เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส
สมาชิกเลขที่95771 | 21 ก.ค. 55
65.6K views

 เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส

เทพ 12 องค์บนยอดเขา Olympus

เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์ แต่ถ้านับอย่างถี่ถ้วนจะมีทั้งสิ้น 16 องค์ ดังนี้

รูปปั้นโพไซดอนที่โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก

โพไซดอน หรือ โพเซดอน หรือ โปเซดอน (อังกฤษ: Poseidon; กรีก: Ποσειδών; ละติน: Neptūnus เนปจูน) เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีตรีศูลเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย

 
 
เดเมเทอร์ (Demeter) ตามชื่อกรีกหรือภาษาโรมันว่า ซีริส (Ceres) เป็นเทวีครองข้าวโพด ซึ่งหมายถึงการเกษตรกรรมนั่นเอง เจ้าแม่เดเมเทอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า พรอสเสอะพิน (Proserpine) หรือ เพอร์เซโฟนี (Persephone) เป็นเทวีครองฤดูผลิตผลของพืชทั้งปวง เป็นธิดาของโครนัสและรีอา ซึ่งเป็นไททัน มีพี่น้องร่วม 5 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพโอลิมเปียนทั้งนั้น ได้แก่ ซุส โพไซดอน ฮาเดส เฮร่า และ เฮสเทีย เดเมเทอร์ไม่ค่อยมีบทบาทในตำนานกรีกมากยกเว้นเรื่องความงามของนางที่ทำให้เกิดปัญหา สามีของนางมี 2 คน ได้แก่ โพไซดอน และ ซุส โพไซดอนเป็นบิดาของแอรีออน และ ซุสเป็นบิดาของพรอสเสอะพิน
 
 
 
 
 

ในเทพปกรณัมกรีก เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia, /ˈhɛstiə/) หรือที่โรมันเรียก เวสตา (อังกฤษ: Vesta) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส บางตำนานเล่าว่าเฮสเตียนั้นได้สละตำแหน่งให้แก่ไดโอนิซัส เป็นลูกคนโตในจำนวน 6 ของโครนอสกับรีอา ได้รับมอบหน้าที่จากซูส ให้เป็นเทพีแห่งเตาไฟ และยังเป็นเทพีผู้คุ้มครองบ้านเรือน เนื่องจากเป็นคนแรกที่สร้างบ้านขึ้นมา

เทพีเฮสเตียมีความสำคัญมากเปรียบดั่งเทพีผู้คุ้มครองทั้งบ้านเรือนรวมไปจนถึงคนในบ้าน และยังเป็นเทพีผู้คุ้มครองเด็กเกิดใหม่อีกด้วย ในธรรมเนียมกรีกโบราณ เมื่อใดในบ้านมีเด็กเกิดใหม่ ก็จะนำเด็กไปวนรอบเตาไฟ ซึ่งตั้งอยู่กลางบ้าน เพื่อให้เฮสเตียรับรู้และคุ้มครองเด็กจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆเหมือนเป็นการรับขวัญ เฮสเตียเป็นเทพีที่ไม่มีวิหารบูชา แต่ถือว่าเตาไฟทั้งหลายนั้นเป็นเหมือนแท่นบูชาของนาง

เทพีเฮสเตีย มักใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบอยู่ในที่พัก และไม่นิยมการสังสรรค์ ทำให้มีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพีเฮสเตีย ในเทพปกรณัมกรีกน้อยมาก

เฮสเตียเป็น 1 ใน 3 เทพีผู้ครองพรหมจรรย์ ถึงแม้จะถูกเกี้ยวพาราณสี จากเทพอพอลโล และโพไซดอน

เทพีผู้ครองพรหมจารีย์ มี 3 พระองค์ ได้แก่ เฮสเตีย เทพีแห่งเตาไฟ อธีนา เทพีแห่งสติปัญญา และอาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์

 
 

อาร์เทอมีส (อังกฤษ: Artemis (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɑrtəmɪs/)) หรือในภาคโรมันคือไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี

เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์

กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย

ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ

 
 
 

เฮอร์มีส (อังกฤษ: Hermes) เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสาร พระองค์เป็นบุตรของเทพซูสเกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร และมีคถาคาดูเซียส (Caduceus) ซึ่งรูปร่างของคถาจะมีคถางูไขว้อยู่สองตัว เฮอร์มีสพบงูสองตัวนี้เมื่อเห็นมันสู้กันเลยเอาคถาทิ่มระหว่างงูสองตัวเพื่อห้ามไม่ให้เกิดความวิวาท งูเลยเลื้อยมาพันอยู่รอบไม้แล้วหันหัวเข้าหากันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย

บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส

 

 
 
 
"อธีนา", "เอเธนา" และ "พัลลัสอธีนา" ถูกเปลี่ยนทางมาที่นี่

เทพีอธีนา (อังกฤษ: Athena (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /əˈθinə//)) หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง

และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า

นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน

 

คิวปิด (อังกฤษ: Cupid, kyu pɪd) หรือ อีรอส (อังกฤษ: Eros, /ɪər ɒs หรือ ɛr ɒs/) เป็นเทพเจ้าแห่งความรักของโรมัน นิยมเรียกในภาษาไทยว่า "กามเทพ" มักวาดภาพเป็นเด็กชายตัวจ้ำม่ำ เปลือย มีกระบอกศรอยู่ข้างหลัง ในมือถือคันศร หรือกำลังน้าวศร

ตำนานเล่าความเป็นมาของเทพเจ้าองค์นี้ต่างๆ กันไป ซิเซโร (Cicero) ได้เล่าไว้ 3 ทางด้วยกัน ทางหนึ่งว่า เป็นโอรสของเมอร์คิวรี (เฮอร์มีส) และเทพีไดอานา (อาร์ทีมิส) อีกทางหนึ่งว่า โอรสของเมอร์คิวรี และวีนัส (อโฟรไดท์) และอีกทางหนึ่งว่า เป็นโอรสของมาร์ส (เอรีส ตามปกรณัมของกรีก) และวีนัส

สำหรับพลาโตว่าไว้สองทาง ขณะที่ในเธโอโกนีของเฮสิออด ซึ่งเป็น ตำราเทวภูมิศาสตร์ (theoography) ที่เก่าแก่ที่สุดของกรีกโบราณ ระบุว่า คิวปิด ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับเคออส และโลก

ในตำราเกี่ยวกับเทพเจ้าโบราณโดยทั่วไป ระบุว่ามีคิวปิดสององค์ หรือสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งว่าเป็นโอรสของจูปิเตอร์ (เซอุส) และวีนัส อีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นโอรสของนีกซ์ และเอเรบุส

ในตำนานการกำเนิดของคิวปิดส่วนใหญ่ที่ปรากฏบอกไว้ว่า เทพีวีนัสหรืออโฟรไดท์ ได้ลักลอบเป็นชู้กับเทพสงครามเอรีส (เนื่องจากฝ่ายหญิงได้สมรสแล้วกับเฮเฟสทัส เทพแห่งการช่าง แต่เทพีวีนัสไม่พอใจ เพราะเทพสวามีเอาแต่ขลุกตัวอยู่กับงานของตน อีกอย่าง พระนางก็พอใจเทพเอรีสมาแต่แรก แต่ที่ได้แต่งงานกับเทพเฮเฟสทัสเพราะเทพซีอุสยกพระนางให้เป็นรางวัลแก่เทพเฮเฟสทัส) จนกระทั่งมีโอรส ให้นามว่า คิวปิด หรือ อีรอส กล่าวกันว่า คิวปิดติดแม่มาก และเชื่อฟังแม่ทุกอย่าง เห็นเทพีวีนัสที่ใดก็ต้องมีโอรสคู่ใจอยู่ด้วยเสมอ แต่เวลาก็ล่วงเลยมานาน กามเทพที่สมควรจะเติบโตเป็นหนุ่มกลับไม่ยอมเติบโตขึ้นตามกาลเวลา เทพีผู้เป็นมารดาหนักใจมากจึงไปปรึกษาเทวีธีมิสแห่งความยุติธรรม พระนางจึงได้คำตอบว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคิวปิดเหงา ไม่มีเพื่อนเล่น หากคิวปิดมีน้อง กามเทพน้อยก็จะเติบโตเอง ไม่นานจากนั้น เทพีอโฟรไดท์ก็มีโอรสอีกองค์กับเทพเอรีส ให้นามว่า แอนตีรอส (เทพแห่งการรักตอบ) คิวปิดจึงเติบโตขึ้นตามเวลา แต่เหล่าศิลปินยังคงปั้นคิวปิดเป็นเด็กอยู่เช่นนั้นเอง

 

เฮดีส (อังกฤษ: Hades, /ˈheɪdiz/) ในที่ชาวโรมันเรียกว่า พลูโต (Pluto) เทพเจ้าผู้ปกครองนรกและโลกหลังความตาย ในตำนานถือว่ามีศักดิ์เป็นพระเชษฐาของ ซูส ราชาแห่งเหล่าเทพ และยังถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งทรัพย์เพราะเทพเฮดีสมีสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกอย่างภายใต้พื้นพิภพ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดีส (Dis) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ทรัพย์สิน

เฮดีส แท้ที่จริงแล้วเป็นเทพที่มีความยิ่งใหญ่อีกองค์หนึ่งเช่นเดียวกับซูส หรือ โพไซดอน เนื่องจากเป็นพี่น้องกัน แต่ทว่าความที่เฮดีสเป็นผู้ปกครองนรกซึ่งเป็นโลกใต้ดินซึ่งมีแต่ความมืดมิดและน่ากลัว จึงไม่ใคร่ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัส อีกทั้งเทพองค์อื่น ๆ ก็ไม่ใคร่ที่จะต้อนรับเฮดีสด้วย ดังนั้น เฮดีสจึงไม่มีชื่อเป็นหนึ่งในเทพโอลิมปัสเฉกเช่นองค์อื่น ๆ

เฮดีส ได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความเที่ยงธรรมอย่างมาก ตัดสินความดีชอบของคนตายโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น กล่าวกันว่า พระองค์มีหมวกวิเศษอยู่ใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้ ซึ่งในครั้งที่ทำสงครามกับเหล่าไททันส์นั้น เฮดีสใช้หมวกนี้ลอบเข้าไปทำลายอาวุธของไททันส์ก่อนการต่อสู้ และพระองค์มีเทพผู้ช่วยในการตัดสินความดีชั่วในยมโลกอีก 3 องค์คือ ราดาแมนทีส, ไมนอส, ไออาคอส ที่เรียกว่า สามเทพสุภา และยังมีฮิปนอส เทพแห่งการหลับไหล และ ทานาทอส เทพแห่งความตายคอยช่วยอีก

เฮดีส มีชายาองค์หนึ่งชื่อ เพอร์ซิโฟเน (Persephone) เป็นเทพแห่งฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นพระธิดาองค์เดียวของ ดีมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเกษตร จากความงดงามของนางเพอร์ซิโฟเน ทำให้เฮดีสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า นางที่แท้จริงคือหลานสาวแท้ ๆ ของตน เพราะว่า ดีมิเทอร์มีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง เมื่เฮดีสได้ฉุดนางไปเป็นเทพีแห่งนรกคู่กัน ทำให้เกิดเป็นกรณีพิพาทขึ้นระหว่างทวยเทพแห่งโอลิมปัส ซูสซึ่งเป็นองค์ประธานได้ตัดสินให้เฮดีสต้องคืนเพอร์ซิโฟเนแก่ดิมิเทอร์ เฮดีสจึงใช้อุบายทำให้เพอร์ซิโฟเนสามารถกลับมาออกมาจากนรกได้เพียงแค่ปีละ 3 เดือน และเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้ฤดูใบไม้ผลิเกิดขึ้นเพียง 3 เดือนเท่านั้น

ชาวกรีกโบราณจะถวายการสักการะแด่เฮดีสด้วยแกะดำ และเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่ได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สืบทอดกันมาว่า หากจะบูชาเทพแห่งความตายหรือเทพอันใดที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวหรือชั่วร้าย ต้องบูชายัญด้วยแพะหรือแกะดำ

 
 
Share this