การล่าอาณานิคมของชาวอังกฤษ
การล่าอาณานิคมของชาวอังกฤษ
การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของสองชุมชนและภายใต้อาณาจักร
ก่อนการเกิดอาณาจักรในประวัติศาสตร์ของชุมชนสองฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ในรูปแบบการร่วมมือกันทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขง ก็เคยมีกระบวนการดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจร่วมกันมาแล้ว ในสมัยโบราณของประเทศไทยและลาว
ซึ่งความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ผูกพันมาแต่โบราณนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากพื้นฐานความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตบริเวณใกล้ชิดกัน ตลอดจนการมีภาษาพูดที่คล้ายคลึงกัน จนสามารถเข้าใจกันได้ดี ดังจะเห็นได้จากภาพความสัมพันธ์โดยรวมของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ในวรรณกรรมสองฝั่งโขง ซึ่ง ศรีศักร วัลลิโภดม และ ไมเคิล ไรท์ รวมถึงนักวิจัยท่านอื่นๆ ได้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอว่า ชุมชนสองฝั่งโขงนั้นน่าจะมีการค้าขายกันเองได้อย่างสะดวก และมีมานานแล้ว
จากภาพรวมดังกล่าว ผู้เขียนสันนิษฐานว่าในสมัยประวัติศาสตร์นั้น ด้วยความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันในลักษณะบ้านพี่เมืองน้อง น่าจะสันนิษฐานได้ว่า ต่างฝ่ายต่างมีการพึ่งพาอาศัยแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะทางเศรษฐกิจของชุมชนโบราณที่ปรากฏอยู่ในลักษณะเดียวกันเกือบทุกภูมิภาค
ดังที่กล่าวมาข้างต้น พื้นที่ชุมชนสองฝั่งโขงนี้ ในตำนาน ‘ วัดแก้ว วัดหลวง ‘ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเลียบโลกมาถึงขรนทีคือแม่น้ำโขง ในทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่นครโยนกนาคพันธุ์ของสิงหนวัติ จนถึงยุคของลวจังกราช พาผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ใน พ.ศ. 1181 มีเมืองสำคัญ คือ เมืองหิรัญนครเงินยาง วิธีขยายอาณาเขตที่เรียกว่า ตวงบ้านตวงเมือง สมัยก่อนตั้งอาณาจักรก็กล่าวถึง “ ตวงบ้านตวงเมือง ” คือการส่งราชบุตรออกไปสร้างเมืองใหม่ในบริเวณที่มีชัยภูมิดี เช่น อยู่ริมน้ำ ส่งผลให้อาณาเขตขยายตัวขึ้นแบ่งเป็นเขตศูนย์กลางการปกครองเดิมคือเมืองหิรัญนครเงินยาง (สันนิษฐานว่าเป็นอำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน) เมืองฝาง และเมืองเชียงราย ซึ่งอาจจะเคยเป็นราชธานี ส่วนเมืองที่เกิดจากตวงบ้าน ตวงเมืองฐานะคล้ายลูกหลวง ได้แก่ เมืองเชียงของ และมีการบันทึกเมืองเชียงของเป็นภาษาบาลีว่า เมืองขรราช (ขรรัฐ)
ตำนาน ที่สำคัญกล่าวถึงการสถาปนาอาณาจักรล้านช้างในเขตลุ่มน้ำโขง จนถึงเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งถือเป็นกษัตริย์องค์แรก ที่เริ่มประวัติศาสตร์ลาว มีบทบาทรับพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหลักเกณฑ์ของสังคมและขยายอาณาจักรพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง สะท้อนผ่านคติจักรวาลอันเกิดจากระบบไตรภูมิ
จนกระทั่งความสัมพันธ์ของทั้งสองอาณาจักรแนบแน่น เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีอำนาจปกครองทั้งสองอาณาจักรล้านนา- ล้านช้าง มีการเชื่อมโยงทางสังคมวัฒนธรรม คือคติจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อหลอมโลกทัศน์ชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสะท้อนแนวคิดกำเนิดโลก ธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถควบคุมได้ตามกฎแห่งกรรม แสดงถึงชุมชนเลือกใช้วิธีคิดเข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ภายในท้องถิ่นของตน โดยรับจากศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และความเชื่อพื้นบ้าน (สันฐิตา กาญจนพันธ์ 2547:123-129 ) ส่วนคติไตรภูมิแสดงถึงความสัมพันธ์ของคติน้ำระหว่างสัตตมหาสถานกับเมืองในชมพูทวีปคือภาพสะท้อนคติจักรวาลทางพุทธของมนุษย์และสัตว์ในป่าหิมพานต์
อย่างไรก็ดี ความเข้าใจที่เกี่ยวพันต่อสายสัมพันธ์ของชุมชนที่มีความเชื่อร่วมกันทางด้านศาสนา และด้านการปกครองในความผูกพันของอาณาจักรล้านนาและล้านช้างแล้ว ยังมีด้านปฏิสัมพันธ์ทางด้านการค้า จึงส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันเป็นตัวบ่งบอกความหมายของความสำคัญในเส้นทางการค้า และผลกระทบของปัจจุบันนี้ ว่าเหตุผลที่ทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลง เพราะความหมายของการรับรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขง ในอดีตกับโลกทัศน์ของคนปัจจุบันนี้แตกต่างกัน เนื่องจากต้องเข้าใจความหมายแผนที่ในอดีต หรือพรมแดนว่า เป็นความหมายของเส้นทางการค้านี้ ที่เคยมีระบบนิเวศเกี่ยวกับน้ำ คติจักรวาลแบบไตรภูมิ และความเป็นอิสระในปฏิสัมพันธ์ทางการค้า และการจับปลา เปลี่ยนแปลงไปดังที่จะกล่าวต่อไปถึงความสัมพันธ์ของสองชุมชนกับการเข้ามาล่าอาณานิคมของตะวันตก
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่อแม่น้ำโขง และการช่วงชิงอาณานิคมของตะวันตกกับสยาม
ชุมชนภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนาและล้านช้างทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงได้ปฏิสัมพันธ์กัน ในด้านการค้า เพราะท้องถิ่นเป็นอิสระทางเศรษฐกิจและมีส่วนร่วมในทางการค้าต่างประเทศโดยตรง (โยซิยูกิ มาซูฮารา .2546 :170 ) ซึ่งการค้าแต่เดิมในเชียงแสน-เชียงของ-เวียงแก่น เป็นการค้าขนาดเล็กระหว่างชุมชนสองฝั่งน้ำโขง แม่น้ำโขงมีบทบาทในการคมนาคมขนส่ง การไปมาหาสู่และการเชื่อมร้อยชุมชนต่อชุมชน และมีเมืองเชียงแสนเป็นเมืองท่าที่จะเดินทางไปสู่ตอนในของจังหวัดเชียงรายด้วยเส้นทางถนน การค้าระหว่างเมืองริมฝั่งของไทยกับลาวในลักษณะที่เรียกว่า “ น้ำน้อย ก็ใช้เรือน้อย ” ถือเป็นการค้าตามขนาดของฐานทุนทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ส่วนการค้ากับเมือง เช่น ลาวทางเหนือหรือจีน เป็นเส้นทางการค้าทางบกใช้ม้า ล่อ ลา บรรทุกต่างสินค้า เช่นเส้นทางการค้าโบราณระหว่างเชียงของไปเชียงรุ้ง
เมื่อกาลเวลาผ่านไปแล้ว เส้นทางการค้าก็เป็นตัวบ่งบอกแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการค้า ศาสนาอื่นๆ เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์แก่อาณาจักรล้านนา กับ “ อาณาจักรอยุธยา ” และอาณาจักรล้านช้าง ดังที่สะท้อนผ่านการค้าในชุมชน จวบจนอาณาจักรล้านช้างที่เคยเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาถึงพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช ใน พ.ศ. 2237 เกิดการแย่งชิงอำนาจ และแตกออกเป็นสองอาณาจักร คือหลวงพระบางและเวียงจันท์ ต่อมาเวียงจันท์เกิดความวุ่นวายภายในและเกิดแย่งชิงอำนาจอีก จนกระทั่งราชครูโพนเสม็ก ผลักดันอาณาจักรจำปาศักดิ์ขึ้นทางตอนใต้ราวปี พ.ศ.2256
มีความขัดแย้งกันมากมาย ระหว่างทั้งสามอาณาจักร อันเป็นที่มาของความอ่อนแอ และทำให้ลาวตกเป็นประเทศราชของไทย ปีพ.ศ.2322 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยุคกรุงธนบุรี(เราคงรับรู้ว่า พระนารายณ์เคยส่งกล้องดูสุริยุปราคา ตั้งแต่ในยุคอยุธยาแล้ว และความขัดแย้งในช่วงเวลาปลายสมัยกรุงอยุธยา น่าจะทำให้เกิดแนวคิดพุทธแบบพระเจ้าตากสิน และการปรับแนวคิดพุทธในช่วงต้นรัตนโกสินทร์) เมื่อ “ ลาว ” ตกเป็นประเทศราชอยู่นานถึง 114 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2322-2436 ระหว่างที่ไทยปกครองลาวก็เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกันในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่ออาณาจักรล้านนา หลังจากฟื้นฟูอาณาจักรขึ้นมาใหม่ ผ่านพ้นยุคพม่าปกครองก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจสยาม
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในอดีตของชุมชนตามอาณาจักรสัมพันธ์กับเส้นทางการค้า เป็นเหมือนเขตเศรษฐกิจชาวบ้าน เส้นทางการค้าทั้งสามสายจากการค้าในระบบการคมนาคมทางบกจากตาลีและคุนหมิง นี้มีความสำคัญมากสำหรับการยังชีพของชุมชนต่างๆ เพราะในเขตภูดอยห่างไกลเมืองท่าเช่นนี้ ความอัตคัดขาดแคลนเป็นปัญหาสำคัญ มิหนำซ้ำ ในระยะต้นของแม่น้ำสำคัญสี่สายที่ผ่านยูนนาน (แม่น้ำอิระวดี สาละวิน โขง และแม่น้ำแดง) สภาพอันเชี่ยวกรากคดเคี้ยวเต็มไปด้วยเกาะแก่งของแต่ละสายน้ำก็ไม่อำนวยต่อการสัญจรขนส่งสินค้า
ทั้งนี้เราสามารถหยั่งวัดระดับความสำคัญของการค้าทางบกซึ่งเปรียบเสมือนเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเหล่านี้ได้จากบันทึกท้องถิ่นต่างๆ และหมายเหตุของนักเดินทางชาวตะวันตก บริบทจักรวรรดินิยมตะวันตกอย่างเช่น บันทึกของกัปตัน Mcleod และ Dr . Richardson (นคร พันธุ์ณรงค์ .2516:73 ) ซึ่งเข้ามาทางพม่าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้าในยูนนาน ในช่วงปี พ.ศ. 2373 และนับเป็นชาวยุโรปคณะแรกที่เข้ามาเยือนเชียงตุง หรือนักธรรมชาติวิทยา อย่าง Henri Mouhot ได้รับทุนสนับสนุนจากอังกฤษเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว และกัมพูชา (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ .2546:63 ) อีกคนคือ Francis De Ganier นักผจญภัยผู้สร้างประวัติการณ์เดินทางย้อนลำน้ำโขงจากกัมพูชาไปถึงยูนนานก็มีข้อสังเกตมากมายเกี่ยวกับการค้าขายตามเส้นทางที่ผ่านไปอันสะท้อนภาพความมีชีวิตชีวาของตลาดท้องถิ่นเช่นนี้ ทำให้นักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกพากันฝันหวาน ที่จะอาศัยยูนนานเป็นประตูหลังเปิดเข้าสู่ตลาดการค้าในประเทศจีนอันกว้างใหญ่
((ภาพแสดงปราสาทหินนครวัด))
((ภาพแสดง Henri Mouhot ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากอังกฤษเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว และกัมพูชา))
((คณะสำรวจของHenri Mouhotชาวฝรั่งเศส))
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอังกฤษหรือฝรั่งเศส ต่างก็คิดวางแผนพัฒนาเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้ว ด้วยการสร้างทางรถไฟเชื่อมจากชายฝั่งพม่าหรือตังเกี๋ยขึ้นไป ผู้ที่ศึกษาค้นคว้านโยบายการแผ่ขยายอิทธิพลของสองมหาอำนาจในละแวกนี้ คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การค้าระหว่างยูนนานตอนล่างกับดินแดนรอบๆ มีผลสำคัญอย่างไรต่อการกำหนดทิศทางการแข่งขันเพื่อยึดครองพื้นที่แห่งนี้
((ภาพประกอบ บันไดนาคของวัดเขาจอมมณีรัตน์ ณ เมืองห้วยทราย ฝั่งแม่น้ำโขง สปป.ลาว))
ความสืบเนื่องของการเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตกในอุษาคเนย์ มีหลายสาเหตุที่ได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้ ซึ่งมีปัญหา เช่น การเข้ามาหาทางยึดครองพื้นที่ คือการเข้ามาล่าอาณานิคมเพื่อการค้าสัมพันธ์กับแม่น้ำโขง ดังนั้นการเข้ามาของฝรั่งเศสสะท้อนการบุกรุกเข้าครอบครองต่อทรัพยากรในแม่น้ำโขงกับการเพื่อให้ได้เป็นอาณานิคมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
โดยฝรั่งเศสต้องการเพียงลาวและเขมร เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากแม่น้ำโขงและการใช้แม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติสำหรับอาณานิคมของตน (อภิญญา เฟื่องฟูสกุล 2524:2 )ทำให้ก่อเกิดแนวคิดสร้างรัฐชาติ มีพรมแดนเป็นการผนวกกลืนอาณาจักรเพื่อสร้างความมั่นคงเข้ามาในรัฐ ตามอิทธิพลภูมิศาสตร์ของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก ทำให้ต้องมีการสร้างนิยามรัฐชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ภาษี การศึกษา และวัฒนธรรม รัชกาลที่ 4 ได้นำหลักเหตุผล และเทคโนโลยี มาผลิตแผนที่ ทั้งที่ยุคก่อนไม่จริงจังเรื่องพรมแดน แต่โดนแรงบีบจากการขู่ทำสงครามจากตะวันตก เพราะว่าสยามไม่ทันสมัย จึงต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดภูมิศาสตร์ ( Thongchai Winichakul 1994:35-57; อรรถจักร สัตยานุรักษ์ 2541:12 ) และด้านดาราศาสตร์เกี่ยวข้องกับระบบจักรวาล
((แนวคิดเกี่ยวกับแผนที่http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Map-benining.htm))
ดังนั้น การรับรู้ธรรมชาติแบบใหม่เพิ่งเกิดในรัชกาลที่ 4 และกลายเป็นรากฐานความรู้ ความจริง เชิงประจักษ์ทางกายภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้สยามรับรู้และให้ความหมายแก่ภูมิศาสตร์ด้วยชุดความรู้ทางพื้นที่แบบไตรภูมิ แต่ว่าการอ้างถึงภัยจากการล่าอาณานิคม ก็ทำให้เกิดการคิดสร้างแผนที่และน่าจะส่งผลต่อการแปลชื่อแม่น้ำของ เปลี่ยนเป็นแม่น้ำโขงในสนธิสัญญาต่างๆ
ด้วยเหตุดังกล่าวนำไปสู่อาณาเขตว่าด้วยภายใต้จุดหนึ่งในพลังแผนที่ สำหรับการต่อรองระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพื่อเข้าถึงภูมิภาคลาวในแม่น้ำโขงตอนบนและการหายไปของอาณาเขตสยามนั้น อาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงว่าพื้นที่อาณาเขตเคยนั้นเคยเป็นของสยาม แต่พลังของตัวตนภูมิศาสตร์ของสยามและการรวมอาณาเขต ทำให้สิ่งที่หายไป (อาณาเขต) กลับเข้ามาเพื่อการช่วงชิงการสร้างความหมายแก่แผนที่ในสังคมสมัยใหม่ เพราะการเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตกในดินแดนล้านนา ก็พยายามดึงดูดล้านนาให้มีความสัมพันธ์กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่ครอบครองดินแดนพม่ามากขึ้น เนื่องจากการปกครองเมืองประเทศราชของสยามมีนโยบายให้อิสระในการปกครองตนเองอย่างมาก ทำให้ล้านนาผูกพันกับการค้าขายของชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษโดยผ่านเมืองมอญพม่า (สรัสวดี อ๋องสกุล 2544:332 )
ดังกล่าวไปแล้ว การล่าอาณานิคม คุกคามต่ออาณาจักรทั้งสองแล้ว อาณาจักรสยาม จึงพยายามครอบครองอาณาจักรล้านนาสร้างตัวตนทางพรมแดนขึ้นไว้อยู่ในแผนที่สยาม เพื่อยึดดินแดนล้านนาเข้ามา อำนาจท้องถิ่นค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง และแล้วเชียงของ ก็ถูกผนวกกลืนในที่สุด เมื่อมีการปฏิรูปมณฑลเทศาภิบาล เจ้าเมืองคนสุดท้ายคือพระยาจิตวงษ์วรยศรังษีในปี พ.ศ. 2453 และการช่วยเหลือของสยามในการปราบจีนฮ่อที่รุกรานลาว ทำให้สยามส่งกำลังทหารไปปราบปรามถึงสามครั้ง โดยที่ครั้งที่สาม สยามพยายามต่อสู้เข้ายึดครองหลวงพระบาง รวมถึงเมืองบริวาร ยึดทั้งเชียงขวาง บุกยังแคว้นสิบสองจุไท จับเจ้านายของแคว้นสิบสองจุไทเป็นตัวประกันอยู่หลวงพระบาง แต่เจ้าคำฮุมไม่ต้องการเป็นเมืองขึ้นใคร จึงได้ร่วมมือกับพวกจีนฮ่อยกลงมาตีเมืองหลวงพระบางจนเมืองแตก เจ้าอุ่นคำแห่งหลวงพระบางหนีเอาตัวรอด มาทำหนังสือขอความช่วยเหลือฝรั่งเศสก็ใช้หนังสือดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการผนวก ลาวเข้ามาเป็นรัฐภายใต้อารักขาของตน ทำให้สยามเสียอำนาจเหนือภูมิภาคนี้ตลอด
((รายงายโดย…นส.สุนันทา หลักคำ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ http://203.172.208.244/web/stu27/site3_2/))
สมัยอาณานิคมฝรั่งเศษ ( ค.ศ. 1893 – 1949 )
สถานการณ์ของลาวในขณะที่ไทยและญวนพร้อมแข่งขันกันเข้าไปมีอิทธิพลเหนือลาวอยู่นั้นดูเหมือนว่าแต่แรกนั้นถูกคุกคามจากพม่า ไทย และเวียตนาม และว่าในปลายคริสต์ศักราชที่ 19 ซึ่งอำนาจได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้ลาวได้รับ ความกระทบกระเทือนจากอำนาจใหม่ คือ ฝรั่งเศษ ซึ่งมีนโยบายที่จะผนวกดินแดนเพื่อ แสวงหาประโยชน์ กับอำนาจเก่าไทย ในขั้นแรกฝรั่งเศษยอมรับอิทธิพลจากไทย โดยแต่งตั้ง ออกุสต์ ปาวี เป็นรองกงสุลคนแรก บุคคลผู้ที่ มีบทบาทสำคัญในการขยายอิทธิของฝรั่งเศษในลาวขณะที่กำลงถอนกำลังคอยจังหวะอยู่นั้น จีนฮ่อจากยูนานก็ได้ยกกำลังเข้าโจมตีดินแดนแถบตอนเหนือของเวียดนามและลาว จากนั้นก็เข้าโจมตีหลวงพระบางอีก การโจมตีโดยฮ่อ ในปี ค.ศ. 1887 ได้ส่งผลกระทบต่อทัศนคติของลาว ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างไทยกับฝรั่งเศษ กล่าวคือชาวลาวเห็นว่ากองทัพกรุงเทพฯที่มาช่วยปราบฮ่อนั้น เมื่อถอยกลับไปแล้ว หากฮ่อยกเข้ามาโจมตีอีก ดังนั้นจึงไม่อาจป้องกันอันตรายได้ถาวร นอกจาก นโยบาญาติดีต่อลาวแล้ว ฝรั่งเศษยังได้ ดำเนิน การทางการเมืองโดยการสนับสนุนให้ จักรพรรดิเวียตนามประท้วง กรณีที่ไทยส่งกองทัพไปปราบฮ่อในดินแดนลาวตอนเหนือ โดยอ้างว่าลาวไทยเป็นรัฐบรรณาการของญวน ซึ่งได้สร้างความตึงเครียดกับไทยเกี่ยวกับการเจรจาปักปันเขตแดนและปัญหาปีกย่อยอื่นๆ
ออกุสต์ ปาวี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ออกุสต์ ปาวี
ออกุสต์ ปาวี มีชื่อเต็มว่า ช็อง มารี โอกุสต์ ปาวี (Jean Marie August Pavie) (31 พฤษภาคม ค.ศ. 1847 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1925) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ผู้สำรวจดินแดนบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง เคยเป็นกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2435
นายปาวี เป็นผู้ยื่นคำขาดต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่กำลังมีเรื่องพิพาทให้แก่ฝรั่งเศสทั้งหมด แต่เมื่อไทยให้คำตอบไม่เป็นที่พอใจ นายปาวีจึงเดินทางออกจากประเทศไทยทันที ถือเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งเป็นหลังจากที่ฝรั่งเศสยอมแพ้แก่เยอรมนีแล้ว ความขัดแย้งตามแนวชายแดนสยาม-ฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรง จนปะทุเป็นกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2483 เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 เรือลามอตต์ ปิเกต์จึงได้ถูกจัดให้เป็นเรือธงของกองเรือเฉพาะกิจที่ 7 ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ที่อ่าวคามแรงห์ ใกล้เมืองไซ่ง่อน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาวาเอกเรจี เบรังเยร์ กองเรือดังกล่าวนี้ยังประกอบด้วยเรือสลุปอีก 4 ลำ คือ เรืออามิราล ชาร์เนร์ เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ เรือมาร์น และเรือตาอูร์ กล่าวคือกองทัพเรือฝรั่งเศสได้ยกเรือรบ ประกอบด้วยเรือแองกงสตอง เรือโกแมต และเรือชองบาตีสต์เซ เข้ามาปิดอ่าวไทย ทำให้ไทยต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง และสูญเสียดินแดนลาวทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส เป็นพื้นที่ประมาณ 143,800 ตารางกิโลเมตร
ฝ่ายฝรั่งเศส (หมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7)
เรือลามอตต์ ปิเกต์ (Lamotte Picquet) เรือลาดตระเวนเบา ระวางขับน้ำ 7,880 ตัน ใช้เป็นเรือธง มีนาวาเอกเรจี เบรังเยร์ (Capitaine de Vaisseau Regis Beranger) เป็นผู้บังคับการเรือและผู้บังคับหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7
เรืออามิราล ชาร์เนร์ (Amiral Charner) เรือสลุป ระวางขับน้ำ 2,165 ตัน
เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ (Dumont d’Urville) เรือสลุปชั้นเดียวกันกับเรืออามิราล ชาร์เนร์ ระวางขับน้ำ 2,165 ตัน
เรือมาร์น (Marne) เรือช่วยรบ (ฝรั่งเศสจัดเป็นเรือสลุป) ระวางขับน้ำ 644 ตัน
เรือตาอูร์ (Tahure) เรือช่วยรบ (ฝรั่งเศสจัดเป็นเรือสลุป) ระวางขับน้ำ 600 ตัน
เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ 1 ลำ
เรือดำน้ำ 1 ลำ
จากผลงานในการยึดดินแดนมาจากไทย ได้ดำรงตำแหน่ง Commissioner-general ของดินแดนใหม่ ทางฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์ของนายปาวี กำลังได้รับการกราบไหว้จากชาย-หญิงลาว ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากประเทศลาวได้รับเอกราช อนุสาวรีย์ของนายปาวี ได้ถูกแยกชิ้นส่วนนำไปทิ้งแม่น้ำโขง ต่อมาสถานทูตฝรั่งเศส ประจำกรุงเวียงจันทน์ได้กู้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานทูต ส่วนรูปหล่อชาย-หญิงลาว นำไปเก็บรักษาที่สนามหน้าหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์
ขณะนั้นลาวต้องเผชิญกับมรสุมความขัดแย้ง และความพยายามของฝรั่งเศษ ที่จะขจัดอำนาจไทยออกไปให้พ้นจากดินแดนลาว ฝรั่งได้นำเรือรบเข้ามาในอ่าวไทย ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ ค.ศ. 1893 ซึ่งผลักดันให้ไทยต้องยอมทำสัญญา 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 คือ สละสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และในเวลาอีก 12 ปีต่อมา ไทยจำต้องยอมทำสัญญายกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงด้านเหนือเมืองหลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ให้แก่ฝรั่งเศษ
((กองทัพเรือฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ รศ.๑๑๒(พ.ศ.๒๔๓๖))
เหตุการณ์
26 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
22 พฤษภาคม – ทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ยึดแก่งหลี่ผีได้
13 กรกฎาคม – วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ รุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการยิงต่อสู้กัน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
3 สิงหาคม – วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : นายพลเรือฮือมานต์ ยกเลิกการปิดปากอ่าวไทย
23 สิงหาคม – วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :สยามถอนกำลังออกจากเมืองสี่พันดอน
3 ตุลาคม – วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้เสียทั้งเงิน กำลังคน และดินแดน
การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410
ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ
ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447)
ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร
และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
ยังมีภาคผนวกต่อท้ายมาด้วยคือ
1. ไทยต้องถอนกำลังออกไปจากพื้นที่ภายใน 1 เดือน
2. ไทยต้องรื้อค่ายทั้งหมดออกไปให้หมดด้วย
จากสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้สยามต้องเสียสิทธิในการปกครองลาวนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมทั้งบรรดาเกาะแก่งทั้งหลายในแม่น้ำโขง แม้จะห่างจากฝั่งไทยเพียง 1 เมตร ก็ให้ถือว่าเป็นดินแดนของลาวจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังได้เรียกร้องเงินค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้เงินที่เรียกว่า “เงินถุงแดง” ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ที่เก็บสะสมจากกำไรในการทำการค้ากับต่างประเทศไว้ในท้องพระคลังหลวง รวมกับเงินที่เรี่ยไรจากข้าราชบริพาร รวมเป็นเงินจำนวน 3 ล้านบาท ออกมาชดใช้ค่าเสียหายตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง
((112 ปี วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 : ย้อนอดีตมองดูปัจจุบัน ศึกษาเพิ่มเติมที่http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140457 ปริศนาธงช้างชูงวง… http://www.talkingmachine.org/siamflag/trunk_up.html))
การเสียดินแดนให้อังกฤษ
เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 (นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี
((ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2394-2468)ได้ที่
http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/military/military1/index09.htm))
ใน ค.ศ. 1914 ฝรั่งได้ทำการปรังปรุงการปกครองสหภาพอินโดจีน โดยมี ผู้สำเร็จราชการทั่วไป
( Resident superieur) เป็นประมุข ทำการปกครองโดยมีอำนาจเด็ดขาด มี สภาการปกครอง ซึ่งมีคนพื้นเมืองรวม
อยู่ด้วยเป็นที่ปึกษา แล้วแยกส่วนราชการออกไปเป็นแต่ละรัฐอารักขา โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประมุข มีอำนาจ
หน้าที่เช่นเดียวกับผู้สำเร็จราชการทั่วไป.
ประวัติศาสตร์ลาวสมัยปัจจุบัน ( ค. ศ. 1949 – 1975 )
ปลายคริสต์ศักราชที่ ๑๙ จนถึงคริสต์ศักราชที่ ๒๐ ดูเหมือนลาวจะยอมรับสภาพการปกครองของฝรั่งเศษโดยไม่มีเงื่อนไข ว่าภายในกลุ่มปัญญาชนลาวที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกซึ่งมีปรัซญาเกี่ยวกับ เสรืภาพ และเสมอภาพ ได้เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศษและเรียกร้องเอกราชของลาว ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ดังเช่นการต่อสู้ระหว่างสัมพันธมิตรกับฝ่ายอักษะและความขัดแย้งระหว่างสิทธิเสริภาพ ประชาธิปไตยกับสังคมนิยม ได้ผลักดันให้ลาวซึ่งเป็นชาติอนุรักษ์นิยม กลายเป็น ประเทศสังคมนิยม
ในระยะเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีได้โจมตีฝรั่งเศษอย่างหนัก ทำให้ฝั่งเศษต้องยอมทุ่มเทกำลังเพื่อป้องกันประเทศ ต่อมาฝรั่งเศษไดทำสัญญากับผู้นำประเทศอินดูจีนในเดือนมินาคม ค.ศ. 1945เพื่อช่วยป้องกันการโจมตีจากภายนอกประเทศ แต่ฝรั่งเศษไม่อาจรักษาสัญญาไว้ได้ เมื่อเผชิญกับการบุกของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ในเดือนเมษายนปีเดียวกันนั้น ญี่ปุ่นสนับสนุนให้ลาวประกาศเอกราช ซึ่งอาจไม่มีปัญหา ถ้าญี่ปุ่นไม่เป็นฝ่ายแพ้สงคราม แต่เมื่อญีปุ่นกลายเป็นผู้แพ้ ฝรั่งเศษจึ่งดำเนินการเจรจาเพื่อเข้ามาปกครองลาว แต่ เจ้าเพ็ชราชอุปราช ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความเห็นว่า ลาวเป็นประเทศเอกราชแล้ว ดังนั้นสัญญาย่อมเป็นรัฐอารักขาต่อฝรั่งเศษจึงสิ้นสุดลง เมื่อเป็นดังนี้ ฝรั่งเศษจึ่งบีบบังคับ ให้เจ้าศรีสว่างวงศ์ ยอมรับฝรั่งเศษให้กลับเข้าปกครองลาวอีก ดังประกาศ ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ 1945 พร้อมกับปรดเจ้าเพชราชอุปราชออกทุกตำแหน่ง ความพยายามของฝรั่งเศษนี้มีผลต่อลาวอย่างลึกซึ้ง เพราะได้เกิดกระบวนการชาตินิยมเพื่อต่อต้านฝรั่งเศษ แล้วกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในของลาว จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมาจนถึงปลาย คริสตศักราชที่ ๒๐
ขบวนการลาวอิสระ
ขบวนการลาวอิสระได้กำเนิดขึ้นในปีเดียวกับเจ้าศรีสว่างวงศ์ที่ยอมรับอำนาจของฝรั่งเศษ เมื่อปี ค.ศ. 1945 โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ ต่อต้านฝรั่งเศษ และต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติลาว ในขั้นแรก ลาวอิสระได้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยพระมหากษัตรีย์จะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ขั้นแรกเจ้าศรีสว่างวงศ์ไม่ยอมลงพระปรมาภิไชย จึงถูกกลุ่มลาวอิสระโจมตีและปรดออกจากกษัตรีย์ ภายหลังตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีพระยาคำม้าว เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1945 จึ่งได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นเป็นกษัตรีย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ขบวนการลาวอิสระถูกโจมตีจากกองทัพของฝรั่งเศษอย่างหนัก จึงต้องแตกพ่าย ส่วนหนึ่งไปลี้ภัยการเมืองมาพำนักอยู่ในประเทศไทย แล้วแปรสภาพเป็นกองโจรทำการต่อต้านกับฝรั่งเศษ ทางฝ่ายฝรั่งเศษก็ได้ประกาศให้ลาวมีฐานะเป็นประเทศภายใต้การปกครองในสหภาพฝรั่งเศษ ในปี ค.ศ. 1947 แล้วจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรและทำการเลือกตั้งทั่วไป โดยมี เจ้าบุญอู้ม ณ จำปาศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฝ่ายขบวนการลาวอิสระได้หันไปขอ ความร่วมมือกับ
รัฐบาลจีนสมัย เจียง ไค เซ็ก โดยส่งสมาชิก ลาวอิสระไปฝึกการทหารที่มลทลยูหนาน และได้ทำการยืดครองดินแดนทางภาคเหนือของลาวไว้ รัฐบาลฝรั่งเศษในครั้งนั้นต้องต่อสู้กับขบวนการ ชาตินิยมในเวียดนาม ด้วยซึ่งผ่อนปรนโดยเจรจาว่าจะดำเนินการเพื่อให้เอกราชแก่ลาว เกลี้ยกล่อมให้สมาชิกลาวอิสระกลับไป่รวมมือกับฝรั่งเศษในครั้งนั้นเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่มีสายาเป็นชาวฝรั่งเศษได้ยอมรับข้อเสนอนี้ จึงได้กลับไปยังลาวพร้อมกับ สมาชิกลาวอิสระจำนวนหนึ่ง แต่เจ้าเพ็ชราชที่ประทับอยู่กรุงเทำฯไม่พอใจที่เจ้า สุวรรณภูมมาดำเนินการเจรจา กับฝรั่งเศษ ทั้งยังหวาดระแวงเจ้าสุพานุวงศ์ จึ่งหันไปขอกำลังจาก เวียดนาม เมื่อฝรั่งเศษประกาศให้ประเทศลาวเป็นเอกราช เมื่อ ค.ศ. 1950 ฐานะของประเทศลาวยังคงรวมอยู่ใน สหภาพฝรั่งเศษ เหมือนเดิม ส่วนขบวนการลาวอิสระก็ไดสลายไป
ขบวนการประเทศลาว
ขบวนการประเทศลาวได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1949โดยเจ้าสุภานุวงศ์ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะใช้กำลังเพื่อผลักดันให้ฝรั่งเศษมอบเอกราชให้กับลาว กล่าวคือ เมื่อสมาชิกลาวอิสระกลุ่มหนึ่งยินยอมเจรจา กับฝรั่งเศษทำให้พระองค์ไม่พอใจจึงเดินทางกลับไปรวบรวมผู้คนที่ชายแดนสิบสองจุไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากฉายาซึ่งเป็นคนเวียดนามและพรรค คอมมิวนิสค์เวียดมินต์ รวมทั้งชนเผ่าต่าง ๆ ในลาวเหนือ เจ้าสุภานุวงศ์ได้ ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสค์เวียดมินต์ ซึ่งขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสค์จีน และรุสเชียทำการต่อสู้กับฝรั่งเศษ ครั้งนั้นขบวนการประเทศลาวได้ยืดพื้นที่ในบริเวณแขวงเชียงขวาง ซำเหนือ ผ้งสาลี ตลอดจนถึงสุวรรณเขต และบางเมืองในแขวงหลวงพระบางและ เวียงจันทน์ การต่อสู้ระหว่างทหารลาวกับลาวด้วยกันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เช่นเดียวกับฝรั่งเศษที่ต้องสู้รบกับทหารใน อินดูจีน จนในที่สุดฝรั่งเศษเป็นฝ่ายยอมแพ้ในยุทธการ ” เดียน เบียน ฟู ” ยอมทำสัญญาเจนีวาครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1954 กับ อินดูจีนเพื่อยุติสงคราม ฝ่ายชนะครั้งนี้ทำให้ขบวนการประเทศลาวเริ่มมีบทบาท ทางการเมืองโดยได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปลดปล่อยลาว “ ในปี ค.ศ. 1955 ต่อมาเป็น ” พรรคแนวลาวรักชาติ “ ซึ่งมีเจ้าสุภานุวงศ์เป็นประธาน ท้าวไกรสอน พรมวิหาร เป็นเลขาธิการพรรค
ในปี ค.ศ. 1957 รัฐบาลกับพรรคแนวลาวรักชาติได้เจรจาตกลงกัน โดยให้รัฐบาลลาวมีนโยบายเป็นกลาง เป็นไมตรีกับนานาประเทศ ไม่ร่วมทำสัญญาทางทหาร และไม่ยอมให้มีฐานทัพต่างประเทศ นอกจากนี้ยังรวมกองทัพของขบวนการประเทศลาวเข้ากับกองทัพแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้ยอมรับว่าพรรคแนวลาวรักชาติเป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฏหมาย ให้เจ้าเพชราชกลับมาดำรงตำแหน่งอุปราช และเจ้าสุภานุวงศ์ก็ได้เข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลผสมในปี ค.ศ. 1957
