ชื่องานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
ชื่อผู้วิจัย นายเกียรติพงษ์ ชาวบัวใหญ่
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในรูปแบบชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ (2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และ (4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 1/2552 จำนวน 42 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 หน่วยประสบการณ์ ได้แก่ หน่วยประสบการณ์ที่ 1 การประชาสัมพันธ์อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ หน่วยประสบการณ์ที่ 7การวิเคราะห์การแพร่ระบาดของสารเสพติด หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การประชาสัมพันธ์อันตรายจากสารเสพติด หน่วยประสบการณ์ที่ 9 การปฏิบัติการป้องกันสารเสพติด และหน่วยประสบการณ์ที่ 10 การศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณภาพชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพด้วย E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยผลิตขึ้นทั้ง 5 หน่วยประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 84.17/84.67 , 85.08/85.67 , 85.58/87.00 , 88.25/86.00 และ 87.08/85.67 ตามลำดับ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความคิดเห็นต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ในระดับ เห็นด้วยมาก
คำสำคัญ นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ วิทยาศาสตร์
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม