ในปีหนึ่งๆ เกิดอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน? ความสูญเสียทางทรัพย์สินที่เกิด
จากอุบัติเหตุมีเท่าไหร่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสูญเสียที่เกิดกับชีวิตคน ทั้งที่เสียชีวิต หรือต้องพิการไป
เป็นจำนวนมาก บางคนอาจเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้วจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และถ้าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
กับอากาศยานล่ะ ความสูญเสียและความเสียหาย จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นร้อยเท่าพันเท่า ดังนั้นในปัจจุบัน
จึงมีการรณรงค์เป็นอย่างมากในการช่วยกันลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราสามารถลดอุบัติเหตุจนไม่เกิดขึ้นเลย
หรือ ZERO ACCIDENT จะดีที่สุด ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้หรอก, เพ้อฝัน หรือทำได้แค่ในตำราเท่านั้น
แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถทำเช่นนั้นได้ อย่างเช่นกองทัพอากาศของประเทศสิงคโปร์ (RSAF) สามารถทำให้เกิด
ZERO ACCIDENT ได้ถึง 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้รับโอกาสอันดีที่ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้มาจาก
ประเทศสิงคโปร์ (RSAF SAFETY OFFICERS’ COURSE) ซึ่งจะขอมาเขียนประสบการณ์นี้ให้ได้อ่านกัน
RSAF ได้กำหนดภารกิจทางด้านนิรภัยไว้อย่างโดดเด่นและเด่นชัดว่า “กองทัพอากาศสิงคโปร์จะพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจให้มากขึ้น ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็จะรับประกันความปลอดภัยว่าจะไม่มีการเกิด
อุบัติเหตุเกิดขึ้นแม้แต่รายเดียว” (THE SAFETY MISSION OF THE RSAF IS TO DEVELOP OPERATIONAL
CAPABILITY WHILE ENSURING ZERO ACCIDENT) ซึ่งการที่จะทำให้ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จนั้น
RSAF จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อ คือ
1. ZERO ACCIDENT เป็นเป้าหมายที่ทำได้
ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน (ZERO ACCIDENT
IS AN ACHIEVABLE GOAL)
2. ZERO ACCIDENT เป็นเครื่องชี้วัด
ความสามารถในการปฏิบัติงาน (ZERO
ACCIDENT IS AN INDICATOR OF
OPERATIONAL CAPABILITY)
3. การเขียนรายงานต่างๆ ทางด้านนิรภัย
เป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันอุบัติเหตุ
(INCIDENT REPORTING IS
MANDATORY FOR ACCIDENT
PREVENTION)
33
4. นิรภัยเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาก็จริง แต่จะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
และทุกคน (SAFETY IS A COMMAND RESPONSIBILITY THAT REQUIRES THE PARTICIPATION
OF EVERYONE)
ภารกิจทางด้านนิรภัย และวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ข้อ
ที่ RSAF ตั้งขึ้นมานั้น เกิดจากแนวความคิดต่างๆ
อย่างเช่น SAFETY FIRST CONCEPT แนวความคิดนี้
เป็นแนวความคิดที่ดี แต่เป็นจริงไม่ได้เนื่องจาก
ความปลอดภัยที่ดีที่สุด คือ ไม่ต้องบิน แต่ในความ
เป็นจริงเรามีภารกิจที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้ จึงไม่สามารถนำเรื่องความปลอดภัยมาตั้ง
เป็นอันดับแรกได้ และจากประวัติศาสตร์สงคราม
อย่างเช่น สงครามเวียดนาม จะพบว่าสถิติการตกของ
เครื่องบินจากอุบัติเหตุ มากกว่าจำนวนเครื่องบินที่ตก
ในสงครามเสียอีก ทำให้ในยุคต่อมาจึงมีการคิดถึง
ความปลอดภัยมากขึ้น และทำให้เรารู้ได้ว่าความจริงแล้ว
เรื่องนิรภัยไม่ได้เป็นการกีดขวางการปฏิบัติภารกิจ
ให้ประสบความเร็จ กลับกันนิรภัยกลับทำให้ภารกิจ
ต่างๆ ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยสูญเสียทรัพยากร
น้อยลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝน
และขยายงานด้านนิรภัยทั้งในยามสงบ และสงคราม
การทำให้เกิด ZERO ACCIDENT จะเป็นจริงได้โดยการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
หรือมากกว่า ที่ภารกิจต่างๆ ต้องการ และการจะบริหารให้ ZERO ACCIDENT คงอยู่ต่อไปอย่างต่อเนื่องได้ด้วย
การค้นหาสิ่งบอกเหตุที่อาจจะ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และกำจัดเสียก่อนที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
เพราะถ้าเรารอให้เกิดอุบัติเหตุก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไข
ก็จะเข้าสุภาษิต วัวหาย ล้อมคอก จึงทำให้เกิดแนวความคิด
ที่ว่า “จะเป็นการง่ายกว่ามากถ้าเราทำให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ทีแรก”
แต่ในสถานการณ์อุบัติเหตุหนึ่งๆ อาจทำให้เกิดผลได้มากกว่า
ที่เราจะสามารถคาดการณ์ได้ อย่างเช่น กรณีเครื่องบิน
เครื่องยนต์ดับ อาจทำให้เกิดผลลัพท์ที่แตกต่างกันได้อย่างมากมาย
ถ้าเพียงแต่มีการเปลี่ยนนักบิน สภาพอากาศ หรือตัวแปรอื่นๆ
ดังนั้นเราจึงควรสนใจป้องกันสภาวะที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
มากกว่าป้องกันผลที่จะเกิดจากอุบัติเหตุ
จากแนวความคิดที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าการจะทำให้
ZERO ACCIDENT เป็นจริงขึ้นมาได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
หลายสิ่งหลายอย่าง แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างมากคือ การที่คน
ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากความเคยชินในการ
34
ปฏิบัติแบบเดิมๆ และสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นไม่ใช่ของใหม่เลย ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้า
มากเพียงใด แต่รากเหง้าของการเกิดอุบัติเหตุยังคงเหมือนที่ผ่านมาในอดีตเสมอ ดังนั้นการเขียนรายงานต่างๆ
ด้านนิรภัยจึงมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิด ZERO ACCIDENT นอกจากนี้แล้วในการเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่งๆ
ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่อุบัติเหตุจะเกิดจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว ดังนั้นในการสืบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุ
จึงควรคิดให้ครอบคลุมทุกเรื่อง
จากแนวคิดต่างๆ รวมถึงภารกิจ และวัตถุประสงค์
ที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้เราทราบได้ว่าการจะทำให้เกิด
ZERO ACCIDENT จะต้องประกอบด้วยกิจกรรมหลายอย่าง
ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ คน จึงจะประสบ
ความสำเร็จได้ ซึ่งเราพอจะแบ่งกิจกรรมได้ดังนี้ SAFETY
PROGRAM MANAGEMENT, HUMAN FACTOR,
STRUCTURE, GROUND AND FLIGHT LINE SAFETY,
ACCIDENT INVESTIGATION, EXPLOSIVES AND
WEAPONS SAFETY, INSPECTION OF FLYING
OPERATIONS, OCCUPATIONAL SAFETY AND
HEALTH, GROUND OPERATIONS SAFETY, และ
FLIGHT OPERATIONS SAFETY
กิจกรรมทั้ง 10 ประการที่ได้กล่าวมานั้น RSAF
ได้ดำเนินการและพัฒนาการปฏิบัติอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
ทำให้ RSAF สามารถทำให้เกิด ZERO ACCIDENT ได้ถึง
3 ปีติดต่อกัน ดังนั้นจะเห็นว่าการที่จะทำให้เกิด ZERO
ACCIDENT นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากมากจนเกินไป แต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการปฏิบัติ และพัฒนา
กิจกรรมด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการส่งเสริม และเห็นความสำคัญจากผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ
จนทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด คือ “ZERO ACCIDENT” แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การเริ่มลงมือปฏิบัติ เพราะ
กว่าจะทำให้เกิด ZERO ACCIDENT ได้ ต้องอาศัยเวลา ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำให้เกิดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
ยิ่งลงมือปฏิบัติเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะสบประสบความสำเร็จก็เร็วขึ้นเท่านั้น ความสูญเสีย ความเสียหาย ทั้งต่อ
ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ยิ่งน้อยลงตามลำดับด้วย...เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะเริ่มลงมือทำให้เกิด
“ZERO ACCIDENT”
สุดท้ายนี้ กระผมต้องขอกราบขอบพระคุณ นาวาอากาศโท สุรฤทธิ์ กิจจาทร ตำแหน่ง ผู้บังคับฝูงบิน 603
กองบิน 6 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ และ นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม ตำแหน่ง
นักบินประจำกองบังคับการ กองบิน 6 ฯ เป็นอย่างสูงที่ได้ช่วยกรุณาตรวจความถูกต้อง และให้ความรู้ในการเขียน
บทความ ZERO ACCIDENT…ฝันที่เป็นจริง!!! จนบทความเสร็จสมบูรณ์ และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้
จากบทความนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดความสูญเสียและเสียใจ แก่คนรอบข้าง หรือผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย
ขอขอบคุณ
นาวาอากาศตรี วุฒิ น้อยเชี่ยวกาญจน์
นายทหารการฝึก ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน 603 กองบิน 6
กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