องต้นของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเมอร์สนั้นจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด กล่าวคือจะมีอาการไอ จาม มีไข้สูง และหอบเหนื่อย อาจะมีอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วย จากนั้นจะมีอาการรุนแรงขึ้นเช่น ปอดอักเสบ ไตวาย และระบบการหายใจล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น เพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาด สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ถ้ามีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที
วิธีป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสเมอร์ส
เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง ดังนั้นควรป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสตัวนี้ให้มากที่สุด ดังนี้
- หลีกเลี่ยงเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาด
- ผู้ที่ทำการใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควรสวมหน้ากากอนามัย
- ไม่เข้าไปอยู่ใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหวัดหรือมีอาการคล้ายหวัด
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดพลุกพล่าน
- หมั่นสังเกตุคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว ถ้ามีอาการน่าสงสัย ให้พาไปพบแพทย์ทันที
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
- รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ
- ล้างมือบ่อยๆ
วิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคเมอร์ส
ปัจจุบันยังไม่มียา วัคซีน หรือเครื่องมือใดๆที่จะสามารถรักษาอาการโรคจากไวรัสเมอร์สได้โดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก (ราว 30% ของผู้ป่วย) การรักษานั้นแพทย์จะทำการรักษาตามอาการและประคองอาการเท่านั้น ดังนั้นใครที่มีภาวะเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตุตัวเอง ถ้ามีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
โรคเมอร์ส (Mers : Middle East Respiratory Syndrome) คือโรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โคโรนา (Corona Virus) หรือที่เรียกว่า เชื้อไวรัสเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV) หรือ EMC/2012 (HCoV-EMC/2012) เนื่องจากพบการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2012 เดิมทีเดียวไวรัสสายพันธุ์โคโรนานี้มักพบในสัตว์จำพวกค้างคาวบางชนิดและอูฐที่เลี้ยงกันมากทางตะวันออกลางที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ต่อมาพบว่าเจ้าไวรัสมรณะนี้ได้พัฒนาสายพันธุ์ตัวเองให้สามารถกระจายมาสู่คน และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ในที่สุด การระบาดของเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คนนั้น ตรวจพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ.2555) ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยผู้ป่วยรายแรกเป็นชายวัย 60 ซึ่งต่อมาเสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย จากนั้นเชื้อไวรัสเมอร์สได้ระบาดลุกลามอย่างรวดเร็วในประเทศซาอุดิอาระเบียและประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง และการะจายสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกในปัจจุบัน เชื้อไวรัสโคโรน่าต้นเหตุของโรคเมอร์สนี้ มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส (SARS : Severe Acute Respiratory Syndrome) แต่มีอาการที่รุนแรงกว่า หมายเหตุ บางครั้งจะเรียกไวรัสตัวนี้ว่า “เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง” และโรคเมอร์ส บางครั้งเรียกว่า “โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง”
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส/ผู้ป่วยโรคเมอร์ส
อาการเบื้องต้นของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเมอร์สนั้นจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด กล่าวคือจะมีอาการไอ จาม มีไข้สูง และหอบเหนื่อย อาจะมีอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วย จากนั้นจะมีอาการรุนแรงขึ้นเช่น ปอดอักเสบ ไตวาย และระบบการหายใจล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น เพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาด สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ถ้ามีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที
วิธีป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสเมอร์ส
เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง ดังนั้นควรป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสตัวนี้ให้มากที่สุด ดังนี้
- หลีกเลี่ยงเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาด
- ผู้ที่ทำการใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควรสวมหน้ากากอนามัย
- ไม่เข้าไปอยู่ใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหวัดหรือมีอาการคล้ายหวัด
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดพลุกพล่าน
- หมั่นสังเกตุคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว ถ้ามีอาการน่าสงสัย ให้พาไปพบแพทย์ทันที
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
- รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ
- ล้างมือบ่อยๆ
วิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคเมอร์ส
ปัจจุบันยังไม่มียา วัคซีน หรือเครื่องมือใดๆที่จะสามารถรักษาอาการโรคจากไวรัสเมอร์สได้โดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก (ราว 30% ของผู้ป่วย) การรักษานั้นแพทย์จะทำการรักษาตามอาการและประคองอาการเท่านั้น ดังนั้นใครที่มีภาวะเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตุตัวเอง ถ้ามีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที