สุริยุปราคาวงแหวน
สมาชิกเลขที่79400 | 27 พ.ค. 55
827 views

สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เงามืดพาดผ่านแอฟริกาตะวันออก ได้แก่ ประเทศคองโก ประเทศเคนยา ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย แล้วขึ้นสู่แผ่นดินบริเวณตอนใต้ของประเทศอินเดีย ตอนเหนือของประเทศศรีลังกา อ่าวเบงกอล ตอนเหนือของประเทศพม่า และไปสิ้นสุดที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน

สุริยุปราคาบางส่วนในไทย

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน โดยสุริยุปราคาแบบวงแหวนนั้นเกิดจากขนาดปรากฏของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์ไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้จึงเหลือพื้นที่ของดวงอาทิตย์ปรากฏคล้ายวงแหวน โดยสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาชุดที่ 141(Saros Series 141) ซึ่งประเทศไทยสามารถมองเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยภาคเหนือของประเทศจะสามารถสังเกตการเว้าแหว่งของดวงอาทิตย์ได้มากกว่าภาคอื่น โดยสัมผัสแรกเริ่มขึ้นในเวลา 13:50 น. ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต บดบังมากที่สุดที่ เวลา 15:39 น. ที่ ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยบดบังร้อยละ 78.15 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ และสิ้นสุดเวลา 17:04 น. ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเริ่มสัมผัสแรกเวลา 14:00 น. บดบังมากที่สุดร้อยละ 57.25 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ ในเวลา 15:37 น. และสิ้นสุดเวลา 16:58 น. โดยหลังจากเหตุการณ์นี้แล้วประเทศไทยจะสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้งได้ ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า

สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553
Solar eclipse animate (2010-Jan-15).gif
สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม พ.ศ. 2553
ประเภท
แกมม่า 0.4002
แมกนิจูด 0.9190
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา 668 วินาที (11 นาที 08 วินาที)
ความกว้างของเงามืด 333 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด 07:07:39
Share this