ประโยชน์ของตะไคร้ พันธุ์ไม้ไทย
สมาชิกเลขที่76782 | 16 ก.ย. 55
3.7K views

ตะไคร้เป็นพืชที่ดีและและมีประโยชน์นานับประการ วันนี้เรามารู้จักตะไคร้ให้มากยิ่งขึ้น ว่าประโยชน์ของตะไคร้นั้นมีอะไรบ้าง

ชื่ออื่น ๆ : คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), จะไคร(เหนือ), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ไคร(ใต้)

ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citrates (DC. Ex Nees) Stapf.

วงศ์ : GRAMINAE

ประโยชน์ของตะไคร้

ประโยชน์ของตะไคร้

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี

ใบ : ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต

ดอก : ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอ หรือหัวออกมาปลูกเป็นต้นใหม่

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น หัว ใบ ราก และต้น

สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพืชในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนขอบทวีปเอเชีย และแอฟริกา ส่วนในประเทศไทย นั้นปลูกเป็นพืชสวนครัวมากกว่า

ตำรับยา : มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย

ข้อมูลทางคลีนิค :
1. ภายในน้ำมันหอมระเหยนั้นจะมีสารเคมีพวก citral, citronella และ geraneol ซึ่งจะมีฤทธิ์สามารถยับยั้ง
2. เมื่อเอากระดาษที่ใช้ห่ออาหารทาด้วยอิมัลชั่นของน้ำมันตะไคร้ ซึ่งค้นพบได้ว่า สามารถป้องกันสุนัข และแมวได้ดีอยู่ได้นาน 7-10 วัน
3. น้ำมันหอมระเหยนี้จะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรคพืชหลาย ชนิดในหลอดทดลอง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ใบและต้นแห้งนั้นจะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ส่วนปลายของสัตว์ที่ตัดแยกจากลำตัว เช่น กระต่าย ส่วนรากแห้งจะนำมาสกัดด้วยน้ำร้อนขนาด 2.5 ก./ก.ก. ซึ่งผลออก มาแล้วจะไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายเลย และถ้านำทั้งต้นมาสกัดจาก แอลกอฮอล์อยู่ 95% จะมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน โดยทำให้เกิดเป็นอัมพาตภายใน 24ชม. แต่พยาธินั้นจะไม่ตายเลย

สารเคมีที่พบ : ในใบมีสารพวก Citral, Methylheptenone, Eugenol, Iso-orientin, Methylheptenol, Furfural, Luteolin, Phenolic substance, Cymbopogonol, Cymbopogone, Citral A, Citral B, Essential oil, Waxes, Nerol, Myrcene, l-Menthol, Linalool, Geraniol, Dipentene, d-Citronellic acid, Cymbopol, 1,4-Cineolie

อื่น ๆ : น้ำมันระเหยภายในต้นนั้น จะมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อดินมีความชื้นสูง และพบว่าการคลุมดินกันน้ำระเหยจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยสูงเช่นกัน ซึ่งการใส่ปุ๋ยนั้นมีผลน้อยกว่า และถ้าใส่ปุ๋ยสูงเกินไปกลับจะทำให้ citral ลดลงและอุณหภูมิก็มีส่วนเช่นกัน ถ้าอุณหภูมิต่ำปริมาณน้ำมันก็ลดลง

Share this