เทพไดโอนิซัส (Dionysus) เทพองุ่นและน้ำเมา
..แบกคัส หรือ ไดโอนิซัส (dionysus) ตามชื่อกรีก ได้รับการยกย่องเป็นเทพองค์หนึ่งในคณะเทพโอลิมเปียน และเป็นที่นับถือของชนทั้งหลายในฐานะเทพผู้พบและครองผลองุ่น ต่อมาเป็นเทพครองน้ำองุ่นตลอดจนความเมาเนื่องจากการดื่มน้ำองุ่นด้วย
ไดโอนิซัส เป็นบุตรของซูสเทพบดี กับนาง สีมิลี ธิดาของแคดมัสผู้สร้างเมืองธีบส์ กับนางเฮอร์ไมโอนี การกำเนิด ของเทพไดโอนิซัสนับว่าน่าสงสารทีเดียว เหตุเพราะความหึงหวงของเจ้าแม่ฮีรา กล่าวคือ
เมื่อเทพปริณายกซูสไปเกิดมีความปฏิพัทธ์พิศวาสนางสีมิลี จึงได้จำแลงองค์เป็นมานพลงมาแทะโลมและสมสู่ด้วย ถึง แม้ว่านางจะได้รับแต่คำบอกเล่าของมานพ โดยไม่มีอะไรพิสูจน์ว่ามานพนั้นคือเทพไท้ซูส นางก็พอใจและปิติยินดีไม่ติดใจ สงสัยอันใด ไม่ช้าเรื่องพิศวาสระหว่างซูสเทพบดีกับนางสีมิลีก็แพร่งพรายไปถึงเจ้าแม่ฮีราผู้หึงหวง เจ้าแม่มุ่งมั่นจะให้เรื่องนี้ ยุติเสียทันที จึงจำแลงองค์เป็นนางพี่เลี้ยงแก่ของสีมิลีเข้าไปในห้องของนาง และชวนคุย พอได้ช่องก็ซักเรื่องเกี่ยวโยงไปถึง เรื่องความรักของนาง และออกอุบายให้นางหลงเชื่อเกี่ยวกับประวัติอันน่าสงสัยของมานพผู้นั้นว่าจะเป็นซูสจำแลงมาจริงหรือไม่ โดยให้มานพนั้นปรากฏกายให้เห็นในลักษณะของเทพเจ้า ซึ่งนางสีมิลีก็หลงเชื่อในที่สุดและตกลงใจที่จะกระทำตามที่พี่เลี้ยง แก่แนะนำ
เมื่อซูสเสด็จลงมาอีก นางสีมิลีจึงหว่านล้อมให้ไท้เธอสาบาน โดยอ้างแม่น้ำสติกซ์เป็นทิพยพยานว่าไท้เธอจะโปรด ประทานฉันทานุมัติตามคำของนางประการหนึ่ง ครั้นไท้เธอสาบานแล้วนางก็ทูลความประสงค์ของนางให้ทราบ ซูสเทพบดีถึงแก่ ตกตะลึงด้วยคิดไม่ถึงว่านางจะทูลขอในข้อฉกรรจ์ถึงเพียงนี้ ไท้เธอตระหนักดีว่า ถ้าไท้เธอสำแดงองค์ให้ปรากฏตามจริง ก็จะ ทำให้นางสีมิลีผู้เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาไม่อาจมีชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ดีไท้เธอก็มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามสาบานอย่าง เคร่งครัด ไม่มีทางจะบ่ายเบี่ยงได้ ด้วยว่าการละเมิดคำสาบานซึ่งอ้างแม่น้ำสติกซ์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นทิพยพยานนั้นย่อมบังเกิดผล ร้ายกับเทพผู้สาบานทุกองค์เหมือนกันหมด ไม่มีที่ยกเว้นแม้แต่องค์เทพบดีซูสเอง
