รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมาชิกเลขที่79400 | 27 พ.ค. 55
1.7K views

รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา เสด็จพระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ.2396 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุง กฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวาง ในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวง ธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดิน รถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์ โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็น เมืองขึ้นของ ชาติตะวันตก ได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442 พระองค์ทรงปกครอง อาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็น โปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ ที่แท้จริงของ พสกนิกร ทรงสนพระทัย ในวิชาความรู้ และวิทยาการ แขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้า อย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัย ขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็น สถาปัตยกรรมที่ งดงามยิ่งแห่งหนึ่ง ของกรุงเทพ ฯ ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิร ิยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรกกฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์ ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ คุมสติ
ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์ มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสี และ เจ้าจอมมารดา เพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ ไม่มี พระราชโอรส ธิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรง เป็นพระมหากษ ัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม งานสุดคณานับยังทั้งประโยชน์ ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่ จะพรรณนาจากใจ ของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิด พระนามนี้ถวาย วันที่ ๒๓ ตุลาคม ทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ เป็นวันแห่งการรำลึกถึง พระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต ซึ่งเป็นประเพณี วันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง วันรวมใจ เทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕ เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

Share this