ความหมายทรัพยากรธรรมชาติ
สมาชิกเลขที่76362 | 24 ส.ค. 55
158.5K views

 

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ

          ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเอง อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง (ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง,2523:4) ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ (เกษม จันทร์แก้ว,2525:4)

          ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติมักจะมองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยก็คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการจัดประเภททรัพยากรธรรมชาติไว้หลายประเภทด้วยกัน เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ

          การใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" และคำว่า "สิ่งแวดล้อม" บางครั้งผู้ใช้อาจจะเกิดความสับสนไม่ทราบว่าจะใช้คำไหนดี จึงน่าพิจารณาว่าคำทั้งสองนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ เกษม จันทร์แก้ว (2525:7-8) ได้เสนอไว้ดังนี้

          1. ความคล้ายคลึงกัน ในแง่นี้พิจารณาจากที่เกิด คือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน มนุษย์รู้จักใช้ รู้จักคิดในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ และมนุษย์อาศัยอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ แล้วมนุษย์ก็เรียกสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่า "สิ่งแวดล้อม" ความคล้ายคลึงกันของคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม

          2. ความแตกต่าง ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะไม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้เลย

          ถ้าแยกมนุษย์ออกมาในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" แต่ถ้าต้องการกล่าวรวม ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ควรใช้คำว่า "สิ่งแวดล้อม" แต่ถ้าต้องการเน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ คน จะเข้าใจถึงเรื่องของน้ำเสีย ควันพิษในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ ขยะมูลฝอย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม มีความหมายกว้างมาก มีความสัมพันธ์กับทุก ๆ สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ใน Module นี้ จะสนทนากัน ในเรื่องของคน มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยที่ตระหนักอยู่เสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาเรื่อง ความสมดุลย์ของ ธรรมชาติกับคนยังไม่มี คนส่วนใหญ่ในยุคต้น ๆ จึงมีชีวิตอยู่ใต้ อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มีลักษณะที่ ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่เนื่องจาก มีความเจริญก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ขยายตัวมากขึ้น ประกอบด้วย ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดปัญหา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ขึ้นในโลกสีเขียวของเรา เช่น ปัญหาทางด้าน ภาวะมลพิษทางเสียและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมสลาย ปัญหาการตั้งถิ่นฐาน และชุมชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องกล่าวถึง มนุษย์กับความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4630400448/thermo2/coalart.gifทรัพยากรพลังงานและเชื้อเพลิง

 

พลังงาน หมายถึง แรงงานที่ได้มาจากธรรมชาติ อาจจำแนกออกได้ตามแหล่งที่มาเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy) ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ ไอน้ำใต้ดิน แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย และพลังงานแปรรูป (Secondary Energy) ซึ่งได้มาโดยการนำพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวข้างต้นมาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านโค้ก แก๊สหุงต้ม เป็นต้น จึงนับได้ว่าพลังงานเป็นบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังจะเห็นได้จากการใช้แหล่งพลังงานดังนี้ คือ

 

พลังงานทั่วไป

ประเทศไทยใช้พลังงานในรูปต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นการใช้พลังงานในรูปผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (รวมแก๊ส) โดยเทียบเป็นค่าความร้อนทั้งหมด ประมาณร้อยละ 81.7 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด พลังงานที่ใช้รองลงมา ได้แก่ พลังน้ำ ซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณร้อยละ 8.6 จากชานอ้อยประมาณร้อยละ 6.2 และถ่านหินประมาณร้อยละ 2.4 ไม้ฟื้นประมาณร้อยละ 0.5 แกลบประมาณร้อยละ 0.4 และถ่านไม้ประมาณร้อยละ 0.2

พลังงานไฟฟ้า

ในปี 2518 ความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดมีทั้งสิ้นประมาณ 1,407 เมกกะวัตต์ และพลังงานไฟฟ้าประมาณ 8,212 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง มีกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดจำนวน 2,438 เมกกะวัตต์ จำแนกเป็นกำลังผลิตติดตั้งจากพลังน้ำ 909 เมกกะวัตต์ พลังไอน้ำ 1,334 เมกกะวัตต์ เครื่องกังหันแก๊ส 165 เมกกะวัตต์ และเครื่องดีเซลอีก 30 เมกกะวัตต์ จากระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดนี้ ปรากฏว่าต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตถึงประมาณร้อยละ 56-62 ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14 ต่อปี พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ส่วนใหญ่ร้อยละ 65 อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั่วประเทศเท่านั้นที่ได้รับบริการสาธารณูปโภคในด้านนี้ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี

.ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลัอม และพลังงาน

   ทรัพยากรธรรมชาติ    หมายถึง    สิ่งหรือทรัพย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ     กระบวนการต่าง ๆ  ทางฟิสิกส์  เคมี  และสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม     นักอนุรักษ์วิทยา

คำอธิบาย: http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTZ6HMEnjKN3Cv2nbgYqOPTIXNHB15egrBNBgeJoM2xJa6bnKnrSd-pIQ_bTgแบ่งทรัพยากรธรรมชาติไว้ 3 ประเภท  ได้แก่ทรัพยากรฯที่ใช้แล้วไม่หมด  ทรัพยากรฯที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้  และทรัพยากรฯที่ใช้แล้วหมด

  สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา  ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่เกิดจากการสร้าขึ้นของมนุษย์  ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  สิ่งแวดล้อมมีสมบัติเฉพาะตัว สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ  จะมีความต้องการต่อสิ่งอื่น ๆ เสมอ  หรือกล่าวได้ว่าสิ่งแวดล้อมต้องอยู่เป็นระบบถ้าสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกกระทบย่อมมีผลต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยเสมอ

 พลังงาน  หมายถึง  ความสามารถในการทำงานที่มีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้งานได้  ได้แก่พลังงานหมุนเวียน  หรืออาจหมายถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ก่อให้เกิดพลังงาน  เมื่อใช้แล้วสามารถเกิดทดแทนได้  และพลังงานสิ้นเปลืองอาจหมายถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ก่อให้เกิดพลังงานแต่เมื่อใช้แล้วไม่สามารถเกิดทดแทนได้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ในด้านพลังงานถ้าไม่ต้องผ่านการแปรรูปเลยเรียกว่า  พลังงานต้นกำเนิด   ส่วนที่ผ่านการแปรรูปเรียกว่า  พลังงานแปรรูป

  ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  และพลังงาน  มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งแยกจากกันไม่ได้  ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกกระทบกระเทือนย่อมมีผลต่อสิ่งอื่น ๆ ด้วยเสมอ  ดังนั้น  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและพลังงาน  ต้องเป็นไปตามหลักอนุรักษ์วิทยา  นั่นคือ  ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  คุ้มค่าที่สุด  ใช้ให้ได้นานที่สุด  ผลกระทบน้อยที่สุดและเหมาะกับกาลเวลาที่จะใช้  รวมทั้งขณะใช้ถ้าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถเกิดทดแทนได้ต้องพยายามหาสิ่งทดแทนเสมอ

พลังงานสิ้นเปลือง

  พลังงานสิ้นเปลือง  หมายถึง  พลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมด  ไม่สามารถเกิดทดแทนได้แบ่งออกเป็นพลังงานสิ้นเปลืองที่ป็นฟอสซิล (Fossil) หรือซากพืชซากสัตว์  ที่ทับถมกันเป็นเวลานับล้าน ๆ ปี  ภายใต้เปลือกโลกที่มีความร้อนและความดันสูง  ได้แก่ปิโตรเลียม  หรือน้ำมันดิบ  ก๊าซธรรมชาติ  ถ่านหิน  และหินน้ำมัน  อีกอย่างหนึ่ง  ได้แก่พลังงานสิ้นเปลืองที่ไม่ใช่ฟอสซิล  ได้แก่  พลังงานนิวเคลียร์  ซึ่งเกิดจากทำลายนิวเคลียสของธาตุกัมมันตภาพรังสีที่หนักให้สลายตัวหรือแตกตัวจะปลดปล่อยพลังงานออกมาแล้วเรานำพลังงานที่ได้ออกมาในรูปของพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์  เครื่องที่ผลิตพลังงานนิวเคลียร์ชนิดแตกตัวเรียกว่า  เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์  ส่วนใหญ่นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า  ปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกชนิดหนึ่งได้แก่ปฏิกิริยาหลอมรวมตัวของธาตุเบาเป็นธาตุหนัก  เช่น  ไฮโดรเจนหลอมรวมตัวเป็นฮีเลียม ซึ่งเกิดอยู่ทุกเวลาในดวงอาทิตย์  จะได้พลังงานมหาศาลเช่นกัน  และมากกว่าปฏิกิริยาแตกตัวถึง 4 เท่า ดังนั้นการควบคุมจึงยังอยู่ในรูปแบบของการคิดค้นหามาใช้ประโยชน์

5.ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับระบบนิเวศ

 ระบบนิเวศ  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  และสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีการถ่ายเทพลังงานและมวลสารระหว่างระบบนิเวศต่อระบบนิเวศด้วยกัน  ซึ่งเรียกว่าระบบนิเวศเปิด    ระบบนิเวศมีในธรรมชาติและระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น   ระบบนิเวศอาจจะใหญ่หรือเล็กขนาดไหนก็ได้        ระบบนิเวศใหญ่ที่สุดได้แก่    โลก    ซึ่งเรียกว่า     ไบโอสเฟียร์ (Biosphere)  ภายในระบบนิเวศจะมีการควบคุมกันเองโดยการปรับตัว  การแทนที่  การทวีจำนวนเพื่อให้ระบบนิเวศเหล่านั้นมีองค์ประกอบของระบบนิเวศที่สมบูรณ์     และทำหน้าที่ตามลักษณะขององค์ประกอบต่าง ๆ    เพื่อให้ได้ชนิด     ปริมาณ     สัดส่วน    และการกระจายของสิ่งมีชีวิตพอเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่  ซึ่งเรียกว่า  สมดุลนิเวศ

พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน  หมายถึง  พลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่สิ้นเปลืองหรือพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นับวันจะหมดไป  เพื่อให้มีพลังงานใช้ตลอดไปโดยไม่เกิดวิกฤตพลังงานและไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม  พลังงานทดแทนอาจจะเป็นการเติมสารที่ได้จากธรรมชาติใช้แล้วหมด    ในเชื้อเพลิงฟCopyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburiอสซิล    เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและราคาถูกลง  เช่นแก๊สโซฮอล์  และดีโซฮอล์  เป็นน้ำมันที่เติมเอทานอลหรืออแอลกอฮอล์  แทนน้ำมันเบนซิลและดีเซลหรือพลังงานที่ได้จากแหล่งที่ไม่หมด ได้แก่ น้ามันพืช  บโอดีเซล  ดีเซลลปาล์มบริสุทธิ์   เชื้อเพลิงชีวภาพ   พลังงานน้ำ   พลังงานลม  พลังงานแสงอาทิตย์  และพ ลังงานความร้อนใต้พิภพ  พลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานทางเลือก  ในขณะที่กำลังใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างมากมาย  ต้องคิดไปด้วยว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนใดมาแทน

 

Share this