ซูสเนรมิตองค์ให้ปรากฏตามลักษณะประกอบด้วยทิพยาภิสังขารอันเป็นจริง พอนางสีมิลีได้เห็นภาพของไท้เธอ ด้วยตาอันพร่าพราว นางก็ถึงแก่ล้มกลิ้งด้วยไม่อาจทนต่อทิพยอำนาจของไท้เธอได้ และในชั่วพริบตาก็บังเกิดไฟลุกขึ้นเผา ผลาญนางให้วอดวายกลายเป็น จุณไป ในขณะนั้นนางสีมิลีทรงครรภ์อยู่ แม้ซูสไม่อาจช่วยชีวิตของนางไว้ได้ แต่ก็ยังสามารถ ช่วยบุตรได้ ไท้เธอฉวยทารกออกจากไฟฝัง ไว้ในต้นชานุมณฑลของไท้เธอเอง ทารกคงอยู่ในที่นั้นต่อจากที่ได้อยู่ในครรภ์ มารดามาแล้ว จนครบกำหนดคลอด ซูสจึงเอาทารกออก มอบให้นางอัปสรพวกหนึ่งเรียกว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้ อนุบาล นางอัปสรพวกนี้เอาใจใส่อนุบาลทารกอย่างทะนุถนอมเป็น อย่างดี ซุสจึงโปรดเนรมิตให้กลายเป็นกลุ่มดาวหนึ่ง เรียกว่า ไฮยาดีส (Hyades) ส่วนทารกน้อยผู้ที่ ถูกนางอัปสรเลี้ยงดู มีชื่อว่า ไดโอนิซัส หรือ แบกคัส นั่นเอง แม้ว่ากำเนิดแท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพอย่าง สมบูรณ์ มีความเป็น อมฤตภาพเช่นเดียวกับเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัส แต่ไดโอนิซัสรักที่จะ เดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอัน กว้างขวางมากกว่า ไปทางไหนก็นำความชุ่มชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย คนที่มองเห็นคุณความดีของเธอพากันเคารพนับถือ ส่วนคนที่ดูถูกเหยียดหยามมักถูกลงโทษ ในฐานะที่เพิ่ง จะดำรงตำแหน่งเทพ ไดโอนิซัสไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ คนนับถือสักเท่าใดนัก ครั้นเวลาผ่านไป และคุณกับโทษของเธอเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้น มนุษย์ส่วนใหญ่จึงพากันเคารพนับถือ และสร้างวิหารถวายแด่ เมรัยเทพเป็นการใหญ่
ไดโอนิซัส ทำให้พื้นดินสะพรั่งไปด้วยองุ่นรสเลิศที่ทรงคุณประโยชน์มากหลาย ทำให้ผู้คนอิ่มหนำ และชื่นบาน แต่มีหลายครั้งที่ไดโอนิซัสทำให้คนกลายเป็นวิกลจริตอย่างน่าสมเพช ในจำนวนนี้มีสตรีกลุ่ม หนึ่งซึ่งเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) ซึ่งถูกพิษของเมรัย ทำให้เป็นบ้าหมดสติไปทุกคน ต่างกระโดด โลดเต้นร้องรำทำเพลงไปตามป่าเขาลำเนาไพร อย่างขาดสติ บางครั้งก็มาห้อมล้อมติดสอยห้อยตามไดโอนิซัส ไปด้วย ต่อมาในยุคโรมันเมื่อไดโอนิซัสได้รับชื่อเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) คณานางสติไม่ สมบูรณืเหล่าสตรีก็ได้รับชื่อใหม่ว่า แบกคันทีส(Bacchantes) จึงออกจะเป็นถาพที่ ประหลาดมากที่ชาย หนุ่มรูปงามคนหนึ่งจะเดินทางไปไหน ๆ โดยแวดล้อมด้วยผู้หญิงบ้า
เรื่องราวความรักของไดโอนิซัสก็มีบ้าง แต่เป็นรักที่ลงเอยด้วยความเศร้าสลด คือเธอไปพบและช่วยเหลือนาง อาริแอดนี่ (Ariadne) ธิดาเจ้ากรุงครีตไว้ได้ อาริแอดนี่ ธิดาของท้าว ไมนอสแห่งนตรครีต ซึ่งเลี้ยงอสูรร้ายชื่อ มิโนทอร์เอาไว้ใต้ดิน เมื่อวีรบุรุษ ธีลิอัสเดินทางไปครีตเพื่อเป็นเหยื่อแก่มิโนทอร์ นวลอนงค์ก็เกิดมีใจปฏิพัทธ์กับเจ้าชาย หนุ่ม จึงหาทางช่วยเหลือและพาหนีออกเกาะครีตได้สำเร็จ แต่ทว่านางถูกทอดทิ้งไว้เดียวดายบนเกาะร้างแห่งหนึ่ง ไดโอนิซัส ไปพบเข้าจึงเกิดความสงสารและรักนาง แต่รักได้ไม่นาน อาริแอดนี่ก็ตายลง ไดโอนิซัสสุดเสียใจนัก จึงไม่มีรักใหม่อีกเลย
ตัวของไดโอนิซัสเองก็มีชีวิตแสนเศร้าพอ ๆ กับรักของเธอเอง ใครคิดบ้างว่าเทพที่มีกายเป็นอมฤตภาพก็มีโอกาส ตายได้เช่นกัน นักกวีชาวกรีกโบราณเขาเขียนขึ้นตามความเป็นจริงของต้นองุ่น
กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเก็บองุ่น ชาวบ้านจะฟันเอากิ่งที่มีองุ่นติดเต็มไปหมด เหลือไว้แต่ต้นโดดเดี่ยว มองดูแล้วน่า สะพรึงกลัว เพราะมีแต่ลำต้นลุ่น ๆ ปราศจากกิ่งก้านสาขา แต่ไม่นานเมื่อเวลาผ่านไป ต้นองุ่นก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับแตกแยก กิ่งก้านและใบสวยงาม ต่อจากนั้นก็ผลิดอกออกผลเป็นที่เจริญตาอีกครั้ง
ฉันใดฉันนั้นเทพไดโอนิซัส ตามตำนานกล่าวว่า เธอถูกยักษ์เผ่าวงศ์ไทแทน ทำร้ายอย่างน่าสยองขวัญด้วยการฉีก ร่างออกเป็นชิ้น ๆ ก็ดั่งต้นองุ่นที่ถูกตัดกิ่งก้านเพื่อเก็บผลของมัน แต่ไม่นานนัก เทพไดโอนิซัสก็จับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ก็ ในเวลาที่เธอฟื้นจากความตายนี่แหละ ที่ใคร ๆ ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างก็ชื่นชมยินดี และจัดงานรื่นเริงฉลองรับขวัญกัน เอิกเกริก
และจากการตายนี้เอง ไดโอนิซัสได้ช่วยเหลือมารดาที่เธอไม่เคยเห็นหน้ามาก่อนจากหัตถ์ของยมเทพ และนำ ขึ้นสถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสได้อย่างปลอดภัย
เรื่องมีอยู่ว่า เทพไดโอนิซัส ได้ติดตามหามารดาในปรโลก เมื่อพบแล้วเธอก็ขอนางคืน มาจากยมเทพฮาเดส แต่มัจจุราชไม่ยินยอม จนเกิดการโต้เถียงกันว่าใครจะเหนือกว่าใคร ไดโอนิซัสบอกคำเดียวว่า ตนนั้นเหนือกว่ามัจจุราช เพราะเธอสามารถตายแล้วคืนชีพได้อีก ไม่ เคยมีเทพองค์ใดกระทำได้อย่างเธอเลย เทพฮาเดสเห็นจริงตามนั้น ก็ยอมมอบนางสิมิลีให้บุตร ชายพาออกจากแดนบาดาลไป เทพไดโอนิซัสจึงพามารดาขึ้นสวรรค์บนโอลิมปัส ที่นั่นเหล่าเทพ น้อยใหญ่ต่างต้อนรับนางสิมิลีเป็นอย่างดี โดยที่นางเป็นอมตขนคนเดียวที่อยู่ท่ามกลางอมตเทพ ทั้งปวงและฮีร่าเทวีก็ทำอะไรมิได้อีก
เทพ Dionysus หรือ Dionysos(หรือ Bacchus ในเทพนิยายกรีกและโรมัน) นอกจากถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งไวน์แล้ว ยังรวมถึง เทพผู้นำความเจริญ อารยธรรม(Civilization) ,ผู้สร้างกฏระเบียบ(Lawgiver) , และผู้รักสันติ(Lover of Peace) และรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร(Agriculture) และเรื่อยไปถึงการละคร(Theater)