อย่างไรก็ตาม การรวมกันแบรัฐบาลผสมได้ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งหลายปัญหาในที่สุดเจ้าสุภานุวงศ์ลาออกจากคณะรัฐบาล แล้วรัฐบาลของ ท้าว ผุย ชนะนิกร ซึ่งเป็นฝ่ายขวาก็ประกาศจับกุมเจ้าสุภานุวงศ์ รวม
บุคคลชั้นนำในขบวนการประเทศลาว ในปี ค.ศ. 1959
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างลาวฝ่ายขวากับลาวฝ่ายช้ายอย่างรุนแรง รวมทั้งแนวทางการเมืองแบ่งออกเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ที่มีนโยบายต่างกัน นักการเมืองนอกจากจะขัดแย้งกันเองแล้ว ยังขัดแย้งกับทหารอีกด้วย ใน ค.ศ. 1960 ทหารโดยการนำของ ร.อ. กองแล ได้ทำการรัฐประหารหลายครั้ง โดยอ้างว่า รัฐบาลพลเรือนขาดเสถียรภาพ การรัฐประหารครั้งนี้มีผลให้การเมืองภายในของลาวยุ้งเหยีองยิ่งขึ้น ลาวได้ถูกฝ่ายต่างชาติแทรกแซงขณะเดียวกันรัฐบาลฝ่ายขวา ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการหยับยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในอินดูจิน จึงสนับสนุน เจ้า บุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ และพรรคพวก เช่นเดียวกับประเทศสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ได้สนับสนุนเจ้าสุวรรณภูมาฝ่ายเป็นกลาง และเจ้าสุภานุวงศ์ หัวหน้าขบวนการประเทศลาว ซึ่งได้หนีออกจากคุกได้สำเร็จ
เมื่อปี ค.ศ. 1961 สหประชาชาติมีมติรับรองหลักการประกันความเป็นกลางของลาว เมื่อปี ค.ศ. 1962 สหรัฐอเมริกาได้ขอตั้งฐานทัพในเมืองไทย ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้การสู้รบในอินโดจีน ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นขบวนการประเทศลาวได้เรียกร้องให้ถอนทหารต่างซาติออกจากลาว รวมทั้งยุติการทิ้งระเบิดที่ทุ่งไหหิน และขณะเดียวกันกองทัพประชาชนลาวก็ไดขยายพื้นที่ปลดปล่อย เช่น ที่สุวรรณเขต ทุ่งไหหิน สาละวัน อัตปือ พร้อมกับจัดตั้งเขตปกครองตนเองขึ้น ในปี ค.ศ. 1972 กองประชุมได้เปลี่ยนซื่อพรรค “แนวลาวรักชาติ “ เป็น “ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว “ ซึ่ง นาย ไกรสอน พรมวิหาร ได้รับเลือกเป็เลขาธิการพรรค จากผลกระทบที่สหรัฐอเมริกาต้องทำสัญญาสงบศึกกับเวียดนามที่ปารีส อันมีผลให้การสู้รบกับกองทัพต่างซาติในลาวค่อย ๆ ยุติลง พร้อมกับมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นใน ปี .ศ. 1974 โดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างไรก็ตามการขัดแย้งทางด้านการทหาร และการเมืองยังคงดำเนินมาตลอด ในที่สุดเมื่อมีกองประชุมรัฐสภา ในวันที่ 2 ธันวาคม ค . ศ. 1975 สมาชิกสภาผู้แทนราชฎรก็ได้ลงมติให้ยกเลิกรัฐบาลผสม ล้มเลิกสถาบันกษัตรีย์แล้วเปลี่ยนการปกครอง โดยประกาศสถาปนาเป็น “สาธารณรัฐประชาชนลาว ” โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์เป็นประธานประเทศ นาย ไกรสอน พรมวิหาร เป็นประธานคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้น ขบวนการประเทศลาวก็สลายตัว.
วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 เป็นวันที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของชาติลาว เป็นวันที่ประชาชนลาวทำให้แอกครอบครองของจักกระพัด และสัคดินาสิ้นสุดลง เอาชัยชนะในภาระกิจการต่อสู้ปลดปล่อยชาติ ได้อย่างสมบูรณ์ ผ่านการปฏิบัติสองหน้าที่ยุธศาส คือ การปกปักรักษา และก่อสร้างระบอบการปกครองใหม่ บรรดากำลังประกอบอาวุธ และประชาชนลาว ได้พร้อมกันปฏิบัติแนวทางป้องกันชาติ ป้องกันความสงบแบบทั่วปวงชนเพื่อสร้างรากฐานให้เข้มแข็งรอบด้าน ต่อสู้ต้านกลอุบายม้างเพหลายด้านของบรรดาอิทธิกำลังปรปัก ปกปักรักษาเอกราช อธิปไตย และผืนแผ่นดินอันครบถ้วนของชาติไว้ได้ อย่างมั่นคง รับประกันความสงบ ความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม และการออกแรงงานในสันติภาพของประชาชน
ในกระบวนวิวัฒน์แห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ได้เอาใจใส่ในการปรับปรุงบูรณะรัฐ และกฏหมาย โดยให้สอดคล้องกับ สภาวะความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศ.