จันทน์แดง ปรากฏในพุทธประวัติ เพราะเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทน์แดงมา จึงนำมาทำเป็นบาตร เสร็จแล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสาซึ่งทำจากไม้ไผ่ ต่อๆกันไปจนสูงถึง 60 ศอก
(ภาพจากหนังสือไม้พุทธประวัติ)
เศรษฐีประกาศ ถ้าผู้ใดเหาะไปเอาบาตรลงมา จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นพระอรหันต์
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ได้แสดงปาฏิหาริย์ไปนำเอาบาตรมา ความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงทรงตำหนิที่กระทำเช่นนั้น ทรงทำลายบาตรไม้จันทน์แดงจนเป็นจุล แล้วแจกให้พระสงฆ์บด ใช้เป็นโอสถสำหรับใส่จักษุ และทรงมีบัญญัติห้ามมิให้สาวกแสดงปาฏิหาริย์สืบไป
ในปาฏิหาริย์ (สิ่งที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์)ทั้ง 3 อันมี
อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์)
อาเทศนาปาฏิหาริย์ (ทายใจผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์) และ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์)
พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญแต่ปาฏิหาริย์ในข้อ 3 เท่านั้น เพราะการสอนผู้อื่นให้เข้าใจสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามจนได้ผลเป็นอัศจรรย์ ผู้ฟังย่อมเกิดปัญญาพึ่งพาตนเองได้
ต่างจากสองปาฏิหาริย์แรกที่เมื่อแสดงแล้ว ผู้ชมหรือผู้ฟังทึ่ง หวังพึ่งแต่ผู้แสดงปาฏิหาริย์จนไม่คิดพึ่งตนเอง ไม่เกิดปัญญาพัฒนาตนให้หลุดพ้นตามมา
.......................................................................................
ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง สำนักพิมพ์ระฆังทอง ตู้ป.ณ.119 ปณจ.ราชดำเนิน กรุงเทพ