ในตำนานกรีก บ้างก็ว่า Dionysus เป็นบุตรของเทพ Zeus และนาง Semele …บ้างก็ว่าเป็นบุตรแห่ง Zeus และ Persephone
วัวตัวผู้(Bull), งูใหญ่(Serpent),ต้นไอวี่และไวน์(The ivy and wine) ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพ Dionysus และนอกจากนี้มักจะออกมาในภาพของเทพผู้ขี่เสือดาว(Leopard)เป็นพาหนะ,สวมใส่อาภรณ์หนังเสือดาว,หรือ ในภาพของเทพผู้ทรงราชรถ ที่ชักลากโดยเสือดำ(Panthers)
ในบางแห่งขนานนามเทพผู้นี้ในนาม "The god of cats and savagery"(เทพแห่งเหล่าหญิงเลวและคนป่าเถื่อน) ก็มี
เทพเฮอร์เมส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร
เมอร์คิวรี่ (Mercury) หรือ เฮอร์มีส (Hermes) เป็นเทพบุตรของซูสเทพบดี กับ นางมาย หรือ เมยา (Maia) เป็นเทพที่มีผู้ร้จักมาก เนื่องจากรูปของเธอปรากฏคุ้นตาคนมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่งของเธอ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ของเธอก็มีปีกเหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า "ไปเร็วเพียงความคิด" ทีเดียว
หมวกและเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล เธอใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของ เธอไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคืนวัวให้แก่เธอ เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถามอย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไรที่ไหนกัน เธอไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้องเทพบิดา ซูส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม เธอเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ (lyre) เป็นของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยกระดองเต่าก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้งนั้น
ไม้กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์มาจนบัดนี้
เฮอร์มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโคปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางใน กิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเธอ หรืออยู่ในความสอดส่องของเธอทั้งสิ้น ส่วนการที่เธอเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คง เนื่องจากขโมยวัวของอพอลโลที่เล่ามาแล้วนั่นเอง
สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนาง เมยา (Maia) ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลิกและนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ ธรรมดา อาทิเช่น ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล ช่วยองค์ซูสเทพบิดาให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ไทฟีอัส ช่วยอนุองค์ หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอให้รอดตายด้วยการสังหารอาร์กัส อสูรพันตาของเจ้าแม่ฮีร่า และช่วยเหลือเลี้ยงดูไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำเนิดขึ้นอีกด้วย ในด้านของมนุษย์นั้น เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุสสังหารนางการ์กอนเทดูซ่า ช่วย เฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล ช่วยโอดีสซีอัสให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี และช่วยให้เตเลมาดุสตามหาพ่อจน พบ เป็นต้น
เฮอร์มีสก็เช่นเดียวกับเทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่เธอชอบเสด็จลงไป ในแดนบาดาลบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนีผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีสก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่ กล่าวขานได้แก่ อคาคัลลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัสก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำนองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และอโฟร์ไดที่เทวี
ออร์ฟีอัส (Orpheus) นักดีดพิณระดับเทพในตำนานกรีก
..ในสมัยโบราณ ชาวกรีกถือเอาการดนตรีเป็นของสูง และยกย่องนักดนตรีมาก เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจเท่าไรนักในการที่เขาอุปโลกน์ให้เทพเจ้าหลายองค์เป็นนักดนตรีมีฝีมือ หรือย่างน้อยก็เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น เช่น เทพีเอเธน่า หรือ มิเนอร์วาซึ่งครองเกษตรกรรมและการฝีมือเย็บปักถักร้อย เป็นผู้ประดิษฐ์ขลุ่ย แม้ว่าจะไม่ได้เล่นเองก็ดี แพนเทพขาแพะก็เป็นผู้ประดิษฐ์ปี่อ้อ เป่าเสียงเสนาะดังเสียงนกไนติงเกลใน วสันตฤดู เฮอร์มิสเทพครองการพาณิชกรรมและการสื่อสาร เป็นผู้ประดิษฐ์พิณถึอที่เรียกว่า ไลร์ (Lyre) และมอบให้อพอลโลใช้ดีดปรรเลงเพลงขับกล่อมเทพบนเขาโอลิมปัสเป็นประจำ คณะศิลปวิทยาเทวีถึงจะไม่มีเครื่องดนตรีทำเพลง แต่ก็มีเสียงขับร้องไพเราะหาที่เสมอเหมือนมิได้ ส่วนอพอลโลเอง นอกจากครองเกษตรกรรมและประณีตศิลปแล้ว ยังครองการดนตรีโดยตรงอีกด้วย
ถัดจากเทพเจ้า ก็มีนักดนตรีในหมู่มนุษย์หลายคนที่มีตำนานปรากฏว่ามีฝีมือเยี่ยมเกือบเสมอด้วยเทพ แต่ที่เห็นเด่นสุดไม่มีใครเกินและเสมอเหมือนก็คือ ออร์ฟิอัส (Orpheus) ตามตำนานกล่าวว่าฝีมือดีดพิณของ ออร์ฟิอัสไพเราะหนักหนา จนถึงแก่ว่าคราใดเสียงเสนาะจากเพลงพิณของออร์ฟิอัสล่องลอยโหยหวนไปในกลางดง ครานั้นแม้แต่กระแสน้ำอันเชี่ยวกรากก็หยุดไหล เสือ สิงห์ และสัตว์ไพรที่แสนดุร้ายก็กลับเชื่องและมีอาการซบเซา ไปถนัดตา นางอัปสรทั้งปวงก็เคลิบเคลิ้มหลงไหลรัญจวนใจใคร่ก็จะให้ออร์ฟิอัสเชยชิดพิสมัยไปตามๆ กัน
ตามตำนานได้แสดงฝีมือบรรเลงเพลงอันไพเราะไว้มากมาย อย่างเช่นเมื่อครั้งออร์ฟิอัสสมทบไปในเรือ ของเยสัน ในการไปเอาขนแกะทองคำ ยามที่พวกฝีพายเหนื่อยอ่อนโรยกำลังเต็มทีจนเกือบจะพายต่อไปไม่ไหว ออร์ฟิอัสได้ดีดพิณขับกล่อมให้เกิดกำลัง ลืมความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปหมดสิ้น หรือเมื่อพวกผู้กล้าในเรือเกิดขัดใจทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนเกิอบจะทำร้ายกัน ออร์ฟิอัสก็ใช้พิณขับกล่อมทำให้โทสะของคนกล้าในเรือเหล่านั้นให้ บรรเทาเบาลงจนเหือดหายไปหมดสิ้น ไม่เกิดเหตุร้าย หรือในยามเมื่อเรือผ่านน่านน้ำแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้แหลมปิโลรัสในเกาะซิสิลี ซึ่งเป็นน่านน้ำที่ชาวกรีกโบราณกลัวเกรงกันนัก เนื่องจากในน่านน้ำแห่งนั้น เป็นที่อยู่ของนางอัปสร ไซเรน (Siren) ซึ่งมีเสียงไพเราะจับใจยิ่งนัก จะล่อให้เรือไปหลงคว้างจนคนในเรืออดอาหารตายมาเสียนักต่อนักแล้ว ดังนั้นเมื่อได้ยินเสียงเพลงของนางไซเรน ออร์ฟิอัสก็ได้ดีดพิณขับเพลงกลบเสียงนางไซเรน จนสิ้น จูงใจคนในเรือให้มาฟังเสียงพิณของตน และแล่นเรือไปตามร่องน้ำจนรอดผ่านมาได้ เรือของเยสันจึงรอดมาได้เพราะออร์ฟิอัสโดยแท้
ออร์ฟิอัสเป็นบุตรนางคัลลิโอพี เทวีประจำบทกวีในคณะเทวีศิลปวิทยา โดยบางตำนานกล่าวว่า มีบิดาเป็นเทพอพอลโลเลยทีเดียว (บ้างก็ว่าเป็น เฮอร์มิส) ประทานพิณให้ออร์ฟิอัสดีดมาแต่น้อย และเมื่อ เจริญวัยเติบโตขึ้น ออร์ฟิอัส ก็ไม่เอาใจใส่อะไรทั้งหมด นอกจากการดึดพิณ ถึงมาตรว่านางอัปสรทั้งปวงพากัน มั่นหมายออร์ฟิอัสเป็นคู่ชิดชม แต่อย่างไรก็ตามสามารถชนะใจออร์ฟิอัสได้ นางนั้นคือนางอัปสร ยุริดดิซี่ (Eurydice)
แต่ชะตากับเล่นตลก ออร์ฟิอัสกับนางยุริดดีซีเป็นคู่โศกไม่ใช่คู่สุข เมื่อขณะทำการวิวาห์นั้น คบเพลิง ของ ไฮเมน (Hymen) เทพครองการวิวาห์เป็นควันโขมง แทนที่จะเป็นเปลวไฟอันสว่างไสว ซึ่งเป็นการ บอกลางร้ายในการวิวาห์ อยู่มาไม่นานนางยุริดดิซึก็ถูกงูกัดตาย ดวงวิญญาณออกจากร่างไปสู่ยมโลก ออร์ฟิอัสเสียใจในการตายก่อนถึงวัยอันสมควรของคู่ครองเป็นอย่างยิ่ง จึงบนบานขอให้ซูสเทพปริณายกโปรดชุบนางยุริดดิซี ให้คืนชีวิต ซูสสงสารออร์ฟิอัส แต่ไม่อาจ สนองได้จึงแนะนำให้ออร์ฟิอัสลงไปตามหานางในบาดาล และ ขอนางคืนต่อเทพฮาเดส เจ้าแห่งบาดาลนั้นเอง
ออร์ฟิอัสดั้นบาดาลลงไปถึงเขตที่มีสุนัขสามหัว ชื่อเซอร์บิรัส เฝ้าประตูเข้าตรุชั้นใน อันเป็นที่ประทับของฮาเดส มันไม่ยอมให้คนเป็นผ่านเข้าประตู หรือวิญญาณคนตายออกจากประตูเป็นอันขาด พอแลเห็นออร์ฟิอัสตรงมา มันก็คำรามเห่าแห้ แยกเขี้ยวคุกคามอย่างดุร้าย แต่ออร์ฟิอัสก็ไม่ถอยหนี เขาเพียงแต่หยุดเท่านั้น แล้วดีดพิณคู่มือ ขับกล่อมเซอร์บิรัสด้วยเพลงอันไพเราะจนมันเซื่องเซาลงและในที่สุดมันก็ยอมให้ออร์ฟิอัสล่วงเข้าประตูไปด้วยความสงบ เสียงเพลงอันแสนขลังประดุจมนต์สะกดของออร์ฟิอัส ดังกังวานไปจนถึงส่วนลึกล้ำของตรุทาร์ทะรัส ทำให้เหล่าพวกที่ ต้องโทษทัณฑ์ได้รับความทรมานอยู่ในยมโลก ลืมความทรมานไปได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่อำนาจความขลังของเพลงออร์ฟิอัส จะได้มีเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ด้วยเหตุการณ์ที่จะแสดงอำนาจความขลังเป็นที่สุดยังมีอีก
ออร์ฟิอัสล่วงเข้าเขตตรุทาร์ทะรัสและดั้นด้นต่อไปจนถึงประตูที่ประทับของฮาเดสเจ้าแห่งยมโลกกับเทวี เพอร์เซโฟนีมเหสี แวดล้อมด้วยเทวีทัณฑกรที่ปราศจากความปรานี เป็นภาพที่ไม่เคยประจักษ์แก่สายตามนุษย์เลยใน กาลก่อน เพราะว่าไม่มีผู้มีชีวิตคนใดจะได้ล่วงล้ำไปถึงที่นั่นดั่งออร์ฟิอัสในครั้งนี้ ออร์ฟิอัสทูลต่อเทพฮาเดสให้รู้ถึงความมุ่ง หมายของตนในการล่วงล้ำไปถึงตรุทาร์ทะรัสนั้นแล้วก็ดีดพิณขับเพลงครวญโหยหวนอย่างสุดฝีมือ รำพันถึงความทุกข์ของ ตน
การขับเพลงของออร์ฟิอัสได้ผล บันดาลให้เทพฮาเดสตื้นตันถึงกับหลั่งอัสสุชลลงพราก ๆ และอนุญาตให้ออร์ฟิอัส พานางยุริดดิซีกลับขึ้นมาในมนุษย์โลกได้ดังประสงค์ แต่มีเงื่อนไขห้ามออร์ฟิอัสเหลียวหลังมองดูนางในระหว่างทางเป็นอัน ขาด จนกว่าจะพาขึ้นพ้นยมโลกเป็นที่เรียบร้อย
ออร์ฟิอัสยอมรับเงื่อนไขด้วยความดีใจ เดินนำหน้านางยุริดดิซีออกจากตรุทาร์ทะรัส ลัดเลาะกลับตามทางเก่า โดยไม่หันหน้ามองแม้แต่ข้างซ้ายและข้างขวาเลย คอยข่มใจมิให้พะวงถึงนางผู้ตามหลังตลอดทาง แม้จะรู้อยู่แก่ใจดีว่านาง คงจะต้องเดินอยู่ใกล้ ๆ ก็ยังมิวายเป็นห่วง พอถึงที่สว่างแล้ว ในทันทีที่ออร์ฟิอัสก้าวออกจากคูหาที่จะลงสู่บาดาล ไม่ทัน เฉลียวใจว่านางยุริดดิซียังอยู่ข้างใน เหลียวขวับไปดูเพื่อความแน่ใจว่า ที่รักของเขาตามทันหรือไม่ แต่เป็นการด่วนเกิน ไป หล่อนยังไม่ทันออกพ้นปากคูหา เขาได้เห็นหล่อนมัวๆ อยู่ในที่มืดสลัว จึงยื่นมือออกไปจะรับหล่อนและพร้อมกันนั้นนาง ยุริดดิซีก็หายวับไปฉับพลัน ในขณะเดียวกันออร์ฟิอัสคงแว่วแต่เสียง "ขอลาลับ" มาเท่านั้น
ออร์ฟิอัสใจหายแทบคลั่ง ถลันกลับลงไปตามนางอย่างอุตลุด แต่ไม่อาจล่วงล้ำลงไปได้อีกเป็นตรั้งที่สอง จึงจำใจต้องกลับ ขึ้นมาด้วยความสิ้นหวังสิ้นอาลัยในชีวิต และสิ้นจนกระทั่งความเอาใจใส่ในเพลงพิณ เที่ยวซัดเซพเนจรไปจนถึงแดนชนชาติป่าเถื่อน ที่ดุร้ายในแคว้นเธรส และในที่สุดก็ถูกหญิงชาวป่าพวกนับถือ เทพไดโอนิซัสกลุ้มรุมฆ่าตาย เมื่อขณะจะตายออร์ฟิอัสรำพันแต่คำว่า "ยุริดดิซี" ไม่ขาดปากจนชีวิตออกจากร่าง ล่องลอยไปสมทบกับนางผู้เป็นที่รักในที่สุด บรรดาสายน้ำลำธารรุกขชาติและน้ำพุก็จำคำ รำพันของออร์ฟิอัสนั้นมา ทวนพร่ำอยู่เป็นนิตย์ตั้งแต่บัดนั้น ส่วนศิลปเทวีก็เอาซากศพออร์ฟิอัสฝังไว้ที่ตีนเขาโอลิมปัส ณ ตำบลซึ่งนกไนติงเกลร้องเพราะเสนาะโสตกว่าที่อื่นทั้งสิ้นตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ นอกจากนี้ทวยเทพยังประสิทธิ์ประสาทให้พิณถือของออร์ฟิอัส เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งชื่อว่า ไลรา (Lyra) ให้คนทั้งหลายระถึงฝีมือดีดพิณและเรื่องราว อันแสนเศร้าของออร์ฟิอัสมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
เทพแพน (Pan) เทพแห่งธรรมชาติ
ในบรรดาวงศ์โอลิมเปี้ยนมีเทพอยู่องค์หนึ่งไม่เหมือนทวยเทพองค์อื่น โดยมีร่างกายกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ แต่ก็ได้รับการยอมรับเป็นเทพองค์หนึ่งในสวรรค์ชั้นโอลิมปัส มีนามว่า เทพแพน
แพน (Pan) เป็นเทพในระดับหลานของซูส เทพบดี กล่าวคือ เธอเป็นโอรสของเทพ เฮอร์มีส กับนางพรายน้ำ อนงค์หนึ่ง แพนเป็นเทพแห่งทุ่งโล่งและดงทึบ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทพ แห่งธรรมชาติทั้งปวงก็ไม่ผิด เพราะคำว่า "แพน" ในภาษากรีกแปลว่า "All" หรือทั้งหลายทั้งปวงนั่น แล
เทพองค์นี้มีรูปร่างผิดแปลกกับเทพอื่น ๆ ที่มักสวยสง่างาม เทพแพนเป็นส่วนผสมระหว่างมนุษย์ กับสัตว์ กล่าวคือ ร่างกายหน้าตาเป็นมนุษย์ แต่ท่อนล่างลงไปเป็นแพะ บนศีรษะมีเขาเป็นแพะเช่นกัน และมีหนวดเครา
ได้มีตำนานกล่าวไว้น่าสนใจดียิ่ง กล่าวคือ แพนได้ ไปยลโฉมของ นางพรายน้ำตนหนึ่งเข้า นามว่า ไซรินซ์ (Syrinx) เกิดถูกชะตาต้องใจเป็นอันมาก จึงติดตาม ไปหมายของความรัก แต่นางพรายน้ำไม่ยินดีด้วย เนื่องจากหวั่นกลัวในรูปร่างของแพน เทพแห่งธรรมชาติ จึง วิ่งหนีเตลิดไป แพนก็ออกไล่ตาม จนมาถึงริมน้ำ ครั้นนางพรายน้ำเห็นท่าจวนเจียนหนีไม่พ้นแน่ จึงตะโกนขอ ความช่วยเหลือจากเทพแห่งท้องธาร คำขอร้องของ นางสัมฤทธิ์ผล เทพแห่งท้องธารสงสารนางจึงดลบันดาลให้นาง กลายเป็นต้นอ้อประดับอยู่ริมฝั่งน้ำนั่นเอง เมื่อเทพแพนมาถึง และได้รู้ความจริงก็เศร้าสร้อยมาก จึงเอาต้นอ้อนั้น มาตัดและมัดเข้าด้วยกันใช้เป็นเครื่องดนตรีเป่าอย่างไพเราะสืบม