สาเหตุการปฏิวัติฝรั่งเศส
สมาชิกเลขที่115986 | 03 ส.ค. 55
68.5K views


                การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งใหญ่ของโลกมนุษย์ทุกวันนี้ มีที่มาจากปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปและอเมริกา จนในที่สุดนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นั่นก็คือการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายทุน อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากสังคมการผลิตแบบศักดินามาสู่ยุคการผลิตแบบทุนนิยม สมัยใหม่ จนทำให้สังคมขับเคลื่อนมาสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่สำคัญจนทำให้สังคมโลก เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่อาณาเขตและพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆผนวกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเช่น ทุกวันนี้

                การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อันเป็นที่มาของหลักสิทธิเสรีภาพและระบอบรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาสุ่การสถาปนารัฐทุนนิยม ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี คศ. 1789 ถือเป็นแม่แบบการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านสังคมแบบศักดินา มาเป็นทุนนิยม

                ระบบศักดินา เป็นสังคมที่พัฒนามาจากสังคมทาส เมื่อบรรดาทาสก่อการลุกขึ้นสู้ ก่อการกบฏ เพื่อปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสด้วยรูปแบบต่างๆ จนในที่สุดนายทาสถูกความจำเป็นให้ต้องแบ่งที่ดินของตนออกไปเป็นแปลงเล็กๆให้ กับทาสและชาวนา เพื่อทำการกดขี่ขูดรีดในรูปแบบการเกณฑ์แรงงานและการส่งค่าเช่า หรือการแบ่งปันผลิตการเกษตรให้กับเจ้าศักดินา ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์สถาปนาขึ้นมาในสังคมแบบศักดินาที่มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้ครอบครองผืนดินทั้งหมดและแบ่งปันการถือครองที่ดินให้กับขุนนางลด หลั่นกันไปจนถึงระดับทาส-ไพร่ ติดที่ดิน ในสังคมแบบศักดินาจึงมีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน มีการเกณฑ์ทหารเพื่อให้ออกไปรบแย่งชิงหรือปล้นสะดมครอบครองดินแดนของคนอื่น ขยายอาณาเขตการปกครองของระบอบกษัตริย์ให้กว้างขวางออกไป ทำการกวาดต้อนเชลยข้าศึกให้เข้ามาเป็นทาส ? ไพร่ ทำงานแบบบีบบังคับให้กับรัฐศักดินา

                แต่เมื่อสังคมมีการพัฒนาพลังการผลิตที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น หัตถกรารมพื้นฐานที่รับใช้การเกษตร จึงค่อยๆแยกตัวเป็นอิสระจากเกษตรกรรม กลุ่มพ่อค้า นายภาษีอากรและขุนนางส่วนหนึ่ง ทำการผลิตและการพาณิชกรรมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนนำมาสู่การคิดค้นเครื่องจักรทันสมัย ดังเช่นการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำ ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเคลื่อนของการผลิตขนาดใหญ่ เป็นที่มาของโรงงานอุตสาสหกรรม ทำให้มีความจำเป็นของการใช้แรงงานเสรีมากยิ่งขึ้น แต่ในระบบศักดินา แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานทาส-ไพร่ติดที่ดินที่ถูกครอบครองและควบคุมโดย กษัตริย์และขุนนาง โดยที่ทาส-ไพร่เหล่านี้ปราศจากสิทิเสรีภาพ อย่างสิ้นเชิง

                กษัตริย์และขุนนางในยุคศักดินา ครอบครองทรัพย์สินมหาศาล ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี ในขณะที่รัฐศักดินาใช้กำลังทหาร เข้าไปรีดนาทาเร้นเก็บภาษีและค่าเช่าที่ดินสูงจากชาวนา รวมทั้งการเกณฑ์แรงงานให้เข้าไปทำงานให้พวกขุนนางและกษัตริย์ พวกชนชั้นกลางและพ่อค้าซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นจากการเฟื่องฟูของเมืองและการค้า ทางทะเล จึงเกลียดชังอำนาจ สิทธิพิเศษของพวกขุนนางและอำนาจที่เกินขอบเขตของกษัตริย์

                สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ คือ ฐานันดรที่1 กษัตริย์และ ขุนนาง มีประมาณ 400 , 000 คน ฐานันดรที่2. นักบวช มีประมาณ 115, 000 คน ฐานันดรที่สาม (tiers ?tat) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น) สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

                ระบบการบริหารประเทศล้าหลังของกษัตริญ์ฝรั่งเศส ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่าง ไม่เป็นระบบ ( อัตราภาษี ศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน , การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้ง หมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส  ค.ศ.1789

                เหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1789 หรือที่เรียกว่า ?การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส? เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการ เมือง การปกครองที่สำคัญ เพราะเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของกษัตริย์ใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน

                สาเหตุของการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส  ค.ศ.1789  สรุปได้ 3 ประการ คือ

                1 ปัญหาทางเศรษฐกิจ  ฝรั่งเศสกำลังประสบภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการใช้จ่ายเพื่อการ ทำสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะในสงครามประกาศอิสรภาพของ ชาวอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1776 ? 1781 เพื่อสนับสนุนให้ชาวอาณานิคมต่อสู้กับอังกฤษ

                ด้วยสาเหตุดังกล่าว รัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ( Louis  XVI , ค.ศ. 1776-1792 ) จึงมีนโยบายจะเก็บภาษีอากรจากประชาชนเพื่อชดเชยรายจ่ายที่ต้องสูญเสียไป จึง สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ

                2. ความเหลื่อมทางสังคม  ฝรั่งเศสมีโครงสร้างทางสังคมแบบชนชั้น โดยฐานะของผู้คนในสังคมมีสองกลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ  ชนชั้นอภิสิทธิ์และชนชั้นสามัญชน แต่ในทางปฏิบัติทางการจะแบ่งฐานะของ พลเมืองออกเป็น 3 ชนชั้นหรือ 3 ฐานันดร  ( Estates )  ได้แก่

ฐานันดร ที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนา และฐานันดรที่ 2 คืน ขุนนางและชนชั้นสูง ทั้งสองฐานันดรเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์  มีจำนวนประมาณร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายและหรูหรา

ฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนและถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก รวมทั้ง พวกชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ และปัญญาชน ฯลฯ

                3. ความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองแบบเก่า  กษัตริย์ฝรั่งเศสในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้นไม่ มีขอบเขตจำกัดและทรงอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมืองโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระ เจ้าหลุยส์ที่ 16 มีหลายครั้งที่ทรงใช้อำนาจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน ทรงไม่สนพระทัยการบริหาร บ้านเมือง อีกทั้งยังทรงอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระนางมารี อังตัวเนตต์        ( Marie Antoinette ) พระราชินี ซึ่งทรงนิยมใช้จ่ายในพระราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือย

อรุณรุ่งการปฏิวัติฝรั่งเศส Les ?tats g?n?raux

                ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

                สภา les ?tats g?n?raux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า Assembl?e Nationale ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

                สภา Assembl?e Nationale นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les ?tats g?n?raux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสภา Assembl?e Nationale ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ

Share this