วงจรชีวิตผีเสื้อ
สมาชิกเลขที่113875 | 04 ส.ค. 55
7.2K views

วงจรชีวิตผีเสื้อ

ในการสืบพันธุ์ของผีเสื้อโดยปกติตัวเมียผสมกับตัวผู้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่ตัวผู้สามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผีเสื้อเพศผู้-เมีย ผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหารการเลือกพืชอาหารสำหรับ ลูกของมันเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อชนิดนั้นๆ โดยก่อนวางไข่ตัวเมียมักตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวด และขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่วางไข่ก่อนวิธีการนีทำให้ มันสามารถวาง ไข่ บน พืชอาหารของตัวอ่อนได้อย่างถูกต้อง

ew

 

ระยะไข่   ผีเสื้อโดยทั่วไป ตัวเมียวางไข่ประมาณ 100 ฟอง สำหรับผีเสื้อถุงทอง ประมาณ 30-50 ฟอง อายุไข่ประมาณ 5-7 วัน ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ในลักษณะกระจาย คือ ไม่วาง ไข่ทั้งหมด อยู่ในบริเวณ เดียวกัน ถ้าตัวเมียวางไข่บนใบพืชอาหาร จะ วาง เพียง 1- 2 ใบเท่านั้น ตำแหน่งที่วางไข่อาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มักวางไข่ ่ด้านล่างของใบพืช

ไ

ห

 

ระยะตัวหนอน   ช่วงนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-14 วัน (ผีเสื้อถุงทองประมาณ 20 วัน) จะมีการลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดลำตัวให้ใหญ่ขึ้น ประมาณ 5-6 ครั้ง ระยะนี้นับได้ว่า เป็นระยะที่มีการทำลายพืชมากที่สุด เพราะหนอนผีเสื้อทุกชนิดกินพืชเป็นอาหาร เรามักเห็นหนอนผีเสื้อหลายชนิด กินเกือบตลอดเวลา และส่วนที่มันชอบกินมากที่สุด คือใบ แต่ผีเสื้อทุกชนิดกินเฉพาะพืชที่เป็นอาหารของมันเท่านั้น เช่น ผีเสื้อถุงทอง กินเฉพาะใบต้นกระเช้าถุงทอง กระเช้าสีดา และพืชอีกไม่กี่ชนิดเท่านั้น มันจะไม่ ไปกิน ไม้ผล ไม้ดอกอื่นอย่างแน่นอน และจากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่ ไม่กิน พืชเศรษฐกิจ ศัตรูสำคัญของพืชเศรษฐกิจ คือ ผีเสื้อกลางคืน เมื่อถึง ระยะ ตัวหนอน ระยะสุดท้าย มันจะหยุดกิน ถ่ายของเสียออกมาจากทางเดินอาหารจนหมด และเริ่ม หาที่เพื่อลอกคราบเป็นดักแด้ ผีเสื้อบางชนิดอาจคลานไปตามที่ต่างๆ จากต้นพืชอาหาร ไปยังต้นไม้อื่น เป็นระยะทางไกลหลายสิบเมตร แต่บางชนิดเข้า ดักแด้บนต้น พืช อาหารเลย

หก

 

ระยะดักแด้    ช่วงเวลาในการเป็นดักแด้ของผีเสื้อทั่วไป ประมาณ 5-7 วัน (ในผีเสื้อถุงทองประมาณ 20 วัน)   หลังจากหนอนผีเสื้อหาที่เข้าดักแด้ได้แล้ว จะเริ่มสร้างใย ใยสร้างจากต่อมสร้างใยที่อยู่ภายในปากตัวหนอนใย จะทำ หน้าที่ยึดตัวดักแด้ให้ติดกับตันพืช การเข้าดักแด้ในผีเสื้อกลางวันมี 2ลักษณะคือ

       1. ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืช และอีกเส้นคล้องกับลำตัว เช่น ใน ผีเสื้อถุงทอง (รูปซ้ายมือ)
       2. ใชัใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืช แล้วห้อยหัวลงมา คล้ายตุ้มหู เช่น ในกลุ่มผีเสื้อหนอนใบรักชนิดต่างๆ

  แต่ถ้าเป็นผีเสื้อกลางคืน การเข้าดักแด้มี 2 ลักษณะที่แตกต่างจากผีเสื้อกลางวัน คือ

        1. ไม่สร้างใย หรือสิ่งยึดเกาะใดๆทั้งสิ้น โดยเข้าดักแด้ในลักษณะเปลือย และอยู่ตามพื้นดินใต้ต้นพืชอาหาร เช่น ในกลุ่มผีเสื้อจรวด
        2. สร้างใยหุ้มตัวดักแด้ เป็นลักษณะรังไหม อาจฝังตัวอยู่ใต้เปลือกไม้ (เช่น ผีเสื้อหนอนแอปเปิ้ล) หรือม้วนใบพืชอาหาร หุ้มตัวดักแด้ (เช่น ผีเสื้อยักษ์) หรืออยู่บนพื้นเป็นอิสระ (เช่น ผีเสื้อไหม ที่ใช้รังดักแด้มาทำเส้นไหม)

เน

 

ระยะตัวเต็มวัย   หลังจากนั้นดักแด้จึงลอกคราบ เพื่อออกมาเป็นตัวผีเสื้อ โดย ดันส่วนหัวออกมาก่อน ทางด้านบนของคราบดักแด้ ขณะที่ผีเสื้อดันตัวออกมาใหม่ๆนี้ แทบมองไม่ออกเลยว่า มันจะกางปีกออกมาได้อย่างไร เนื่องจากปีกที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ถูกพับในลักษณะเป็นจีบ คล้ายพัด และอัดตัวกันแน่นรอสักระยะหนึ่งปีกจะค่อยๆ คลี่ออก โดยผีเสื้อยังคงห้อยตัว เกาะติดกับซากดักแด้อยู่ โดยทิ้งปีกให้อยู่ด้านล่าง เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยในการกางปีกออก นอกจากนี้ ลำตัว ของ ผีเสื้อ จะเกิดการบีบตัว เพื่อขับของเหลวภายในร่างกาย ให้ไหลเข้าไปในเส้นปีก ทำให้กางปีกเร็วขึ้นด้วย
     ภายในช่วงระยะเวลาที่มันกางปีกนี้ ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ามีสิ่งใดกีดขวาง เช่น ปีกติดอยู่กับกิ่งไม้ หรือสิ่งอื่นๆ ทำให้ ไม่สามารถ กางออก ได้เต็มที่ ผลก็คือ ผีเสื้อตัวนั้นปีกพิการไปตลอด ซึ่งมันจะตายไปเองในไม่ช้า เพราะ บินไปหาอาหารไม่ได้ผีเสื้อตัวเต็มวัยจะไม่ลอกคราบ หรือเพิ่มขนาดลำตัวอีกต่อไป ทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์และวางไข่ เพื่อสืบทอดลูกหลานต่อไปเท่านั้น อาหารที่กิน จากเดิม เปลี่ยนไปเป็นน้ำหวานจากดอกไม้ต่างๆแทน ช่วงอายุผีเสื้อทั่วไป ประมาณ 10-20 วัน

 

Share this