การแปรรูปอาหาร
การแปรรูปอาหาร การเก็บรักษาอาหารและเครื่องดื่มไว้ที่ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม Emerson สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วถึงความเชื่อถือได้ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร เนื้อสัตว์ และเครื่องดื่มให้คงความสดใหม่ไว้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ
คอมเพรสเซอร์
คอมเพรสเซอร์ Copeland Scroll® รวมทั้งคอมเพรสเซอร์แบบเซมิเฮอร์เมติคและแบบเฮอร์เมติค ช่วยให้อาหารยังคงความสดเอาไว้ได้ ตั้งแต่ขั้นตอนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งถึงมือลูกค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารรายใหญ่ของโลกหลายราย ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่เจาะจงเลือกใช้คอมเพรสเซอร์ Copeland® ด้วยเหตุผลในด้านประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม ความเชื่อถือได้ และความทนทานแม้กับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
คอมเพรสเซอร์แบบสกรูเดี่ยว Vilter® ของ Emerson คือโซลูชั่นที่ยอดเยี่ยมสำหรับโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ที่จำเป็นต้องลดอุณหภูมิของกระบวนการทำงานขนาดใหญ่ลงให้ถึงระดับที่กำหนดภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว
วาล์ว อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์ป้องกันระบบ
วาล์วควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ซีรี่ส์ EX จาก Emerson ช่วยให้การควบคุมการไหลของน้ำยาทำความเย็นมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ โดยมีระยะเวลาตอบสนองการทำงานที่รวดเร็วที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน จึงเหมาะเป็นพิเศษสำหรับระบบทำความเย็นในระดับอุตสาหกรรม
โซลินอยด์วาล์วของ Emerson อย่างเช่นซีรี่ส์ 200RB ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้สามารถทำได้ได้อย่างไร้ปัญหา ปราศจากรอยรั่ว เหมาะสำหรับการใช้งานกับระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ เช่น เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วแบบใช้ความร้อนซีรี่ส์ HF และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ควบคุมแรงดันและอุณหภูมิของ Emerson คือสัญลักษณ์แห่งความเชื่อถือได้ที่จะทำหน้าที่เก็บรักษาอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลงได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Emerson ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้แก่ ตัวกรองและดูดความชื้นที่ท่อดูดและท่อของเหลวทำจากเหล็กกล้า (STAS) ตัวกรองและดูดความชื้นที่ท่อดูดแบบถอดแยกได้ทำจากทองเหลือง ตัวกรองและดูดความชื้นที่ท่อของเหลวชนิดแกน (ADK) อุปกรณ์ควบคุมน้ำมัน และวาล์วตัดการทำงาน
การทำให้แห้ง
๑ การตากแดด คนโบราณสังเกตเห็นว่าเมล็ดธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เมื่อแก่และทิ้งไว้ให้แห้งตามธรรมชาติสามารถเก็บไว้ได้นาน ดังนั้นจึงมีการเลียนแบบธรรมชาติ โดยการผึ่งลมและตากแดดให้แห้ง เพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่นกล้วยตาก ปลาแห้ง ผักตากแห้ง เครื่องเทศ เป็นต้น
สำหรับเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อหมูในกรณีที่มีเนื้อสดเหลือมากก็มีการทำแห้งเช่น เดียวกัน โดยแล่เป็นชิ้น นำมาคลุกเกลือเพื่อป้องกันการเน่าเสีย แล้ววางแผ่บนตะแกรงหรือกระด้ง นำออกตากแดดจนแห้ง ในระหว่างตากก็กลับชิ้นเนื้อให้ทุกส่วนได้รับความร้อนจากแสงแดด เมื่อแห้งแล้วจึงนำมาเก็บ โดยการผึ่งบนกระจาดไม่ต้องปิดมิดชิด เพราะจะทำให้มีกลิ่นเหม็น
๒ การกวน การกวนเป็นการลดปริมาณน้ำในเนื้ออาหารอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ความร้อนต่ำ เช่น มะม่วงกวนทุเรียนกวน เป็นต้น ผลไม้ที่จะนำมากวนมักจะเป็นผลไม้สุกที่เหลือจากการรับประทานสด นำเฉพาะเนื้อผลไม้นั้นมาขยี้ให้เนื้อแตกแล้วใส่กระทะ หรือหม้อ ตั้งไฟอ่อน ๆ หรือปานกลาง ใช้ไม้พายคนหรือกวนผลไม้นั้นให้เข้ากันและกวนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้น้ำระเหยออกและไม่ให้เนื้อผลไม้ติดกับ กระทะ จนกระทั่งเนื้อผลไม้นั้นข้นเหนียว แล้วจึงยกออกจากเตาไฟ และคนต่อไปอีกจนกระทั่งความร้อนลดลง นำเข้าเก็บในขวดหรือหม้อ แล้วปิดฝา
การกวนผลไม้ที่ไม่ค่อยมีรสหวาน ส่วนมากจะนิยมเติมน้ำตาล เพื่อเพิ่มความหวานให้ผลไม้ นั้น เช่น สับปะรด เนื่องจากมีรสเปรี้ยว ดังนั้นการกวนส่วนมากจะเติมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความหวาน และอาจเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติหรือบางชนิดอาจเติมกะทิด้วย เช่น การกวนกล้วย เป็นต้นผลประเภทฟักทอง มันเทศ เผือก โดยปกติจะสามารถเก็บได้หลายวัน เพราะมีเปลือกหนาแต่อาจจะนำมากวนเพื่อเก็บไว้รับประทานเป็นอาหารหวานได้
๓ การต้มหรือนึ่งแล้วตากแห้ง การต้มหรือนึ่งหรือลวก จะเป็นการไล่ฟองอากาศจากเนื้อเยื่อของวัตถุดิบและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการรักษาสีของผลิตภัณฑ์ ป้องกันการเน่าเสีย เช่นกุ้งแห้ง ทำโดยต้มกุ้งสดในน้ำเกลือเจือจาง แล้วนำมาเกลี่ยบนตะแกรงหรือเสื่อที่ทำด้วยไม้ไผ่ตากแดดให้แห้ง เมื่อสังเกตเห็นว่าเปลือกกุ้งกรอบก็เอาเปลือกออกซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใส่ถุงผ้าแล้วทุบด้วยของหนัก ๆ หรือฟาดกับพื้น เพื่อให้เปลือกกุ้งและหัวหลุดออกจากตัวกุ้ง นำมาฝัดเอาเปลือกและหัวกุ้งออก ตัวเนื้อกุ้งที่เหลือจะมีสีชมพูนำมาเกลี่ยบนตะแกรงหรือเสื่อ เพื่อตากแดดอีกครั้งหนึ่งจนแห้ง การตากแดสองระยะจะใช้เวลาประมาณ ๓ - ๕ วัน ทั้งนี้แล้วแต่ความร้อนจากแสงแดดและปริมาณของกุ้งบนเสื่อ เมื่อแห้ ดีแล้วเก็บใส่ในภาชนะที่ปิดสนิท สามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน
ผลไม้กวน การรมควัน
วิธีนี้จะใช้ในการเก็บรักษาปลาในรูปของปลาย่างแห้ง ขั้นต้นต้องทำความสะอาดปลาโดยเอาไส้และพุงออกให้หมด ล้างให้สะอาด แล้ว วางปลาบนตะแกรงไม้ไผ่เหนือกองไฟที่มีควันเชื้อเพลิงที่ใช้เพื่อทำให้เกิดควัน ได้แก่ กาบมะพร้าว ชานอ้อย ขี้เลื่อย โดยทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างช้า ๆ และมีควันออกมา จะต้องครอบเตาด้วยภาชนะที่สามารถเก็บควันให้รมปลาอยู่ภายใน ใช้ถ่านหรือฟืนเป็นตัวที่ทำให้เกิดความร้อนในการย่างหมั่นกลับปลาบ่อย ๆ ควันจะจับที่ตัวปลาแล้วยังจับที่ผิวของปลาทำให้มีสีน้ำตาลอมเหลือง และทำให้ปลามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวชวนรับประทานปลาที่นิยมทำเป็นปลารมควัน ได้แก่ ปลาเนื้ออ่อน
ปลาช่อน ปลากดทะเล ฯลฯ ปลารมควันถ้าเก็บโดยแขวนผึ่งลม และมีอากาศถ่ายเทจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ ๒ - ๓ เดือน