สัญลักษณ์ประจำประเทศไทย
สมาชิกเลขที่46834 | 06 มิ.ย. 54
18.3K views
สัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity)
1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas)
ลักษณะ : เป็นช้างเผือก ภายในวงกลมพื้นสีแดง
เหตุผล : "ช้างไทย" เป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณี
ของไทยมาช้านาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีอายุยืนนาน ตลอดจน
เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยช้างที่มีลักษณะเป็นมงคล
ตามตำราคชลักษณ์จะเป็นสัตว์คู่บารมี และใช้ช้างในการศึกสงคราม
มาโดยตลอด
2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.)
ลักษณะ : ดอกราชพฤกษ์ มีสีเหลืองออกดอกเป็นช่อห้อยเป็นพวงระย้า ดอกที่ออก
จะมีทั้งดอกตูม ดอกบาน ส่วนเกสรจะร่วงบ้างในบางดอกตามกาลเวลา
ซึ่งธรรมชาติดอกราชพฤกษ์จะบานไม่พร้อมกัน
เหตุผล : ต้นราชพฤกษ์ หรือคูนเป็นต้นไม้พื้นเมือง รู้จักกันแพร่หลายสามารถปลูก
ขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีประโยชน์มาก ฝักเป็นสมุนไพรมีค่ายิ่ง
ในตำรับแพทย์แผนโบราณ และแก่นแข็งใช้ทำเสาเรือนได้ดี
- ต้นคูน มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อ
เป็นมงคลนาม และอาถรรพ์ มีอายุยืนนาน มีทรวดทรงและพุ่มงาม
- แก่นไม้ราชพฤกษ์เคยใช้ในพิธีสำคัญๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง
ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำยอดคฑาจอมพล
และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร
3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion)
ลักษณะ : เป็นศาลาไทยประเภทเรือนเครื่องสับ อยู่ภายในวงกลม
ตั้งอยู่บนพื้นสีเขียว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความ
เป็นประเทศเกษตรกรรมของชาติไทย ฉากด้านหลังเป็น
สีฟ้าแสดงถึงความสดใสของประเทศไทย อันเป็นประเทศ
ในเขตร้อน สีของท้องฟ้าที่สดใสจึงแสดงถึงความสดใสเบิกบาน
เหตุผล : ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย
มีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมชาติอื่น
ที่มา : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas)
ลักษณะ : เป็นช้างเผือก ภายในวงกลมพื้นสีแดง
เหตุผล : "ช้างไทย" เป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณี
ของไทยมาช้านาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีอายุยืนนาน ตลอดจน
เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยช้างที่มีลักษณะเป็นมงคล
ตามตำราคชลักษณ์จะเป็นสัตว์คู่บารมี และใช้ช้างในการศึกสงคราม
มาโดยตลอด
2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.)
ลักษณะ : ดอกราชพฤกษ์ มีสีเหลืองออกดอกเป็นช่อห้อยเป็นพวงระย้า ดอกที่ออก
จะมีทั้งดอกตูม ดอกบาน ส่วนเกสรจะร่วงบ้างในบางดอกตามกาลเวลา
ซึ่งธรรมชาติดอกราชพฤกษ์จะบานไม่พร้อมกัน
เหตุผล : ต้นราชพฤกษ์ หรือคูนเป็นต้นไม้พื้นเมือง รู้จักกันแพร่หลายสามารถปลูก
ขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีประโยชน์มาก ฝักเป็นสมุนไพรมีค่ายิ่ง
ในตำรับแพทย์แผนโบราณ และแก่นแข็งใช้ทำเสาเรือนได้ดี
- ต้นคูน มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อ
เป็นมงคลนาม และอาถรรพ์ มีอายุยืนนาน มีทรวดทรงและพุ่มงาม
- แก่นไม้ราชพฤกษ์เคยใช้ในพิธีสำคัญๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง
ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำยอดคฑาจอมพล
และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร
3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion)
ลักษณะ : เป็นศาลาไทยประเภทเรือนเครื่องสับ อยู่ภายในวงกลม
ตั้งอยู่บนพื้นสีเขียว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความ
เป็นประเทศเกษตรกรรมของชาติไทย ฉากด้านหลังเป็น
สีฟ้าแสดงถึงความสดใสของประเทศไทย อันเป็นประเทศ
ในเขตร้อน สีของท้องฟ้าที่สดใสจึงแสดงถึงความสดใสเบิกบาน
เหตุผล : ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย
มีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมชาติอื่น
ที่มา : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
การอ้างอิง
[1] |
ช้างไทย(รูปภาพ)
www.dhammathai.org
|
[2] |
ดอกราชพฤกษ์(รูปภาพ)
www.dhammathai.org
|
[3] |
ศาลาไทย(รูปภาพ)
www.dhammathai.org
|
[4] |
www.identity.opm.go.th
|